www.Stats.in.th
  สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com

การใส่ปุ๋ยข้าวโพดหวาน

  • ข้าวโพดหวาน

       ข้าวโพดหวาน เป็นพืชอุสาหกรรมเพื่อการส่งออกโดยบรรจุกระป๋องและแช่แข็ง ในรูปของเมล็ด ฝัก และข้าวโพดครีม ปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกปีละประมาณ 200,000 ไร่ ได้ผลผลิตฝักสดทั้งเปลือก รวม 346,000 ต้น ในปี 2544 มีปริมาณส่งออกรวม 37,000 ตัน มูลค่า 1,082 ล้านบาท โดยส่งออกในรูปบรรจุกระป๋อง 35,800 ตัน มูลค่า 980 ล้านบาท และในรูปข้าวโพดหวานแช่แข็ง 1,200 ตัน มูลค่า 48  ล้านบาท นอกจากนั้นยังสามารถใช้เปลือก ไหมและต้นข้าวเป็นอาหารเลี้ยงโคเนื้อและโคนม รวมทั้งนำไปหมักเป็นปุ๋ยหมักได้เป็นอย่างดี

       1.แหล่งปลูก

      1.1สภาพพื้นที่

        - ปลูกได้ทุกภาคของประเทศไทย ที่ไกล้แหล่งน้ำสะอาด

       - พื้นที่ราบและสม่ำเสมอ มีความลาดเอียงไม่เกิน 5 เปอร์เซ็นต์

       - ไม่มีน้ำท่วมขัง

       - ห่างไกลจากแหล่งมลพิษ

       - การคมนานคมสะดวก สามารถนำผลผลิตออกสู่ตลาดได้รวดเร็ว

       1.2 ลักษณะดิน

       - ดินร่วน ดินร่วนเหนียวปนทราย หรือดินร่วนปนทราย

       - ความอุดมสมบูรณ์สูง มีอินทรียวัตถุสูงกว่า 1.5 เปอร์เซ็นต์ ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์มากกว่า 10 ส่วนในล้านส่วน และโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ไม่น้อยกว่า 40 ส่วนในล้านส่วน

       - การระบายน้ำและถ่ายเทอากาศดี

       - ระดับหน้าดินลึก 25-30 ซม.

       - ค่าความเป็นกรดด่างระหว่าง 5.5-6.8

       1.3 สภาพภูมิอากาศ

      - อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต 24-35 องศาเซลเซียส ถ้าอุณหภูมิสูงกว่า 35 องศาเซลเซียส อาจจะมีปัญหาในการผสมเกสรทำให้การติดเมล็ดไม่ดีเท่าที่ควร

       - ปริมารน้ำฝนกระจายสม่ำเสมอ 1,000-1,200 มิลลิตรต่อปี

       1.4 แหล่งน้ำ

       - มีน้ำเพียงพอสำหรับใช้เมื่อจำเป็น

       - ต้องเป็นน้ำสะอาดปราศจากสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์มีพิษปนเปื้อน

       2.พันธุ์ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

        - พันธุ์ผสมเปิด ได้แก่ พันธุ์ซุปเปอร์สวีทดีเอ็มอาร์, ฮาวายเอี้ยนซุปเปอร์สวีท, ซุปเปอร์อาร์โก้ เกษตรกรสามารถเก็บเมล็ดไว้ทำพันธุ์ 2-3 รุ่น เหมาะสำหรับขายในตลาดบริโภคสดทั่วไป

       - พันธุ์ลูกผสม ได้แก่ พันธุ์อินทรี 2, ชูการ์73, ชูการ์74, ไฮ-บริกซื10, เอทีเอส-2, รอยัลสวีท, ยูนิซีดส์สวีททูโทน เป็นต้น เจริญเติบโต อายุออกไหมและฝักสม่ำเสมอผลผลิตสูงเป็นที่ต้องการของตลาดบริโภคสดและโรงงาน แต่มาสามารถเก็บเมล็ดไว้ปลูกครั้งต่อไปได้

       3. การปลูก

      3.1 ฤดูปลูก

      - ปลูกได้ตลาดทั้งปี ถ้ามีแหล่งน้ำเพียงพอสำหรับใช้เมื่อจำเป็น

        - ช่วงปลูกที่ให้ผลผลิตสูงและคุณภาพดีควรอยู่ในช่วงฤดูหนาวระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงมกราคม หรือต้นฤดูฝนระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคม

       3.2 การเตรียมดิน

      ปลูกบนพื้นที่ราบ ไถด้วยผาล 3 1 ครั้ง ลึก 20-30 ซม. ตากดิน 7-10 วัน พรวนดินด้วยผาล 7 1 ครั้ง แล้วยกร่องปลูกสูง 25-30 ซม. ถ้าปลูกเป็นแถวคู่ ให้มีระยะระหว่างร่อง 120 ซม.

       ปลูกบนร่องสวน  เป็นการปลูกบนร่องสวนกว้าง 4-5 เมตร ตามความยาวของพื้นที่ โดยใช้จอบหรือรถไถเดินตาม เปิดหน้าดินลึก 15-20 ซม. ตากดิน 7-10 วัน ย่อยดินด้วยแรงงาน

       3.3 วิธีการปลูก

       ก่อนปลูกทุกครั้ง ต้องคลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารป้องกันกำจัดโรคราน้ำค้าง (เมตาแลกซิล) ตามคำแนะนำ

       ปลูกบนที่พื้นราบ

      - เมล็ดพันธุ์ที่มีความงอกสูงกว่า 85 เปอร์เซ็นต์ ให้หยอด 1 เมล็ดต่อหลุม ใช้เมล็ดพันธุ์ 1.0-1.5 กิโลกรัมต่อไร่ ถ้าเมล็ดพันธุ์มีความงอกต่ำกว่า 85 เปอร์เซ็น ควรหยอดเมล็ด 1-2 เมล็ดต่อหลุม ใช้เมล็ดพันธุ์ 1.5-2.0 กิโลกรัมต่อไร่

       - อัตราปลูกที่เหมาะสมสำหรับการบริโภคฝักสดประมาณ 8,500 ตันต่อไร่ สำหรับอุสาหกรรมแปรรูป 8,500-11,000 ตันต่อไร่

       - ถ้าปลูกเป็นแถวเดี่ยว ใช้ระยะระหว่างหลุม 25 ซม. ถ้าเป็นแถวคู่ ให้ปลูกข้างร่องแบบสลับฟันปลา ใช้ระยะระหว่างหลุม 25-30 ซม.

       - เมื่อข้าวโพดหวานมีอายุประมาณ 14 วัน ถอนแยกให้เหลือหลุมละ 1 ต้น

       ปลูกบนร่องสวน

      - ระยะปลูก 50x50 ซม. ทำหลุมปลูกลึก 3-5 ซม. หยอดเมล็ดจำนวน 2-3 เมล็ดต่อหลุม แล้วกลบดิน

       - เมื่อข้าวโพดหวานอายุประมาณ 14 วันถอนแยกให้เหลือ 2 ต้นต่อหลุม จำนวน 6,500-8,500 ตันต่อไร่

       4. การดูแลรักษา

      4.1 การให้ปุ๋ย

       - ถ้าดินมีอินทรียวัตถุ ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมต่ำกว่า ตามที่ระบุในข้อ 1.2 ให้ปุ๋ยเคมีสูตร 16-20-0 สำหรับดินร่วน หรือดินร่วนเหนียวปนทราย และสูตร 15-15-15 สำหรับดินร่วนปนทราย อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ รองก้นร่องพร้อมปลูก

       - เมื่อข้าวโพดหวานอายุ 20 วัน ให้ปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ หรือสูตร 21-0-0 อัตรา 100 กิโลกรัมต่อไร่ โรยข้างต้นหรือข้างแถว แล้วพรวนกลบ

       - ในกรณีที่มีกระระบายน้ำดี แต่ข้าวโพดหวานมีลักษณะต้นเตี้ยและใบเหลือง ควรให้ปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อข้าวโพดหวานอายุ 40-45 วัน

       4.2 การให้น้ำ

      ให้น้ำบนพื้นที่ราบ สามารถให้น้ำแบบตามร่อง หรือพ่นฝอย แต่การให้น้ำแบบพ่นฝอยจะประหยัดกว่าการให้น้ำตามร่อง

  1.  การให้น้ำแบบพ่นฝอย ควรให้ทำทุก 7-10 วัน ตลอดฤดูการปลูก

       (2) การให้น้ำตามร่อง ควรให้น้ำสูงถึงระดับเศษ 3 ส่วน 4 ของร่อง เพื่อให้เมล็ดงอกสม่ำเสมอ หลังจากนั้นให้น้ำทุก 3-5 วัน สำหรับดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย หรือ 7-10 วัน สำหรับดินร่วนเหนียวปนทรายไม่ควรปล่อยให้น้ำท่วนขังในแปลงเกิน 24 ชั่วโมง เพราะข้าวโพดหวานจะชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงหรืออาจทำให้ตายได้

       ให้น้ำบนร่องสวน  ให้น้ำโดยการตักน้ำสาด หรือใช้เครื่องสูบน้ำวางในเรือขนาดเล็ก สูบน้ำในร่อง

       - ควรให้น้ำทันทีหลังปลูก และหลังให้ปุ๋ยทุกครั้ง

       - ถ้าใบข้าวโพดหวานเหี่ยวหรือม้วนในช่วงเช้าหรือเย็นแสดงว่าขาดน้ำ ต้องให้น้ำทันทีควรระวังอย่าให้ขาดน้ำช่วงผลสมเกสร และติดเมล็ด เพราะอาจทำให้ผลผลิตลดลงมาก

       5. การป้องกันกำจัดศัตรูพืช

  • วัชพืช ควรกำจัดวัชพืชครั้งที่ 1 พร้อมกับการพรวนดินเมื่อข้าวโพดอายุ

15-20 วัน ครั้งที่ 2 พร้อมกับการใส่ปุ๋ยแต่งหน้าดินครั้งที่ 2 ถ้าต้องการใช้สารเคมีสามารถใช้สารอะลาคลอร์ตามอัตราแนะนำในฉลากยาพ่นคลุมผิวดินหลังปลูกก่อนของการงอกของวัชพืชและข้าวโพดในแปลง

  • โรค ได้แก่ ราน้ำค้าง คลุกเมล็ดด้วยเอพรอน 35 เอสดี ใบไหม้แผลเล็ก

คลุกเมล็ดด้วยแมนโคเซ็บ หรือแคปแทน หรือฉีดพ่นด้วยสารซาพรอล ราสนิม        ใช้สเกอร์ฉีดพ่นให้ทั่วในระยะเริ่มเป็น โคนจะเน่าจากแบคทีเรีย อาการใบยอดเหี่ยว หักพับ ข้อและโคนต้นมีรอยชำสีน้ำตาลมีกลิ่นเหม็น พบมากในฤดูฝน ให้ถอนเผาทำลายทันที

  • แมลงศัตรูข้าวโพด ได้แก่

        - มอดดิน ใช้สารคาร์โบซัลแฟน ฉีดพ่นตามอัตราแนะนำ หรือคลุกเมล็ดด้วยอิมิดาโคลพริด

         - หนอนเจาะลำต้น ใช้สารไซเพอร์เมทรินหรือไตรฟลูมูรอนฉีดพ่นตามอัตราแนะนำ(เมื่อตรวจพบกลุ่มไข่มากกว่า 15 กลุ่มต่อข้าวโพด 100 ต้น)

         - หนอนเจาะฝักข้าวโพด ใช้สารไฟโปรนิล ฉีดพ่นตามคำแนะนำ

        - เพลี้ยอ่อนข้าวโพด ใช้สารคาร์บารินหรือไฟเฟนทรินฉีดตามอัตราคำแนะนำ

        - หนอนกระทู้หอม ใช้สารนิวเคลียร์โพลีฮีโดรซิลไวรัส (ชีวินทรีย์) หรือเบตาไซฟลูทรินฉีดพ่นตามคำแนะนำ

       6.การเก็บเกี่ยว

       - เก็บเกี่ยว 18-20 วัน หลังออกไหม 50 เปอร์เซ็นต์ หรืออายุประมาณ 70-73 วัน ซึ่งเก็บเกี่ยวอาจจะเร็วขึ้นถ้าอุณหภูมิสูง และอาจเก็บเกี่ยวได้ช้าลงถ้าอุณหภูมิต่ำหรือปลูกในฤดูหนาว

       - สังเกตจากสีของไหมจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม

       - เมื่อใช้มือบีบส่วนปลายฝักจะยุบตัวลงได้ง่าย

       - เมื่อฉีกเปลือกข้าวโพดฝักบนสุด เมล็ดจะมีสีเหลืองอ่อน ถ้าใช้เล็บกดที่ปลายฝักจะมีน้ำนมไหลออกมา แสดงว่าอีกสองวันจะต้องเก็บเกี่ยว

       - หลังจากตัดฝักสดออกจากต้นแล้วควรส่งตลาด โรงงาน หรือผู้รับซื้อโดยเร็วที่สุดภายใน 24 ชม.  จะช่วยยืดความหวานเพิ่มอีก 24 ชม. รวมเป็น 48 ชม.

       - ในกรณีปลูกข้าวโพดหวานพันธุ์ผสมเปิด ซึ่งจากออกไหมไม่พร้อมกัน

ต้องทยอยเก็บเกี่ยว 2-3 ครั้ง

        - การเก็บเกี่ยวข้าวโพดหวานก่อนหรือหลังช่วงที่เหมาะสมเพียง 1-2 วัน จะทำให้คุณภาพฝักไม่ได้มาตรฐานตามตลาดและโรงงานอุสาหกรรมต้องการ 

      

 

Tags : การใส่ปุ๋ยข้าวโพดหวาน

view