www.Stats.in.th
  สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com

การใส่ปุ๋ยอ้อย ปุ๋ยใส่อ้อย

  • อ้อย

    - ช่วงต้นฝน

    ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 30-0-0 หรือสูตร 16-8-8 ปริมาณ  50 กิโลกรัมต่อไร่ เพื่อบำรุงตออ้อย ให้อ้อยโตไว เขียวทนเขียวนาน ช่วยยืดข้อปล้อง และเร่งราก

    - ช่วงปลายฝน

    ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 หรือสูตร 15-5-35 ตรา 5 นางฟ้าทรงฉัตร ในอัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ ช่วยให้อ้อย ลำ ใหญ่ อ้อย น้ำหนักดี มีค่าความหวาน สูง/ ccs สูง

 ***สนใจติดต่อ ปุ๋ย 5 นางฟ้า โทร 035-440248 ไลน์ yuthathep

ปุ๋ยเคมี 15-15-15 บำรุงทุกส่วนของพืช (ผลไม้,นาข้าว,อ้อย,มัน,ข้าวโพด,ยาง) |ขายส่ง 600 - 690 บาท ขั้นต่ำ 5 ตัน

  • ใช้เป็นปุ๋ยเร่งลำอ้อยให้ใหญ่ มีน้ำหนักดี ค่าเปอรืเซ็นต์ความหวานสูง
  • แบ่งใส่ ไร่ละ 50 กก. ช่วงต้นฝน กลางฝน และปลายฝน

ความนิยม Rating  

฿790.00฿729.00

สนใจโทร 035-440248

หรือ 080-2436300
LINE ID: yuthathep

อ่านต่อ


       อ้อยเป็นวัตถุดิบของอุสหกรรมอ้อยและน้ำที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ คือ มีการบริโภคน้ำตาลในประเทศปีละประมาณ 1.6-1.7 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 17,000-19,000 ล้านบาท

       การเลือกพันธุ์

  1. ผลผลิตสูง และมีคุณภาพหวามมากกว่า 10 ซีซีเอส

  2. ต้านทานต่อโรคเหี่ยวเน่าแดง แส้ดำกอตะไคร้ ทนทานต่อหนอนกอลายจุดใหญ่หรือหนอนกอลายจุดเล็ก ศัตรูที่สำคัญในแต่ละแห่ง

  3. เจริญเติบโตดีเหมาะกับสภาพดินฟ้าอากาศ

  4. ไว้ตอได้ไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง และผลผลิตไม่ต่ำกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของอ้อยปลูก

       สายพันธุ์อ้อย

       ในการปรับปรุงพันธุ์อ้อยหน่วยงานที่ดำเนินการหลายหน่วยงาน ได้แก่ กรมวิชาการเกษตร สำนักงานอ้อยและน้ำตาลทราย บริษัทมิตรผล การดำเนินงานจะเริ่มตั้งแต่การผสมพันธุ์ คัดเลือกพันธุ์และทดสอบพันธุ์ โดยการคัดเลือกในสภาพแวดล้อมในแหล่งปลูกอ้อยของประเทศไทย พันธุ์อ้อยที่ผ่านการปรับปรุงพันธุ์จะมีลักษณะ ผลผลิตองค์ประกอบผลผลิต และลักษณะทางเกษตรที่ดีเด่นแตกต่างกัน ขึ้นอยูงกับสภาพแวดล้อมที่ทดสอบ และคัดเลือกพันธุ์ ชาวไร่ จึงจำเป็นต้องเลือกพันธุ์โดยอาศัยคำแนะนำจากเอกสารแนะนำพันธุ์ เพื่อให้ได้พันธุ์อ้อยที่เหมาะสมกับท้องถิ่นของตน

  1. พันธุ์รับรอง/แนะนำของกรมวิชาการเกษตรอ้อยโรงงาน

       -พันธุ์อู่ทอง 6 ลำต้นมีขนาดใหญ่ ปล้องรูปทรงกระบอก กาบใบสีม่วง ไม่มีขน ทรงกอตั้งสูง ออกดอกยาก

 อายุเก็บเกี่ยว 11-12 เดือน ผลผลิต 18.04 ตัน/ไร่ ซีซีเอส 13.59 ความสูง 299 ซม. ดินร่วนปนทราย เขตกึ่งชลประทาน

       -พันธุ์มุกดาหาร ปลายใบโค้ง กาบใบสีเขียวปนม่วง ปล้องรูปทรงกระบอก ทรงกอตั้งตรง ล้มง่าย อายุเก็บเกี่ยว 12-14 เดือน ผลผลิต 13.4 ตัน/ไร่ ความสูง 274 ซม. ดินร่วนปนทรายหรือดินร่วนเหนียวปนทรายในจังหวัดมุกดาหารและกาฬสินธุ์

       -อู่ทอง 5 รูปร่างปล้อง ลำต้นเมื่อถูกแสงให้สีม่วงอมเขียว ทรงกอตั้งตรง ออกดอกปลายเดือนตุลาคม อายุเก็บเกี่ยว 10-11 เดือนผลผลิตอ้อยตอ1เฉลี่ย 10.95 ตัน/ไร่ อ้อยตอ2 เฉลี่ย 8.87 ตัน/ไร่ ซีซีเอส อ้อยตอ1 เฉลี่ย 1.71 และอ้อยตอ2 เฉลี่ย 1.40 ความสูง 264 ซม. ดินร่วนปนทรายเขตใช้น้ำฝนภาคกลาง และภาคตะวันออก

      

      -ขอนแก่น 1 ใบแผ่ตั้งสีเขียวเข้ม ลำอ้อยสีเหลืองอมเขียว รูปร่างปล้องคอด กลางป่อง ข้อโปน ทรงกอแคบ ตั้งตรง ไม่ล้มง่าย ออกดอกกลางเดือนธันวาคม อายุเก็บเกี่ยว 11-12 เดือน ผลผลิต 13-16 ตัน/ไร่ ความสูง 257 ซม.แหล่งปลูกภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

       -อู่ทอง 4 ลำต้นสีเขียวอมเหลืองหรือม่วงขนาดลำปานกลาง มีขน กลางกาบใบ ทรงกอแผ่เล็กน้อย กว้างหักล้มปานกลาง ออกดอกปลายเดือนพฤศจิกายน-กลางเดือนธันวาคม อายุเก็บเกี่ยว 11-12 เดือน ซีซีเอส15.69 ผลผลิต 13-14 ตัน/ไร่ ความสูง 248 ซม. แหล่งปลูกภาคตะวันตกเฉพาะดินร่วนปนดินเหนียว

       -อู่ทอง 3 ใบใหญ่ตั้ง ปลายแหลม กาบใบมีสีม่วงปนเขียว ลอกกาบใบค่อนข้างยาว ทรงกอตั้งตรง แคบ ไม่หักล้ม ออกดอกปลายเดือนพฤศจิกายนถึงกลางเดือนธันวาคม อายุเก็บเกี่ยว 10-12 เดือน ซีซีเอส 15.90 ผลผลิต 13-14 ตัน/ไร่ ความสูง 231 ซม.ดินร่วนปนทรายสภาพไร่ในภาคตะวันตะตกและภาคเหนือตอนล่าง

       -อู่ทอง 2 ใบใหญ่ตั้ง ปลายแหลม กาบใบมีขนเล็กน้อย สะสมน้ำตาลเร็ว ออกดอกปลายเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนธันวาคม ผลผลิต 14.0 ตัน/ไร่ ซีซีเอสมากกว่า 10 ความสูง 228 ซม.แหล่งปลูกเขตชลประทานภาคกลางและภาคตะวันตก

       -อู่ทอง 1 ปล้องคอดกลาง ใบมีขนาดใหญ่ ทรงใบตั้งโค้งกลางใบ กาบใบสีม่วง มีขนกาบใบเล็กน้อย ทรงกอตั้งตรง กว้าง ไม่หักล้ม ออกดอกปานกลาง อายุเก็บเกี่ยว 11-13 เดือน ผลผลิต 25.20 ตัน/ไร่ ซีซีเอส 11-12 ความสูง 250-350 ซม.แหล่งปลูกในภาคตะวันตะตก จังหวัดสุพรรณบุรี กาญจนบุรี นครปฐม

       -ชัยนาท 1 ใบมีขนาดใหญ่ ปล้องยาวโคนโต สีน้ำตาลอมเขียว ทรงกอแคบ ล้มง่าย ออกดอกประมาณเดือนตุลาคม ผลผลิต 15-18 ตัน/ไร่ แหล่งปลูกภาคตะวันออก

       อ้อยเคี้ยว

       - สุพรรณบุรี 72 ใบขนาดกลางปลายโค้งลำต้นสีเขียวอมเหลืองปล้องทรงกระบอก มีร่องเหนือตา ข้อคอดเล็กน้อย อายุเก็บเกี่ยว 9 เดือน ผลผลิตเนื้ออ้อย 6.3 ตันต่อไร่ ความสูง 270 ซม. แหล่งปลูกพื้นที่ดินร่วนเหนียว ดินร่วนปนทราย ที่สามารถให้น้ำได้

       - สุพรรณบุรี 50 ใบมีขนาดใหญ่ปลายโค้ง ลำต้นสีเขียวอมเหลือง ปล้องมีรูปร่างทรงกระบออกค่อนข้างยาว ออกดอกช่วงเดือนธันวาคม อายุเก็บเกี่ยว 8 เดือน ผลผลิตน้ำอ้อยสูง 4,913 ลิตรต่อไร่ แหล่งปลูกในเขตภาคกลางและภาคตะวันตก

       2.พันธุ์ที่ได้จากงานวิจัยของกระทรวอุตสาหกรรม

       - พันธุ์ K 76-4 เป็นพันธุ์ที่ได้รับจากการผสมระหว่างพันธุ์ Co 798 กับพันธุ์ Co 775 ให้ผลผลิตอ้อยสด 14 ตัน/ไร่ ความหวาน 12 ซีซีเอส การแตกกอปานกลาง มี5-6 ลำต่อกอ ลำต้นสีเหลืองอมเขียว เจริญเติบโตได้เร็วทนทานต่อโรคใบขาวและหนอนเจาะลำต้น

       - พันธุ์ K 84-69 เป็นพันธุ์ที่ได้รับจากการผสมระหว่างพันธุ์ F 143 กับพันธุ์ ROC 1 ให้ผลผลิตอ้อยสด 12-15 ตันต่อไร่ ความหวาน 12-13 ซีซีเอส การแตกกอปานกลาง มี 5-6 ลำต่อกอ ลำต้นตรง สีเขียวมะกอก เจริญเติบโตเร็ว ลอกกาบค่อนข้างง่าย ข้อควรระวัง อ่อนแอต่อโรคเหี่ยวเน่าแดง และโรคแส้ดำ ปลูกในสภาพดินร่วนเหนียวดีกว่าร่วนทราย

       -พันธุ์ K 87-200 เป็นพันธุ์ที่ได้รับจากการผสมระหว่างพันธุ์ ROC 1 กับพันธุ์ CP 63-588 ให้ผลผลิตอ้อยสด 12-14 ตันต่อไร่ ความหวาน 13 ซีซีเอส การแตกกอน้อย ไว้ตอค่อนข้างดีออกดอกเล็กน้อย ลำต้นสีเขียวมะกอก ทรงกอแคบ ลำต้นตั้งตรง ทนทานต่อโรคเหี่ยวเน่าแดง และโรคแส้ดำ ลอกกาบในง่าย ข้อวควรระวัง อ่อนแอต่อโรคกอตะไคร้และโรคใบขาว

       -พันธุ์ K 88-92 เป็นพันธุ์ที่ได้รับจากการผสมระหว่างพันธุ์อู่ทอง 1 กับพันธุ์ PL 310 ผลผลิตอ้อยสด 15 ตันต่อไร่ ความหวาน 12 ซีซีเอส การแตกกอปานกลาง ลำต้นขนาดปานกลางถึงใหญ่ การไว้ตอดี ออกดอกเล็กน้อย ลำต้นตรงสีเขียวมะกอก ต้านทานต่อโรคแส้แดง ต้านทานปานกลางต่อโรคเหี่ยวเน่าแดง เจริญเติบโตเร็ว ข้อควรระวัง อ่อนแอต่อโรครากเน่าและโรคใบขาว

       -พันธุ์ K 90-77 เป็นพันธุ์ที่ได้รับจากการผสมระหว่างพันธุ์ K 83-74 กับพันธุ์อู่ทอง 1 ผลผลิตอ้อยสด 12-20 ตันต่อไร่ ความหวาน 12-15 ซีซีเอส การแตกกอปานกลาง ไว้ตอได้ดี ไม่ออกดอกลำต้นสีเขียวเข้ม เมื่อถูกแสงแดดจะเป็นสีม่วง ทรงกอค่อนข้างกว้าง เจริญเติบโตเร็ว ทนแล้งได้ ต้านทานต่อโรคเหี่ยวเน่าแดง โรคตะไคร้ โรคยอดเน่า และโรคแส้ดำ ต้านทานต่อโรคหนอนเจาะยอดและหนอนเจาะลำต้น ข้อควรระวัง ลอกกาบใบได้ค่อนข้างยาก

       -พันธุ์ K 92-80 เป็นพันธุ์ที่ได้รับจากการผสมระหว่างพันธุ์ K84-200 กับพันธุ์ K 76-4 ผลผลิตอ้อยสด 16-19 ตันต่อไร่ ความหวาน 11-13 ซีซีเอส การแตกกอปานกลาง ขนาดลำต้นปานกลาง การไว้กอดีมาก ไม่ออกดอก ลำต้นสีเหลืองอมเขียว ทรงกอค่อนข้างกว้าง เจริญเติบโตเร็ว ทนแล้งปานกลาง ต้านทานต่อโรคเหี่ยวเน่าแดง โรคกอตะไคร้ โรคราสนิม โรคแส้ดำ และหนอนเจาะลำต้น ข้อควรระวัง งอกช้า อ่อนแอต่อโรคใบจุดเหลือง โรคยอดบิดและโรคใบจุดวงแหวน หักล้มง่าย กาบใบร่วงหลุดยาก

       -พันธุ์ K 92-213  เป็นพันธุ์ที่ได้รับจากการผสมระหว่างพันธุ์ K84-200 กับพันธุ์ K 84-74 ผลผลิตอ้อยสด 15-18 ตันต่อไร่ ความหวาน 11-13 ซีซีเอส การแตกกอปานกลาง ขนาดลำปานกลาง การไว้กอดี ออกดอกเล็กน้อย ลำสีเขียวอมเหลือง งอกเร็ว ทนแล้งปานกลางต้านทานต่อโรคเหี่ยวเน่าแดง โรคกอตะไคร้และโรคแส้ดำ ข้อควรระวัง อ่อนแอต่อโรคใบจุดเหลือง โรคยอดบิดและโรคใบจุดวงแหวน การหักล้มปานกลาง กาบใบร่วนหลุดยาก ควรปลูกในเขตชลประทาน

       -พันธุ์ K 93-219 เป็นพันธุ์ที่ได้รับจากการผสมระหว่างพันธุ์อู่ทอง 1 กับพันธุ์อีเหี่ยว ผลผลิตอ้อยสด 16-21 ตันต่อไร่ ความหวาน 12-14 ซีซีเอส การแตกกอปานกลาง ขนาดลำปานกลาง การไว้ตอดี ไม่ออกดอก  ลำต้นสีเขียว งอกเร็ว เจริญเติบโตเร็ว ทนแล้งปานกลาง ต้านทานต่อโรคเหี่ยวเน่าแดง โรคกอตะไคร้ โรคใบจุดเหลือง โรคราสนิม และโรคแส้ดำ ต้านทานต่อโรคหนอนเจาะลำต้น เก็บเกี่ยวอายุ 12 เดือน ข้อควรระวัง อ่อนแอต่อโรคใบจุดเหลือง การหักล้มปานกลาง กาบใบหลุดยาก

       -พันธุ์ K 93-347 เป็นพันธุ์ที่ได้รับจากการผสมระหว่างพันธุ์อู่ทอง 1 กับพันธุ์ K 84-200 ผลผลิตอ้อยสด 16-20 ตันต่อไร่ ความหวาน 11-13 ซีซีเอส การแตกกอปานกลาง ขนาดลำปานกลาง การไว้ตอดี ไม่ออกดอก  ลำต้นสีเขียว งอกเร็ว เจริญเติบโตเร็ว ทนแล้ง ต้านทานต่อโรคเหี่ยวเน่าแดง โรคกอตะไคร้ และโรคแส้ดำ อายุเก็บเกี่ยว 12 เดือน ข้อควรระวัง อ่อนแอต่อโรคใบจุดเหลือง การหักล้มปานกลาง กาบใบร่วงหลุดยาก

       -พันธุ์ K 95-84 เป็นพันธุ์ที่ได้รับจากการผสมระหว่างพันธุ์K 90-79 กับพันธุ์ K 84-200 ผลผลิตอ้อยสด 16-20 ตันต่อไร่ ความหวาน 12-14 ซีซีเอส การแตกกอปานกลาง ลำขนาดใหญ่ (4.1-4.3 ซม.) การไว้ตอ ไม่ออกดอก ลำต้นสีเขียวมะกอกอมเหลือง เจริญเติบโตเร็ว ทนแล้งปานกลาง ลอกกาบใบง่าย ต้านทานปานกลางต่อโรคเหี่ยวเน่าแดง โรคกอตะไคร้ โรคราสนิม และโรคแส้ดำ ต้านทานปานกลางต่อโรคหนอนเจาะลำต้น ข้อควรระวัง อ่อนแอต่อโรคใบขาว และโรคยอดบิด

       3.พันธุ์ที่ได้จากการวิจัยของมหาวิทยาลัยลัเกษตรศาสตร์

       - พันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 เป็นพันธุ์ที่ได้จากการผสมเปิดของอ้อยพันธุ์ Kwt # 7 ผลผลิตอ้อย 13-16 ตันต่อไร่ ความหวาน 12-14 ซีซีเอส การแตกกอปานกลาง มี 5-6 ลำต่อกอ ไว้ตอได้ดี ออกดอกเล็กน้อยถึงปานกลาง ลำต้นสีเขียวเข้ม หากถูกแสงแดดสีเป็นสีม่วง ขนาดลำค่อนข้างเล็ก เจริญเติบโตเร็ว ทนแล้งได้ดี เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนหรือดินร่วนทรายที่ระบายน้ำได้ดี ข้อควรระวัง อ่อนแอต่อโรคเหี่ยวเน่าแดงและสารกำจัดวัชพืชบางชนิด

       -พันธุ์กำแพงแสน 89-200 เป็นพันธุ์ที่ได้จากการผสมระหว่างพันธุ์ IAC 50-326 กับพันธุ์ Co 331  ผลผลิตอ้อยสด 15-16 ตันต่อไร่ ความหวาน 11-13 ซีซีเอส การแตกอดี มี 6-8 ลำต่อกอ ขนาดลำปานกลาง ไว้ตอได้ค่อนข้างดี ออกดอกเล็กน้อยถึงปานกลาง ลำต้นตรงสีเขียวอมเหลือง เจริญเติบโตเร็ว ทนแล้ง เก็บเกี่ยวอายุ 10-12 เดือน เจริญเติบโตได้ในดินร่วนและร่วนทราย ข้อควรระวัง อ่อนแอต่อโรคเหี่ยวเน่าแดง

       -พันธุ์กำแพงแสน 92-0447 เป็นพันธุ์ที่ได้จากการผสมระหว่างพันธุ์ F 146 กับพันธุ์ B 34164 ผลผลิตอ้อยสด 14-16 ตันต่อไร่ ความหวาน 10-12 ซีซีเอส การ แตกกอปานกลาง ขนาดลำปานกลาง การไว้ตอดี ออกดอกเล็กน้อย ลำต้นโตเร็ว สีเหลืองอมเขียว เจริญเติบโตเร็ว ค่อนข้างทนแล้ง อายุเก็บเกี่ยว 11-12 เดือน  ข้อควรระวัง อ่อนแอต่อโรคเหี่ยวเน่าแดง

       -พันธุ์กำแพงแสน 91-1336 เป็นพันธุ์ที่ได้จากการผสมเปิดของอ้อยพันธุ์ F 146 ผลผลิตอ้อยสด 15-17 ตันต่อไร่ ความหวาน 11-13 CCS การแตกกอดี ขนาดลำปานกลาง การไว้ตอดี ออกดอกปานกลาง ลำต้นซิกแซ็ก สีเขียวอมเหลือง เจริญเติบโตเร็ว ค่อนข้างทนแล้ง อายุเก็บเกี่ยว 11-12 เดือน  ข้อควรระวัง อ่อนแอต่อโรคเหี่ยวเน่าแดง

       การเลือกพื้นที่ปลูกอ้อย

       พื้นที่ที่เหมาะสมในการปลูกอ้อย ควรเป็นที่ดอน หรือที่ลุม ไม่มี น้ำท่วมขัง สูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 1,500 เมตร ห่างไกลจากแหล่งมลพิษ การคมนาคมสะดวก อยู่ห่างจากโรงงานน้ำตาลไม่เกิน 60 กิโลเมตร

       การเตรียมดิน

       การปลูกอ้อย 1 ครั้ง สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ 3-4 ปี หรือมากกว่า ดังนั้น การเตรียมดินปลูกจะมีผลต่อ ผลผลิตของอ้อยตลอดเวลาที่ไว้ตอ โดยทั่วไปหลังจากตัดอ้อยตอปีสุดท้ายแล้ว เกษตรกรมักจะเผาเศษซากอ้อยและตออ้อยเก่าทิ้ง เพื่อสะดวกต่อการเตรียมดิน เพราะเศษซากอ้อยจะทำให้ติดล้อรถแทรกเตอร์ลื่น หมุนฟรี  มักจะม้วนติดพันกับผาลไถ ทำให้ทำงานไม่สะดวก จาก การทดลองใช้จอบหมุนสับเศษซากใบอ้อยแทนการเผา พบว่า สามารถ ช่วยอนุรักษ์อินทรียวัตถุในดินได้เป็นอย่างดี

       ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี  ได้พัฒนาผาลจักรสับเศษซากอ้อย คลุกเคล้าลงดินใช้ได้ผลดี และประหยัดกว่าใช้จอบหมุน หลังจากไถกลบเศษซากอ้อยลงดินแล้ว ควรมีการปรับหน้าดินให้เรียบ และมีความราดเอียงเล็กน้อย (ไม่เกิน 0.3 เปอร์เซ็นต์) เพื่อสะดวกในการให้น้ำและระบายน้ำออกจากแปลงกรณีฝนตกหนักและป้องกันน้ำขังอ้อยเป็นหย่อมๆ เมื่อปรับพื้นที่แล้ว ถ้าเป็นแปลง มีชั้นหน้าดินดาน ควรมีการใช้รถไถระเบิดดินดาน ไถลึกประมาณ 75 ซม. โดยไถเป็นตารางหมากรุก หลังจากนั้น จึงใช้ถึงจาย (3 ผาล หรือ 4 ผาล ตามกำลังของแทรกเตอร์) และพรวนดินตามปกติ แล้วจึงยกร่องปลูก หรือถ้าจะปลูกโดยใช้เครื่องปลูกก็ไม่ต้องยกร่อง

       ข้อควรระวังในการเตรียมดิ 

      1. ควรไถเตรียมดิน ขณะดินมีความชื้นพอเหมาะไม่แห้ง หรือเปียกเกินไป

       2. ควรเตรียมดินโดยใช้ไถจานสลับกับไถหัวหมู เพื่อไม่ให้ความลึก ของรอยไถอยู่ในระดับเดิมตลอด และการใช้ไถ

จานตลอด จะทำให้เกิดชั้นดินดานได้ง่าย

       3. ไม่ควรไถพรวนดินจนดินละเอียดเป็นฝุ่น เพราะดินละเอียด เมื่อถูกฝนหรือ มีการให้น้ำจะถูกชะล้างลงไปอุดอยู่ตาม

ฃ่องว่างระหว่างเม็ดดิน ทำให้การระบายน้ำและอากาศไม่ดี

       การเตรียมท่อนพันธุ์

       1. ควรมาจากแปลงพันธุ์ที่มีความสม่ำเสมอตรงตามพันธุ์ ปราศจาก โรคและแมลง มีอายุที่เหมาะสม คือประมาณ    8-10 เดือน        

       2. เกษตรกรควรทำแปลงพันธุ์อ้อยไว้ใช้เอง เพื่อลดค่าใช้จ่าย ในการชื้อพันธุ์อ้อย และเป็นการวางแผนการปลูกอ้อย      

ที่ถูกต้อง

 

        3. มีการป้องกันกำจัดโรคและแมลงที่ถูกต้อง เช่น มีการชุบน้ำร้อน 50 องศาเชลเชียส 2 ชั่วโมง หรือ 52 องศาเชลเชียส ครึ่งชั่วโมง เพื่อป้องกัน โรคใบด่าง โรคตอแคระแกร็น โรคกลิ่นสับปะรด ลดการเป็นโรคใบขาวและโรคกอตะไคร้อย่างไรก็ตาม ท่อนพันธุ์ที่จะชุบน้ำร้อนควรมีอายุประมาณ 8-10 เดือน เพราะว่า ถ้าใช้ท่อนพันธุ์อายุน้อยกว่า 8 เดือน เปอร์เซ็นต์ ความงอกของอ้อยจะลดลง

       4. การใช้ปุ๋ยไนโตรเจนอัตรา 10-20 กก.N/ไร่ ก่อนการตัดอ้อย ไปทำพันธุ์ 1 เดือน ช่วยทำให้อ้อยมีความงอก และความแข็งแรงของหน่ออ้อยดีขึ้น                   

       5. อ้อยจากแปลงพันธุ์ 1 ไร่ (อายุ 8-10 เดือน) สามารถ ปลูกขยายได้ 10 ไร่     

       ฤดูปลูก             

        การปลูกอ้อยปัจจุบัน สามารถแบ่งตามฤดูปลูกได้เป็น 2 ประเภท

       1. การปลูกอ้อยต้นฝน ซึ่งยังแบ่งเป็น 2 เขต คือ

       - ในเขตชลประทาน (20 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ปลูกอ้อย ทั้งประเทศ) ส่วนใหญ่จะปลูกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน

       - ในเขตอาศัยน้ำฝน ส่วนใหญ่จะปลูกในช่วงเดือน เมษายนถึงมิถุนายน

       2. การปลูกอ้อยปลายฝน (การปลูกอ้อยข้ามแล้ง) สามารถทำได้ เฉพาะในบางพื้นที่ของภาดตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกที่มีปริมาณและการกระจายของฝนดี และดินเป็นดินทรายหรือดินร่วนปนทราย การปลูกอ้อยประเภทนี้จะปลูกประมาณกลางเดือนตุลาคมถึงธันวาคม

       วิธีปลูก

       การปลูกอ้อยต้นฝนในเขตชลประทาน พื้นที่ปลูกอ้อยประเภทนี้มีประมาณ 1 ล้านไร่ ซึ่งเกือบทั้งหมดอยู่ใน เขตภาคกลาง และภาคตะวันออก เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการให้ผลผลิตอ้อยสูง ถ้ามีการจัดการที่ดี และตั้งเป้าหมายไว้ว่า ผลผลิตอ้อยในเขตนี้ไม่ควรต่ำกว่า 15 ตันต่อไร่ การปลูกอ้อยในเขตนี้ มีการปรับเปลี่ยนวิธีปลูก เพื่อให้เหมาะสสมกับการใช้เครื่องจักรกลเกษตร เช่น เครื่องปลูก เครื่องใส่ปุ๋ย เครื่องกำจัดวัชพืช และรถเก็บเกี่ยว เป็นต้น

       - ถ้าใช้คนปลูกจะยกร่องกว้าง 1.4-1.5 เมตร (เดิมใช้ 1.3 เมตร) วางพันธุ์อ้อยเป็นลำโดยใช้ลำเดี่ยวเกยกันครึ่งลำ หรือ2 ลำคู่ ตามลักษณะการแตกกอของพันธุ์อ้อยที่ใช้ ตัวอย่างเช่น ถ้าใช้อ้อยพันธุ์ K 84-200 ซึ่งมีการแตกกอน้อย ควรปลูก 2 ลำคู่ หลังจากวางพันธุ์อ้อยควรใช้จอบสับลำอ้อยเป็น 2-3 ส่วน แล้วกลบด้วยดินหนาประมาณ 5 เซนติเมตร

      

       - ถ้าใช้เครืองปลูก หลังจากเตรียมดินแล้ว ไม่ต้องยกร่อง จะใช้ เครื่องปลูกติดท้ายแทรกเตอร์ โดยจะมีตัวเปิดร่อง และช่องสำหรับใส่ พันธุ์อ้อยเป็นลำ และมีตัวตัดลำอ้อยเป็นท่อนลงในร่อง และมีตัวกลบดิน ตามหลัง และสามารถดัดแปลงให้สามารถใส่ปุ๋ยรองพื้น พร้อมปลูกได้เลย ปัจจุปันมีการใช้เครื่องปลูกทั้งแบบเดี่ยวและแถวคู่ โดยจะปลูกแถวเดี่ยว ระยะแถว 1.4-1.5 เมตร ในกรณีนร้ใช้พันธุ์อ้อยที่แตกกอมาก และจะปลูกแถวคู่ระยะแถว 1.4-1.5 เมตร ระยะระหว่างคู่แถว 30-40 เซนติเมตร ในกรณีใช้พันธุ์อ้อยที่แตกกอน้อย ปัจจุบันในประเทศ ออสเตรเลียมีการใช้เครื่องปลูกอ้อยเป็นท่อน (billet planter) โดยใช้รถตัดอ้อยตัดพันธุ์อ้อยเป็นท่อน แล้วนำมาใส่เครื่องปลูกที่สามารถ เปิดร่องและโรยท่อนพันธุ์อ้อยแล้วกลบเหมือนปลูกพืชที่ใช้เมล็ดอย่างอื่น เช่น ข้าวโพดหรือถั่วต่าง ๆ

       การปลูกอ้อยต้นฝนในขตอาศัยน้ำฝน พื้นที่ปลูกอ้อยส่วนใหญ่จะอยู่ในประเภทนี้ และเป็นพื้นที่ที่มีความแปรปรวนในเรื่องผลผลิตสูงและผลผลิตเฉลี่ยของอ้อยต่ำกว่า 10 ตันต่อไร่ มีสาเหตุหลัก 2 ประการ คือ ปริมาณและการกระจายตัวของฝนไม่ดี และดินส่วนใหญ่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ การใส่ปุ๋ยก็จะมีความเสี่ยงสูงและ หาจังหวะการใส่ปุ๋ยให้มีประสิทธิภาพสูง (ถ้าดินไม่มีตวามชื้น พืชก็ดูดปุ๋ยที่ใส่ไปใช้ไม่ได้

       แนวทางที่จะพัฒนาผลผลิตอ้อยในเขตนี้ก็คือ ต้องพยายามหาแหล่งน้ำ (น้ำใต้ดิน , ขุดสระเก็บกักน้ำ) เพื่อให้น้ำอ้อนได้ในช่วงวิฟฤตและที่สำคัญ คือ ถ้ามีน้ำสามารถปลูกอ้อยได้เร็วโดยไม่ต้องรอฝน (ปลูกได้ก่อนสิ้นเดือน พฤษภาคม) ก็จะสามารถเพิ่มผลผลิตและคุณภาพของอ้อยในเขตนี้ได้ เพราะอ้อยที่ปลูกล่า (หลังเดือนพฤษภาคม) ทั้งผลผลิต และคุณภาพจะต่ำเพราะอายุอ้อยยังน้อยช่วงตัดเข้าโรงงาน วิธีการปลูกอ้อยในเขตนี้จะคล้ายกับ ในเขตชลประทานจะแตกต่างก็เพียงระยะห่างระหว่างร่องในพื้นที่จะใช้แคบกว่า คือ ประมาณ 0.9-1.2 เมตร เพราะอ้อยในเขตนี้จะแตกกอ น้อยกว่าการลดระยะแถวลง ทำให้สามารถเพิ่มจำนวนลำเก็บเกี่ยว อ้อยต่อพื้นที่ได้ และปัจจุบันเกษตรกรในหลายพื้นที่ (เช่น อำเภอบ่อพลอย  จังหวัดกาญจนบุรี อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์) เปลี่ยมมาปลูกอ้อย แถวคู่ โดยใช้ระยะระหว่างคู่ 1.4-1.5 เมตร และระยะในคู่แถว 30-40 เซนติเมตร และได้ผลผลิตไกล้เคียงกับการปลูกแถวแคบ แต่การจัดการในไร่อ้อยจะสะดวกกว่าเพราะใช้เครื่องจักรเข้าทำงานได้

       การปลูกอ้อยปลายฝน (ปลูกข้ามแล้ง)

เป็นการปลูกอ้อยโดยอาศัยความชื้นในดินช่วงปลายฤดูฝน เพื่อให้อ้อยงอกและเจริญเติบโตอย่างช้าๆ ไปจนกว่าอ้อยจะ ได้รับน้ำฝนต้นฤดูเป็นวิธีการปลูกอ้อยที่ได้ผลในเขตปลูกอ้อยอาศัยน้ำฝนบางพื้นที่ที่ดินเป็นดินทราย หรือดินร่วนปนทราย และที่สำคัญ จะต้องมีปริมาณน้ำฝนไม่ต่ำกว่า 1,200 มิลลิเมตรต่อปี และมีการ กระจายตัวดี โดยเฉพาะในช่วงต้นฤดู (กุมภาพันธุ์ ถึง เมษายน) จะต้องมีปริมาณฝนที่พอเพียงกับเจริญเติบโตของอ้อยในช่วงแรก การเตรียมดินปลูกจะต้องไถเตรียมดินหลายครั้ง จนหน้าดินร่วนซุย (เพื่อตัด sapillary pore) เป็นการรักษาความชื้นในชั้นดิน หลังจาก เตรียมดินควรรีบยกร่องและปลูกให้เร็วที่สุด เพื่อให้ทนกับความชื้น และควรยกร่องปลูกวันต่อวัน

       พันธุ์อ้อยที่ใช้ปลูกข้ามแล้ง จะเป็นพันธุ์ที่ค่อนข้างแก่ คือ อายุประมาณ 8-10 เดือน เกษตรกรนิยมปลูกอ้อยแบบทั้งลำ โดยจะชักร่องให้ลึก ระยะแถว 1.0-1.3 เมตร และวางลำอ้อยในร่องและใช้จอบสับลำอ้อยเป็น 2-3 ส่วน  กลบดินหนาประมาณ 10-15 เซนติเมตร และใช้เท้าเหยียบดิน ที่กลบให้แน่พอประมาณ เพื่อให้ท่อนพันธุ์อ้อยสัมผัสกับดินชื้นมากที่สุด ปัจจุบันมีการใช้เครื่องปลูกในพื้นที่นี้มากขึ้น โดยจะตั้งเครื่องปลูกให้ลึกกว่าปกติ

  • ข้อดีของการปลูกอ้อยด้วยวิธีนี้ คือ

       - อ้อยที่ปลูกโดยวิธีนี้จะมีอายุไม่น้อยกว่า 12 เดือน ในช่วงต้นอ้อยเข้าโรงงาน ทำให้ทั้งผลผลิตและคุณภาพ (ความหวาน) ดีกว่าอ้อยที่ปลูกต้นฝน

       -ปัญหาเรื่องวัชพืชรบกวนอ้อยในช่วงแรกจะน้อย เพราะหน้าดิน จะแห้งอยู่ตลอดเวลา ในช่วงแรกของการเจริญเติบโต

  • ข้อเสียของการปลูกอ้อยด้วยวิธีนี้ คือ

       - ถ้ามีฝนตกหลังปลูกหรือช่วงอ้อยยังเล็ก จะทำให้หน้าดินแน่น อ้อยเจริญเติบโตไม่ดีจำเป็นต้องคราดหน้าดิน เพื่อไม่ให้หน้าดินแน่นรัดหน่ออ้อย

       -ในบางปีฝนต้นฤดูน้อย หรือมาล่า อาจทำให้อ้อยเสียหายได้

       การปลูกซ่อม

       การปลูกอ้อยเพื่อให้ได้ผลผลิตสูงนั้น อ้อยปลูกจะต้องมีหลุมขาดหาย น้อยที่สุด และหลุมที่ขาดหายต่อเนื่องเกิน 1 หลุม อ้อยหลุมข้างเคียงจะ ไม่สามารถชดเชยผลผลิตได้ ดังนั้น ถ้ามีหลุมขาดหายต่อเนื่องกันมาก ควรมีการปลูกซ่อม และต้องปลูกซ้อมภายใน 20 วันหลังปลูก เพื่อให้อ้อยที่ปลูกซ่อมเติบโตทันอ้อยปลูกปกติ

       สำหรับในอ้อยตอ ไม่แนะนำให้ปลูกซ่อม เพราะอ้อยที่ปลูกซ่อม ในอ้อยตอจะมีเปอร์เซ็นต์รอดน้อย  และถึงจะรอดก็ไม่สมบูรณ์ เนื่องจากถูก กออ้อยค่อนข้างบังแสง ดังนั้น ในอ้อยตอที่มีหลุมตายหรือขาดหายมาก เกินกว่าที่หลุมข้างเคียงจะแตกกอชดเชยได้ ก็ควรจะรื้อตอและปลูกใหม่

       การให้น้ำเพื่อเพิ่มผลผลิตอ้อย

       น้ำเป็นปัจจัยการผลิตหลักที่มีผลต่อการเพิ่มผลผลิตอ้อย หากอ้อยได้รับน้ำอย่างเพียงพอตลอดช่วงการเจริญเติบโต ผลผลิตอ้อยจะได้ไม่ต่ำกว่า 15 ตันต่อไร่ อ้อยต้องการน้ำเพื่อใช้ ในการเจริญเติบโตและสร้างน้ำตาล อ้อยที่ขาดน้ำจะเจริญเติบโตช้า ผลผลิตต่ำ และให้ความหวานต่ำ

       พื้นที่เพาะปลูกอ้อยส่วนใหญ่อยู่ในเขตอาศัยน้ำฝนเป็นหลัก มีเพียงส่วนน้อยที่อยู่ในเขตชลประทาน อ้อยต้องการน้ำเพื่อการเจริญเติบโตตลอดปี ประมาณ 1,500 มิลลิเมตร การเพิ่มผลผลิตอ้อยให้สูงขึ้นจึงจำเป็นต้องใช้น้ำชลประทานหรือน้ำบาดาลช่วย การให้น้ำแก่อ้อยจะทำให้ความสามารถในการไว้ตอดีขึ้น เป็นการลดต้นทุนการผลผลิตและเพิ่มรายได้ให้แก่ชาวไร่อีกหนึ่งทาง

       ความต้องการน้ำและการตอบสนองต่อการให้น้ำของอ้อย

       การผลิตอ้อยให้ได้ผลผลิตสูงนั้น อ้อยจะต้องได้รับน้ำ (น้ำฝน/ชลประทาน) อย่างพอเพียงตลอดระยะเวลาการเจริญเติบโต ความต้องการน้ำของอ้อยจะขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศ และช่วงระยะ การเจริญเติบโต ได้แบ่งระยะความต้องการน้ำของอ้อยไว้ 4 ระยะ คือ

       1. ระยะตั้งตัว (0-30 วัน) เป็นระยะที่อ้อย เริ่มงอกจนมีใบจริง และเป็นตัวอ่อน ระยะนี้อ้อยต้องการน้ำในปริมาณไม่มาก เพราะรากอ้อยยังสั้นและการคายน้ำยังมีน้อย ดินจะต้องมีความชื้น พอเหมาะกับการงอก ถ้าความชื้นในดินน้อยเกินไป ตาอ้อยจะไม่งอก หรือถ้างอกแล้วก็อาจจะเหี่ยวเฉาและตายไป ในสภาพดินที่แห้งแล้ว ผิวหน้าฉาบเป็นแผ่นแข็ง ก็อาจทำให้หน่ออ้อยไม่สามารถแทงโผล่ขึ้นมาได้ ดังนั้น ในระยะนี้การให้อ้อยควรให้ในปริมาณน้อยและบ่อยครั้ง เพื่อทำให้สภาพความชื้นดินเหมาะสม

       2.ระยะการเจริญเติบโตทางลำต้น (31-170 วัน ระยะรากอ้อยเริ่มแพร่กระจายออกไปทั้งในแนวดิ่ง เป็นระยะที่อ้อยกำลังแตกกอและสร้างปล้องเป็นช่วงที่อ้อยต้องการน้ำมาก ถ้าอ้อยได้รับน้ำในปริมาณที่เพียงพอในระยะนี้ จะทำให้อ้อยมีจำนวน ลำต่อกอมาก ปล้องยาว ทำให้อ้อยลำยาว และผลผลิตสูง การให้น้ำ จึงต้องให้บ่อยครั้ง

       3. ระยะสร้างน้ำตาลหรือช่วงสร้างผลผลิต(171-295 วัน) ช่วงนี้พื้นที่ใบอ้อยที่ใช้ประโยชน์ได้จะน้อยลง อ้อยจะคายน้ำน้อยลง และตอบสนองต่อแสงแดดน้อยลง จึงไม่จำเป็นต้องให้น้ำบ่อย ให้เฉพาะช่วงที่อ้อยเริ่มแสดงอาการขาดน้ำ

       4. ระยะสุกแก่ (296-330 วัน) เป็นช่วงที่อ้อยต้องการน้ำน้อย และในช่วงก่อนเก็บเกี่ยว 6-8 สัปดาห์ ควรหยุดให้น้ำ เพื่อลดปริมาณน้ำในลำต้นอ้อยและบังคับให้น้ำตาลทั้งหมดในลำต้นอ้อยเปลี่ยนเป็นน้ำตาลซูโครส

       ระบบการให้น้ำอ้อย

       การเลือกระบบการให้น้ำอ้อยที่เหมาะสม ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ชนิดของดิน ความาดเอียงของพื้นที่ ต้นทุน และความพร้อมในการนำน้ำมาใช้ รวมทั้งความพร้อมในด้านแรงงาน และอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักรในการให้น้ำ ระบบการให้น้ำอ้อย ในปัจจุบันที่ใช้กันอยู่ทั้งในและต่างประเทศมีดังนี้

       1. การให้น้ำแบบร่อง (Furrow irrigation) เป็นระบบการให้น้ำอย่างแพร่หลายทั้งในและต่างประเทศ เพราะเป็นระบบที่ใช้ต้นทุนต่ำ สะดวกและง่ายในการปฏิบัติ แต่ก็มีข้อจำกัดอยู่ที่แปลงปลูกอ้อยจะต้องค่อนข้างราบเรียบ โดยมีความลาดชัน ไม่เกิน 3 เปอร์เซ็นต์ ประสิทธิภาพของการให้น้ำแบบร่องจะผันแปรอยู่ระหว่าง 30-90 เปอร์เซ็นต์ และสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการให้น้ำได้ โดยการจัดการที่ถูกต้องและเหมาะสม โดยปกติการให้น้ำ ระบบนี้จะมีร่องน้ำที่หัวแปลงหรืออาจใช่ท่อหรือสายยางที่มีช่องปฺดให้น้ำไหล เข้าร่องอ้อยแต่ละร่อง เมื่อน้ำไหลไปจนสุดร่องแล้วอาจยังคงปล่อยน้ำ ต่อไปอีกเพื่อให้น้ำชึงลงในดินมาก ขึ้นน้ำที่ท้ายแปลงอาจระบายออก หรือเก็บรวบรวมไว้ในบ่อพักเพื่อนำกับมาใช้อีก ในแปลงอ้อยที่มี ความลาดชันน้อยมาก (ใกล้ 0 เปอร์เซ็นต์) สามารถจัดการให้น้ำโดย ไม่มีน้ำเหลือทิ้งท้ายแปลงได้ ดโยปรับสภาพพื้นที่ให้มีความลาดชันน้อยที่สุด หรือเป็นศูนย์และทำคันกั้นน้ำตลอดท้ายแปลง น้ำที่ให้ไปสุดท้ายแปลง จะถูกดักไว้โดยคันกั้นน้ำ ทำให้น้ำมีเวลาซึมลงในดินมากขึ้น วิธีนี้จะ เหมาะกับดินที่มีการซึมน้ำช้า และน้ำที่จะให้มีจำกัด แม้ว่าการให้น้ำระบบร่องจะใช้ได้กับพื้นที่มีความลาดเอียงไม่เกิน 3 เปอร์เซนต์ แต่ส่วนใหญ่ แล้วจะใช้กับพื้นที่ที่มีความลาดเอียงไม่เกิน 1 เปอร์เซนต์ สำหรับความยาวร่องที่ใช้มีตั้งแต่ 25 เมตร ถึง 1,000 เมตร รูปร่างของร่องและอัตราการไหลของน้ำ ขึ้นกับชนิดของดินและความลาดชัน ของพื้นที่ สำหรับดินที่มีความสามารถ ในการซึมน้ำได้ดี ควรใช้ร่องปลูกรูปตัว V และมีสันร่องกลาง เพื่อให้น้ำไหลได้เร็วและลดการสูญเสียน้ำ จาก การซึมลึกในแนวดิ่ง ในทางกลับกัน สำหรับดินที่มีการซึมน้ำแล้ว ควรใช้ ร่องที่มีกันร่องกว้างและสันร่องแคบ เพื่อเพิ่มพื้นที่ผิวสัมผัสของดินกับน้ำ ทำให้น้ำซึมลงดินได้ทั่วถึง

       2. การให้น้ำแบบพ่นฝอย (Sprinklerirrigation) การให้น้ำแบบนี้ใช้ได้กับทุกสภาพพื้นที่และทุกชนิด ประสิทธิภาพ ในการใช้น้ำอาจเกิน 75 เปอร์เซ็นต์ได้ ถ้ามีการจัดการที่ถูกต้องและเหมาะสม การให้น้ำแบบนี้มีหลายรูปแบบ เช่น

       -สปริงเกลอร์หัวใหญ่ ต้องใช้ปั้มน้ำแรงดันสูงและมีทางวิ่งถาวร ในแปลงอ้อย

       -สปริงเกลอร์แบบหัวเล็กเครื่องย้ายได้ ใช้สำหรับปลูกอ้อยหรือ อ้อยตออายุน้อยและปริมาณน้ำที่มีกำจัด มีข้อเสียคือ ต้องใช้แรงานมากในการเครื่องย้าย และไม่สามารถใช้กับอ้อยสูงได้

       -สปริงเกลอร์แบบหัวเล็กบนแขนระนาบ(Lateral move irrigators) ข้อดีคือการให้น้ำในพื้นที่ขนาดใหญ่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและใช้แรงานน้อย แต่มีข้อเสียคือใช้ต้นทุนสูงสำหรับอุปกรณ์และเครื่องมือ

       -สปริงเกลอร์หัวเล็กบนแขนที่เคลื่อนเป็นวงกลมรอบจุดศูนย์กลาง (Centre-pivotirrigators)

       3. การให้น้ำแบบหยด (Drip irri-gation) เป็นวิธีให้น้ำที่มีประสิทธิภาพในการให้น้ำสูงสุด โดยสามารถให้น้ำเฉพาะรอบๆรากพืช และสามารถให้ปุ๋ยและสารเคมี ป้องกันกำจัดศัตรูพืชไปพร้อมกับน้ำได้เลย ปัจจุบันมีใช้กันอยู่ 2 แบบคือ

       -ระบบน้ำหยดบนผิวดิน (Surface system) ระบบนี้จะวางสายให้น้ำบนผิวดินในแนวกึ่งกลางร่อง หรือข้างร่อง อาจวางทุกร่องหรือร่องเว้นร่อง

       -ระบบหยดใต้ผิวดิน (Subsurface system) ระบบนี้จะต้องวางสายให้น้ำก่อนปลูกโดยปกติฝังลึกประมาณ 25-30 ซม. และสายให้น้ำจะอยู่ใต้ท่อนพันธุ์อ้อยประมาณ 10 ซม.

       การป้องกันกำจัดศัตรูพืช

       อ้อยปลูก

       - ไถ 1-2 ครั้ง ตากดิน 7-10 วัน พรวนดินแล้วคราดเก็บเศษซาก รากเหง้า หัวและไหลของวัชพืชข้ามปีออกจากแปลงปลูก

       - กำจัดวัชพืชด้วยแรงงาน หรือเครื่องจักรกล 1-2 ครั้ง ในช่วงอ้อยอายุ 1-2 เดือน หรือเมื่อวัชพืชมี 4-5 ใบ หรือก่อนวัชพืชออกดอก

       - ในเขตชลประทาน ควรปลูกพืชบำรุงดินแซมระหว่างร่องอ้อย เช่น ถั่วพร้า อัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ โดยปลูกทันทีหลังปลูกอ้อย แล้วไถกลบเมื่ออายุ 1-2 เดือน พร้อมการให้ปุ๋ย

       - ในกรณีที่การกำจัดวัชพืชด้วยแรงงานหรือเครื่องจักรกลไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอควรพ่นสารกำจัดวัชพืช ฉีดพ่นตามคำแนะนำ

       อ้อยตอ

      - หลังตัดแต่งตออ้อย ให้ใช้ใบและยอดอ้อยคลุมดินตามคำแนะนำ

       - ใช้เครื่องสับใบอ้อย พรวนจาน หรือจอบหมุนคลุกใบอ้อยลงดินก่อนให้ปุ๋ย

       - ในระยะอ้อยแตกกอ ถ้ามีวัชพืชปริมาณมาก ควรกำจัดวัชพืชด้วยแรงานหรือเครื่องจักรกล 1 ครั้ง หรือพ่นสารกำจัดวัชพืช

       การเก็บเกี่ยว

      - เก็บเกี่ยวอ้อยที่อายุ 10-14 เดือนหลังปล ก สังเกตจากยอดอ้อยจะมีข้อถี่กว่าปกติ

       - น้ำอ้อยมีความหวานมากกว่า 10 ซีซีเอส หรือมีค่าบริกซ์ของส่วนกลางและปลายลำอ้อยแตกต่างกันน้อยกว่า 2

       - ควรตัดอ้อยตอเข้าโรงงานก่อนอ้อยปลูก

      

 

Tags : การใส่ปุ๋ยอ้อย

view