การใส่ปุ๋ยพลับ
พันธุ์ แบ่งออกตามความแตกต่างเรื่องรสชาติเป็น 2 พวกใหญ่ ๆ คือ
1.พลับหวาน พวกนี้รสหวานกรอบไม่ฝาดแม้จะเก็บมาจากต้นก็รับประทานได้เลยได้แก่ พันธุ์ฟูยู ไลโอเปอเชียน ไจโร ซารูก้า
2.พลับฝาด เมื่อผลยังไม่สุกจะมีรสฝาด หากจะรับประทานต้องนำไปผ่านกรรมวิธีการลดความฝาดเสียก่อน เมื่อผลสุกเต็มจะมีสีแดงส้ม เนื้อผลนิ่ม รสหวาน พันธุ์พวกนี้ได้แก่ ทานีนาชิ, ฮาชิยา, ซูรู ความฝาดนี้ก็เนื่องจาก แทนนิน ในเนื้อของผลนั่นเอง
การปลูก พลับเป็นไม้ผลที่มีการผลัดใบ ต้องการสภาพอากาศที่หนาวเย็น ในฤดูหนาวใบจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและร่วงตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนพอถึงเดือนมกราคมใบจะร่วงหมดต้น ต้นพลับจะพักตัวจนถึงเดือนมีนาคมก็จะเริ่มผลิใบขึ้นมาใหม่หลังจากนั้นไม่นานก็จะมีการผลิดอกและติดผล ผลจะแก่ในราวเดือนสิงหาคมถึงกันยายนพลับขึ้นได้ดีในดินแทบทุกชนิด จึงไม่มีปัญหามากนักสำหรับการเลือกที่ปลูก ระยะปลูกที่เหมาะสม 6-8x6-8 เมตร ซึ่งควรเริ่มปลูกต้นฤดูฝน การเตรียมหลุมปลูกพลับ ควรขุดให้มีความกว้างยาวลึกด้านละ 1/2x1 เมตร แบ่งดินบนไว้กองหนึ่งดินชั้นล่างไว้อีกกองหนึ่ง นำปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกเก่า ๆ เทใส่ลงไปขนาดพอ ๆ กับกองดินบนผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน หลังจากนั้นจึงค่อยเอาดินล่างกลบลงไปให้มีระยะสูงกว่าปากหลุมเล็กน้อยนำต้นพลับที่ชำไว้ลงปลูก
การใส่ปุ๋ย ควรแบ่ง 2 ครั้ง คือ ครั้งแรกให้เมื่อพลับเริ่มออกดอก โดยให้สูตร 13-13-21 ส่วนอีกครั้งหนึ่งให้ใส่หลังจากเก็บเกี่ยวผลและตัดแต่งกิ่งแล้วโดยให้สูตร 15-15-15 สำหรับอัตราที่ใช้ก็แล้วแต่ขนาดและอายุของพลับ ประมาณ 1กำมือ วิธีการให้ทำ โดยพรวนดินรอบบริเวณทรงพุ่มตื้น ๆ ไม่ต้องลึกแล้วโรยปุ๋ยรอบๆ หลังจากนั้นก็ให้น้ำตาม บริเวณที่โรยปุ๋ยให้ทั่ว
การเก็บเกี่ยว พลับที่ปลูกในประเทศไทย จะเก็บเกี่ยวได้ตั้งแต่เดือนสิงหาคมถึงกันยายน ตามแต่พันธุ์นั้น ๆ ว่าจะสุกก่อนหรือหลังแค่ไหน ส่วนในอเมริกาจะเก็บเกี่ยวได้ประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม การเก็บเกี่ยวต้องทำอย่างระมัดระวังอย่าให้ผลชํ้าหรือมีรอยตำหนิได้เพราะว่าเชื้อราอาจจะเข้าไปทำลายให้ผลเน่าเสียหายเก็บไว้ได้ไม่นานและไม่เป็นที่ต้องการของตลาด ซึ่งในการเก็บเกี่ยว จะต้องใช้กรรไกรตัดที่ขั่วผล อย่าใช้มือเด็ดเป็นอันขาด ผลที่เก็บจะต้องเป็นผลที่แก่จัดผิวผลมีสีเหลือง ซึ่งผลจะยังคงแข็งแรงอยู่ หลังจากเก็บเกี่ยวแล้วควรจะใช้กระดาษฟางห่อผลคล้ายกับการห่อผลแอปเปิลเรียงซ้อนกัน 2-3 ชั้น ในกล่องกระดาษพร้อมที่จะขนส่งสู่ตลาด
โรค สาเหตุจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ acterium tumorfaciens ป้องกันโดยการไม่นำเอาต้นที่เป็นโรคไปปลูกนอกจากนี้ก็มีไส้เดือนฝอยในดินทำให้เกิดโรครากปม นกและแมลงวันผลไม้บ้างเล็กน้อย
แมลง พลับเป็นไม้ผลที่ไม่ค่อยจะมีปัญหาในเรื่องโรคและแมลงมากนัก ซึ่งในเมืองไทยยังมีการศึกษากันน้อยมาก