www.Stats.in.th
  สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com

การใช้ปุ๋ย 5 นางฟ้าทรงฉัตรกับพืชไร่

       การใช้ปุ๋ย 5 นางฟ้าทรงฉัตรกับพืชไร่

  • อ้อย

       อ้อยเป็นพืชตระกลูหญ้า เจริญเติบโตได้ดีในประเทศที่ตั้งอยู่ในเขตร้อน และกึ่งร้อน เขตปลูกอ้อยของโลกจำกัดอยู่ระหว่าง เส้นรุ้งที่ 35 องศาเหนือและใต้ อ้อยชอบแสงแดดจัดเพื่อการเจริญเติบโต และสร้างน้ำตาลสะสมไว้ในลำต้นอุณหภูมิที่อ้อยเจริญเติบโตได้ดีเฉลี่ยทั้งปีไม่ควรต่ำกว่า 20 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนแต่ละปีควรอนู่ระหว่าง 1,500-2,000 มิลลิเมตรต่อปี พื้นที่ที่สามารถปลูกอ้อยได้เริ่มตั้งแต่ระดับน้ำทะเลปานกลางไปจนถึงระดับสูง 500 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ในปี 2551 มีพื้นที่ปลูก 3-6.5 ล้านไร่ ผลผลิตรวม 7.8 ล้านตัน 

        ดินและปุ๋ยในอ้อยมีคำแนะนำดังนี้

       1.การใส่ปุ๋ยอ้อยก่อนใช้ทำเป็นท่อนพันธุ์

 จากผลการทดลองใส่ปุ๋ย 30-0-0 (กก. N- P2O- K2O/ไร่) สำหรับอ้อยอายุ 7-8 เดือน หลังใส่ปุ๋ย 1 เดือน เกษตรกรสามารถตัดไปเป็นท่อนพันธุ์ ทำให้เปอร์เซ็นต์ความงอกสูงมากและเจริญเติบโตในช่วงแรกๆ ได้ ดีมาก

       2. จำนวนครั้งที่ใส่ปุ๋ย

       2.1 เขตชลประทาน ใส่ปุ๋ยแบ่งใส่ 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่ออายุอ้อย 1 เดือนหลังงอก โดยใส่ 1/2 N+P2O+K2O ครั้งทีสองใส่เมื่ออายุอ้อย 3 เดือนหลังงอก โดยใส่ปุ๋ย 1/2 N ที่เหลือ

       2.2 เขตอาศัยน้ำฝน ปกติส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทราย ใส่ปุ๋ย แบ่งใส่ 3 ครั้ง

       - รองก้นร่อง ใส่ปุ๋ย 9-3-9 (กก. N- P2O- K2O /ไร่)

       - ครั้งที่สองใส่ต้นฤดูฝนใส่ปุ๋ย 1/2 N+P2O+K2O

       - ครั้งที่สามใส่ปุ๋ยหลังจากครั้งที่สอง 2 เดือน ใส่ปุ๋ย 1/2 N ที่เหลือ

       3. ปลูกปุ๋ยพืชสดแล้วไถกลบก่อนปลูกอ้อย

       พืชตตระกลูถั่วที่แนะนำ คือ ถั่วพร้า และถั่วมาแฮะ สามารถเพิ่มผลผลิตอ้อยได้ และยังปรับปรุงดินได้อีกด้วย

       4.ใส่ปุ๋ยคอกร่วมกับปุ๋ยเคมี 5 นางฟ้าทรงฉัตร

       โดยใส่ปุ๋ยคอก เช่น มูลเป็ด มูลไก่ มูลวัว อัตรา 1 ตัน/ไร่ สามารถเพิ่มผลผลิตอ้อยได้และช่วยปรับสภาพดินได้ด้วย

       5.ใส่ปุ๋ยหมักร่วมกับปุ๋ยเคมี 5 นางฟ้าทรงฉัตร

       โดยใส่ปุ๋ยหมักอัตรา 2 ตัน/ไร่ ใส่ครั้งแรกทั้งหมด สามารถเพิ่มผลผลิตอ้อยได้

       6.ประเภทของปุ๋ยไนโตรเจน

        ในเขตพื้นที่ดินทราย ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต มีแนวโน้มให้ผลผลิตสูงกว่าการใส่ปุ๋ยยูเรีย และปุ๋ยแอมโมเนียมคลอไรด์

       7.ใช้ใบและยอดอ้อยคลุมแปลง

       หรือไถกลบใบอ้อยร่วมกับการใช้ปุ๋ยเคมี สามารถเพิ่มผลผลิตอ้อยได้ดีกว่าแปลงอ้อยที่เผาใบอ้อย

       8.การใช้ปุ๋ยระยะยาวในเขตชลประทาน

       พบว่าการใช้ปุ๋ย N P K ครบทั้งสามธาตุให้ผลผลิตอ้อยดีกว่าการใช้ปุ๋ยไม่ครบสามธาตุ คือ N, NP, NK

       9.การใช้หินปูนบด

       ในดินร่วนปนทรายที่มี pH เป็นกรด ใช้หินปูนบดละเอียด อัตรา 200 กก./ไร่ สามารถเพิ่มผลผลิตอ้อยได้

       10.การใช้เศษเหลือจากโรงงาน

       พบว่าใช้เศษเหลือจากโรงงานเป็นแหล่งทดแทนไนโตรเจนได้เป็นอย่างดีโดยใช้ชนิดน้ำอัตรา 400 ลิตร/ไร่ และชนิดแห้งอัตรา 1.2 ตัน/ไร่ ได้ผลผลิตเท่าๆกับการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนอัตราเท่าๆ กัน คือ 12 กก.N/ไร่

       11.ปริมาณไนโตรเจน

      11.1 เขตชลประทาน อ้อยปลูกใช้ 12 กก.N/ไร่ อ้อยตอใช้ 24 กก.N/ไร่

       11.2 เขตอาศัยน้ำฝน อ้อยปลูกใช้ 10 กก.N/ไร่ อ้อยตอใช้ 18 กก.N/ไร่

       12.ปริมาณฟอสฟอรัส

      12.1 เขตชลประทาน อ้อยปลูกใช้ P2O5 6 กก./ไร่ อ้อยตอใช้ P2Oกก./ไร่

        12.2 เขตอาศัยน้ำฝน อ้อยปลูกใช้ P2O5  6 กก./ไร่ อ้อยตอใช้ P2O5 9 กก./ไร่

       13.ปริมาณโพแทสเซียม

      13.1 เขตชลประทาน อ้อยปลูกใช้ K2O 12 กก./ไร่ อ้อยตอใช้ K2O 24 กก./ไร่

       13.2 เขตอาศัยน้ำฝน อ้อยปลูก K2O 12 กก./ไร่ อ้อยตอใช้ K2O 18 กก./ไร่

       14 การจัดการดินและปุ๋ยอ้อย

       ตามปกติลักษณะตามกายภาพของดินจะดีหรือไม่ดีขึ้นอยู่กับส่วนประกอบของเนื้อดินที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น ดินทราย ดินร่วน และดินเหนียว เมื่อมีการเปิดป่าทำการปลูกอ้อยใหม่ๆโครงสร้างของดินจะมีคุณสมบัติอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ หลังจากการปลูกอ้อยต่อเนื่องมาเรื่อยๆ โครงสร้างของดิน จะเสื่อมลงเนื่องจาก

       14.1 การไถพรวนบ่อยครั้งและไม่ถูกวิธีไถพรวนจนดินละเอียดเป็นฝุ่น จะทำให้อนุภาคแยกตัวออกจากกัน อนุภาคบางเรียงตัวเป็นแผ่นแข็งๆ ฉาบผิวดิน ทำให้ยอดอ้อยแทงทะลุขึ้นมาได้ยาก เมื่อเวลาฝนตกจะไม่มีน้ำซึมลงไปข้างล่างดินจะเก็บน้ำไว้ได้น้อย เมื่อฝนแล้งอ้อยจะเหี่ยวเฉาอย่างรวดเร็ว

       14.2 การไถพรวนที่ระดับความลึกระดับเดี่ยวกันนาน ทำให้ชั้นดินถูกขอบจานไถกดซ้ำเล่าจนเป็นแผ่นทึบ หรือเรียกว่าดินด่าน รากอ้อยไม่สามารถแทงทะลุได้ อ้อยจะชะงักการเจริญเติบโตและยังทำให้อินทรียวัตถุในดินหมดไป ดินใต้รอยไถจะแน่นทึบเก็บน้ำและอากาศไว้ได้น้อย การเจริญเติบโต การดูดน้ำและธาตุอาหารของต้นอ้อยจะถูกจำกัด

       14.3 การเผาอ้อยเป็นการเผาทำลายเศษซากพืชและอินทรียวัตถุ

       14.4การใช้รถบรรทุกเหยียบย่ำในแปลงน้ำหนักของรถบรรทุกบวกกับอ้อยที่บรรทุกขนาด 25-40 ตัน จะทำให้เกิดความกดดินถึง 15.3 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร ถ้าดินแห้งทำให้บริเวณผิวดินระดับ 15 เซนติเมตรแน่นทึบ แต่ถ้าดินเปียกแรงกดของรถบรรทุกจะทำให้ดินแน่นไปจนถึงระดับ 50 เซนติเมตร ผลการทดลองยังพบว่า ถ้าความหนาแน่นของดินเพิ่มขึ้นจาก 1.4 ลูกบาศก์เซนติเมตร ทุกๆ 0.1 หน่วย ที่เพิ่มขึ้นจะทำให้ผลผลิตอ้อยลดลง 1.2 ตันต่อไร่

       14.5 การใช้เครื่องมีตัดอ้อยขนาดใหญ่ซึ่งปัจจุบันซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายและจะเพิ่มขึ้นมากเรื่อยๆ ในอนาคต น้ำหนักรถตัดอ้อยขนาดใหญ่นี้จะกดทึบให้ดินแน่นขึ้นโดยเฉพาะทำการเก็บเกี่ยวอ้อยขณะดินเปียกชื้น

       15.การปรับปรุงบำรุงดินในไร่อ้อย

      15.1 ถ้าเกิดดินดานให้ใช้ไถสิ่วหรือไถเปิดดานติดรถแทรกเตอร์ตีนตะขาบที่มีกำลังสูงลากไถสิ่วคู่ระยะ 1 เมตร ไถลึกประมาณ 75 เซนติเมตร การไถควรทำในขณะที่ดินแห้งจัดเพื่อให้ดินดานแตกตัวง่ายไม่ควรไถเมื่อดินเปียกขึ้นเพราะจะทำให้ไม่ได้ผล เนื่องจากดินแตกตัวยากและจะคืนตัวได้ง่าย การไถเปิดดินดานครั้งหนึ่งๆ จะอยู่ได้นานหลายปีถ้ามีการเตรียมดินได้อย่างถูกต้อง

       15.2 เตรียมดินโดยการไถพรวนจนละเอียดเป็นฝุ่น เป็นสิ่งที่ต้องหลีกเลี่ยง เพราะดินที่ละเอียดเหล่านี้จะลงไปอุดอยู่ตามช่องว่างระหว่างเม็ดดินทำให้การระบายน้ำ และอากาศไม่ดี

       15.3 เตรียมดินโดยใช้ไถหัวหมูสลับกันบ้าง เพื่อให้ความลึกของรอยไถไม่อยู่ระดับเดิมซ้ำอยู่เสมอๆ

       15.4 ไม่เผาใบอ้อย เพราะเป็นการทำให้อินทรียวัตถุหมดไปอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้การที่มีใบอ้อยคลุมดินจะช่วยลดการกดทับขอรถบรรทุกและรถตัดอ้อย

       15.5 ควรเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดิน เช่นการใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก หรือเศษเหลือจากโรงงานน้ำตาล เช่น กากชานอ้อย (bagasse) หรือกากตะกอนหม้อกรอง (Filter cake)

       15.6 การใช้ปุ๋ยพืชสด ทำการปลูกพืชตระกูลถั่วแล้วไถกลบก่อนปลูกอ้อย เมื่ออ้อยตอ 3 ผลผลิตอ้อยลดลงแล้วจะทำการไถรื้อตอ แล้วหว่านเมล็ดถั่วพร้าหรื่อถั่วมะแฮะ ทิ้งไว้ประมาณ 2 เดือน หรื่อเมื่อถั่วออกดอกจากนั้นจึงใช้จอบหมุนตีกลบทิ้งไว้ประมาณ 1 เดือน เพื่อให้ต้นถั่วสลายตัว ปลดปล่อยธาตุอาหารออกมา แล้วจึงทำการเตรียมดินปลูกอ้อยตามปกติ ซึ่งพบว่าอ้อยมีการเจริญเติบโตสม่ำเสมอดีมาก

        การใช้ปุ๋ยกับอ้อย

       การใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน

รายการวิเคราะห์

อัตราปุ๋ยที่ใส่

ต้นทุนการใช้ปุ๋ย (บาท)

อ้อยปลูก

อ้อยตอ

อ้อยปลูก

อ้อยตอ

1)อินทรียวัตถุ (%)

< 1.0

1.0-2.0

> 2.0

 

ปุ๋ย N 12 กก./ไร่

ปุ๋ย N 12 กก./ไร่

ปุ๋ย N 6 กก./ไร่

 

ปุ๋ย N 18 กก./ไร่

ปุ๋ย N 18 กก./ไร่

ปุ๋ย N 12 กก./ไร่

 

427

427

427

 

645

645

854

2)ฟอสฟอรัส

(P, มก./กก.)

< 15

15-30

> 30

ปุ๋ย P2O5 6 กก./ไร่

ปุ๋ย P2O5 6 กก./ไร่

ปุ๋ย P2O5 3 กก./ไร่

 

ปุ๋ย P2O5 9 กก./ไร่

ปุ๋ย P2O5 9 กก./ไร่

ปุ๋ย P2O5 6 กก./ไร่

 

239

239

239

368

368

478

3)โพแทสเซียม

(K, มก./กก.)

< 60

60-90

> 90

ปุ๋ย K2O 12 กก./ไร่

ปุ๋ย K2O 12 กก./ไร่

ปุ๋ย K2O 6 กก./ไร่

 

 

ปุ๋ย K2O 18 กก./ไร่

ปุ๋ย K2O 18 กก./ไร่

ปุ๋ย K2O 12 กก./ไร่

 

202

202

101

303

303

202

การใช้ปุ๋ยตามลัษณะเนื้อดิน

เนื้อดิน

ปริมาณธาตุอาหารที่แนะนำ

ต้นทุนการใช้ปุ๋ย

อ้อยปลูก

อ้อยตอ

อ้อยปลูก

อ้อยตอ

1.ดินทราย

ดินร่วนทราย

15-7-18

15-7-18

20-8-20

20-8-20

868

868

1316

1316

2.ดินเหนียว

ดินร่วนเหนียว

15-7-18

15-7-18

20-8-20

20-8-20

767

767

1736

1736

 

  • มันสำปาหลัง

       มันสำปะหลังเป็นพืชเศษฐกิจพิชหนึ่งที่สำคัญของโลก เพราะเป็นแหล่งผลิตคาร์โบไฮเดรตสูงสุดเป็นพืชที่สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินแทบทุกชนิด ตั้งแต่ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ซึ่งพืชชนิดอื่นเจริญเติบโตไม่ดีกระทั่งดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง มันสำปะหลังเจริญเติบโตได้ไม่ดีในดินเค็ม และดินน้ำแช่ขังนานๆ มันสำปะหลังเป็นพืชทนแล้ง และเป็นพืชที่มีโรคแมลงทำลายน้อย

       แหล่งปลูกมันสำปะหลังของไทยส่วนใหญ่เป็นดินทราย ดินร่วนทราย มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ มีพื้นที่เพาะปลูกประมาณ 6.74 ล้านไร่ ให้ผลผลิตประมาณ 18-19 ล้านตัน และนำรายได้ประเทศปีละมากกว่า 3 หมื่นล้านบาท  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีการเพาะปลูกมันสำปะหลังมากที่สุดในพื้นที่ 3.56 ล้านไร่ คือประมาณร้อยละ 53 ของประเทศ ได้ผลผลิตประมาณ 9.40 ล้านตัน (ปี 2546) และผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ 2.25 ตัน

       งานวิจัยใช้ปุ๋ยมัยมันสำปะหลังเริ่มตั้งแต่ปี 2497 ในสภาพธรรมชาติเป็นปรกติ ดินมีความอุดมสมบูรณ์ดีการตกกระจายของฝนถูกต้องตามฤดูกาล การเพาะปลูกมันสำปะหลังได้รับผลตอบแทนสูง เพราะมันสำปะหลังซึ่งเป็นพันุ์ดั้งเดิมมีการเจริญเติบโตสมบูรณ์ดี มีการทดลองวิจัยเพื่อทราบประสิทธิภาพของปุ๋ย แถบจังหวัดชลบุรี ระยอง ซึ่งเป็นดินทราย ดินร่วนทราย และดินร่วนเหนียวปนทราย มันสำปะหลังมีการตอบสนองต่อปุ๋ยต่ำเพียงร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ซึ่งการวิจัยครั้งนี้มีคำแนะนำการใช้ปุ๋ยกับมันสำปะหลังอัตรา 8-8-4 กก./ไร่ ต่อจากนั้นอีกประมาณ 10-15 ปี ได้รับความร่วมมือช่วยเหลือจากต่างประเทศ โดยเฉพาะองค์การอาหารและเกษตรแห้งสหประชาชาติ (FAO) เพื่อเก็บข้อมูลดินและการตอบสนองต่อปุ๋ยของมันสำปะหลัง โดยทดลองใช้ปุ๋ยสัดส่วนต่างๆ ของธาตุอาหาร NPK มีการใช้ปุ๋ยอัตรา 8-8-4 กก./ไร่ เป็นหลัก แถบภาคตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือ ผลการวิจัยได้คำแนะนำการใช้ปุ๋ยกับมันสำปะหลังอัตรา 8-8-8 กก./ไร่พบการตอบสนองต่อปุ๋ยซึ่งเป็นตัวชี้สถานะความอุดมสมบูรร์ของดิน มีศักยภาพในการผลิตแตกต่างๆ กันในดิน 3 ชุดดินหรือชุดดินวาริน> ชุดดินโคราช> ชุดดินยโสธร

       ทางด้านการต้องการธาตุอาหาร พบว่ามันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 1 ดูดกินธาตุอาหาร N และ K2O เท่ากับ 15.2(49%) และ 12.4(40%) กก./ไร่ ตามลำดับ ขณะดูดกิน P2O5 เพียง 3.6 (11%) กก./ไร่

       การศึกษาวิธีการใส่ระยะและอัตราปุ๋ยที่เหมาะสมเพื่อประสิทธิภาพสูงสุดและต้นทุนต่ำจากการใช้ปุ๋ยเคมีพบว่า การใส่ปุ๋ยทั้งหมดครั้งเดียวในหลุมที่เจาะสองข้างลำต้นและกลบปุ๋ย ใส่เมื่ออายุ 1-3 เดือนหลังปลูกเหมาะสมที่สุด ใช้ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต (21-0-0) อัตรา 8-24 กก.N/ไร่ ใช้ปุ๋ยทริปเปิลวูเปอร์ฟอสเฟต (0-46-0) อัตรา 8-16 P2O5 ต่อไร่ และใช้ปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์ (0-0-60)อัตรา 8-16 กก.K2O ต่อไร่ เหมาะสมและพบว่าปฏิกิริยาสัมพันธุ์ของ N:K ที่เหมาะสมเท่ากับสัดส่วน 1:1 ถึง 1:2

       คำแนะนำการใช้ปุ๋ยกับมันสำปะหลัง

       1.ใช้ปุ๋ยเคมีอัตรา 16-8-16 กก./ไร่ ใส่ปุ๋ยสองข้างต้นมันสำปะหลังและกลบปุ๋ยครั้งเดียวหลังปลูก 1-3 เดือนหรือหลังกำจัดวัชพืชครั้งแรก เมื่อดินมีความชื้นพอเหมาะ

        2. เพื่อการผลิตมันสำปะหลังอย่างยั่งยืนด้วยการใช้ปุ๋ยผสมผสานของปุ๋ยเคมีอัตรา 16-8-16 กก./ไร่ ร่วมกับใช้ปุ๋ยอินทรีย์ 1-2 ตัน/ไร่ หรือร่วมกับปุ๋ยคอก 500 กก./ไร่และการป้องกันชะล้างหน้าดินเมื่อพื้นที่ดินมีความลาดเอียด 6-8% และเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยเคมีจึงแนะนำให้ใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน

การใช้ปุ๋ยกับมันสำปะหลัง

1.1 การใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน

รายการวิเคราะห์

อัตราปุ๋ยที่ใส่

ต้นทุนการใช้ปุ๋ย (บาท)

1. อินทรียวัตถุ (OM,%)

<1

1-2

>2

 

ปุ๋ย N 16 กก./ไร่

ปุ๋ย N 16 กก./ไร่

ปุ๋ย N 16 กก./ไร่

 

570

285

142

2. ฟอสฟอรัส (P, มก./กก.)

<7

7-30

>30

 

ปุ๋ย P2O5 8 กก./ไร่

ปุ๋ย P2O5 4 กก./ไร่

ปุ๋ย P2O5 0 กก./ไร่

 

313

156

0

3.โพแทสเซียม (K, มก./ไร่)

<30

30-60

>60

 

ปุ๋ย K2O 16 กก./ไร่

ปุ๋ย K2O 8 กก./ไร่

ปุ๋ย K2O 4 กก./ไร่

 

274

137

68

 

1.2 การใช้ปุ๋ยตามลักษณะเนื้อดิน

ลักษณะเนื้อดิน

อัตราปุ๋ยที่ใช้

N- P2O5- K2O

(กก./ไร่)

สูตรปุ๋ย

อัตราปุ๋ย

(กก./ไร่)

ต้นทุนการใช้ปุ๋ย

(บาท)

ดินทราย

16-8-16

15-7-18

100

963

ดินร่วนทราย

16-8-16

15-7-18

100

963

ดินร่วนเหนียว

8-4-8

15-7-18

50

481

ดินเหนียวเป็นกรด

4-4-8

15-15-15

30-40

376-502

 

 

       วิธีการใส่ปุ๋ย

       1. ใช้ปุ๋ยเคมีอัตรา 16-8-16 กก./ไร่ ใส่สองข้างต้นมันสำปะหลังระยะปลูก 11 เมตร หรือ 10.80 เมตร แล้วกลบปุ๋ยครั้งเดียวหลังปลูก 1-3 เดือน หรือหลังกำจัดวัชพืชครั้งแรก เมื่อดินมีความชื้นพอเหมาะ

        2. เพื่อการผลิตมันสำปะหลังอย่างยั่งยืนใช้ปุ๋ยแบบผสมผสาน โดยใช้ปุ๋ยเคมีอัตรา 16-8-16 กก./ไร่ ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ 1-2 ตัน/ไร่ หรือร่วมกับการไถกลบซากต้นใบสด 3 ตัน/ไร่ หรือกับปุ๋ยคอก 500 กก./ไร่ และการป้องกันชะล้างหน้าดินเมื่อพื้นที่ดินมีความลาดเอียด 6-8 %

  • ข้าวโพด

       ข้าวโพดเป็นพืชที่มีฐานพันธุกรรมกว้างสามารถปรับตัวสภาพแวดล้อมทั้งดินและสภาพอากาศได้อย่างกว้างขวาง ข้าวโพดแบ่งออกได้หลายประเภทและเป็นพืชที่ความต้องการเพื่อการใช้ประโยชน์หลากหลาย ทั้งปลูกเพื่อใช้เมล็ดเป็นอาหารหลักของมนุษย์และสัตว์ หรือปลูกเพื่อทำเป็นอาหารสัตว์ทั้งชนิดต้นสด หญ้าหมักและหญ้าแห้ง ข้าวโพดส่วนใหญ่ ปลูกในเขตอากาศร้อนสามารถขึ้นได้ตั้งแต่ความสูงระดับน้ำทะเลตลอดจนถึงระดับความสูง 2,000-3,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล จากการจำแนกพื้นที่ปลูกข้าวโพดของ Trewartha และ Horn (1980) พบว่าข้าวโพดสามารถให้ผลผลิตสูงในสภาพภูมิอากาศกึ่งร้อน และเขตอบอุ่น พื้นที่ปลูกข้าวโพดที่สำคัญและมีศักยภาพให้ผลผลิตสูงจะมีอุณหภูมิในช่วงปลูกระหว่าง 23-27 องศาเซลเซียส ข้าวโพดไม่สามารถปลูกในสภาพพื้นที่ที่อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำกว่า 19 องศาเซลเซียส หรือในสภาพอุณหภูมิกลางคืนในช่วงฤดูปลูกข้าวโพดต่ำกว่า 13 องศาเซลเซียส โดยทั้วไปข้าวโพดมีความต้องการปริมาณน้ำฝนในช่วงฤดูปลูกประมาณ 450-600 มิลลิเมตร

         ข้าวโพดสามารถขึ้นได้ในดินเกือบทุกชนิดแต่จะให้ผลผลิตต่างกันในดินแต่ละชนิดที่เหมาะสมกับการปลูกข้าวโพดควรเป็นเนื้อดินร่วนเหนียวปนทราย ที่ง่ายต่อการเตรียมดินและการเก็บกักความชื้น ในสภาพดินเหนียวดินจะมีคุณสมบัติในการเก็บกักน้ำและมีอินทรียวัตถุสูงกว่าดินทราย แต่จะยากลำบากต่อการเตรียมดินและอาจเกิดภาวะน้ำท่วมขังได้ง่าย ดินที่เป็นทรายจัดจะขาดความอุดมสมบูรณ์และข้าวโพดมักขาดน้ำ ข้าวโพดสามารถเจริญเติบโตได้ดีในสภาพความลึกของหน้าดินประมาณ 60 เซนติเมตรและเป็นดินที่สามารถระบายน้ำได้ดี

       ข้าวโพดขึ้นได้ดีในดินที่มีค่า pH 4-9 และสามารถเจริญเติบโตได้ดีในสภาพ pH 5-8 ดินที่มีค่าความเป็นกรดหรือด่างสูงจะทำให้ธาตุอาหารเป็นพิษ เช่นในดิน pH 5 หรือต่ำกว่าอาจจะทำให้เกิดความเป็นพิษของธาตุอลูมินัม (AI) แมงกานีส (Mn) และเหล็ก (Fe) ถึงแม้ว่าข้าวโพดจะเป็นพืชที่ทนทานต่อสภาพดินกรดปานกลางก็ตาม แต่จะทำให้ผลผลิตของข้าวดพดลดลง ส่วนในดินที่มี pH สุงจะทำให้ธาตุฟอสฟอรัส (P) สังกะสี (Zn) และเหล็ก (Fe) ที่เป็นประโยชน์ต่อข้าวโพดลดลง จากการศึกษาจากนักวิชาการต่างๆ พบว่า pH ที่เหมาะสมกับการให้ผลผลิตที่ดี จะมีความเป็นกรดเล็กน้อย มีค่า pH อยู่ในช่วง 6-7 พื้นที่ปลูกข้าวโพดที่ดีไม่มีผลกระทบจากกระบวนการชะล้างพังทลาย ดินที่มีความลาดชันสูงทำให้มีความสูญเสียความอุดมสมบูรณ์จากหน้าดิน

       ในสภาพการปลูกข้าวโพดในภูมิอากาศเขตร้อนหรือเขตกึ่งร้อนพื้นที่ส่วนใหญ่จะอยู่ในเขตอาศัยน้ำฝนทำให้ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการปลูกและการให้ผลผลิตของข้าวโพดขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝนและการกระจายของฝนในช่วงฤดูปลูกข้าวโพดต้องการปริมาณแสงแดดมาก ฉะนั้นปลูกข้าวโพดในฤดูฝนที่ท้องฟ้ามีเมตครึ้มจะทำให้ผลผลิตของข้าวโพดต่ำกว่าการปลูกข้าวโพดในต้นฤดูฝนที่ท้องฟ้าแจ่มใสกว่า

        ความต้องการธาตุอาหารของข้าวโพด พบว่าธาตุไนโตรเจน (N) มีบทบาทสำคัญต่อข้าวโพดตลอดอายุการเจริญเติบโต ตั้งแต่ระยะการเจริญเติบโตแรกจนสร้างเมล็ด ระยะที่ปลูกข้าวโพดต้องการธาตุไนโตรเจนมากที่สุดคือระยะที่ข้าวโพดออกดอกตัวผู้และตัวเมีย จากการวิเคราะห์ทางเคมี พบว่าช่วงอายุข้าวโพดประมาณ 18-30 วัน และ 39-65 วัน ปริมาณดูดธาตุไนโตรเจนสูงถึง 7 กก./ไร่ และ 50 กก./ไร่ ตามลำดับ ดังนั้นในช่วงอายุการเจริญเติบโตหากปริมาณธาตุไนโตรเจนในดินมีไม่เพียงพอจะมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวโพดธาตุอาหารฟอสฟอรัส นับเป็นธาตุอาหารที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของข้าวโพดไม่น้อยไปกว่าธาตุไนโตรเจน จากการศึกษาว่าข้าวโพดตอบสนองต่อปุ๋ยฟอสฟอรัสตลอดฤดูปลุกเช่นกัน แต่มีความต้องการในระยะเริ่มแรกมากกว่าระยะอื่นๆ อย่างไรก็ตามในระยะที่ข้าวโพดออกดอกตัวผู้และตัวเมีย ธาตุฟอสฟอรัสก็มีบทบาทสำคัญในการช่วยเสริมสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้กับต้นและเมล็ดเช่นกันและพบว่าการดูดใช้ธาตุฟอสฟอรัสจากดินของรากข้าวโพดจะเพิ่มขึ้นกระทั่งเมื่อรากเจริญเติบโตเต็มที่ ฉะนั้นจากเหตุดังกล่าวจึงแนะนำให้ใส่ปุ๋ยฟอสเฟตทั้งหมดตั้งแต่ตอนปลูก

       โพแทสเซียมเป็นธาตุอาหารอีกชนิดหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างความเจริญเติบโตและความแข็งแรงของลำต้นและการสร้างเมล็ดแต่ในสภาพดินปลูกข้าวโพดมีธาตุดังกล่าวอยู่สูง จึงมักไม่พบว่าธาตุนี้มีปัญหาต่อการเจริญเติบโตของข้าวโพด จากเอกสารพบว่าหนึ่งในสามของธาตุโพแทสเซียมนี้ข้าวโพดจะนำไปใช้ในการสร้างเมล็ด และที่เหลือสองในสามจะอยู่ในลำต้นเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งในที่สุดจะถูกไถกลบลงสู่ดินตามเดิม

       การใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินกับข้าวโพดสีเหลืองและข้าวโพดฝักสดเป็นแนวทางเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยทำให้สามารถลดปริมาณปุ๋ย N, P และ K ลง หรือทำให้ประหยัดค่าปุ๋ยเคมี

 

 

 

 

 

 

 

การใช้ปุ๋ยกับข้าวโพด

       21.ข้าวโพดสีเหลือง

              2.1.1 การใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน

รายการวิเคราะห์

อัตราปุ๋ยที่ใส่

ต้นทุนการใช้(บาท)

1) อินทรียวัตถุ (OM,%)

<1

1-2

>2

 

ปุ๋ย N 20 กก./ไร่

ปุ๋ย N 15-10 กก./ไร่

ปุ๋ย N 5-10 กก./ไร่

 

ใส่ปุ๋ย N 2-3 ส่วนรองก้นร่องตอนปลูกและส่วนที่เหลือใส่เมื่อข้าวโพด อายุได้ 30 วัน

2.) ฟอสฟอรัส (P,มก./กก)

<10

10-15

>15

 

ปุ๋ย P2O510 กก./ไร่

ปุ๋ย P2O510-5 กก./ไร่

ปุ๋ย P2O55-0 กก./ไร่

 

ใส่รองก้นร่องตอนปลูก

3) โพแทสเซียม (K, มก./กก)

<60

60-100

>100

 

ปุ๋ย K2O 10 กก./ไร่

ปุ๋ย K2O 10-5 กก./ไร่

ปุ๋ย K2O 5-0 กก./ไร่

 

 

ใส่รองก้นร่องตอนปลูก

 

2.1.2 การใช้ปุ๋ยตามลักษณะดิน

ลักษณธเนื้อดิน

ปริมาณธาตุอาหารแนะนำ

N-P2O5-K2O

(กก./ไร่)

สูตรปุ๋ย

ที่แนะนำ

วิธีการใส่ปุ๋ย

ดินเหนียวสีดำ

ดินร่วนเหนียวสีน้ำตาล

10-10-0

16-20-0

ใส่ปุ๋ยสูตร 20-20-0 อัตรา 50 กก./ไร่ รองก้นร่องตอนปลูก

ดินเหนียวสีแดง

ดิยร่วนเหนียว

15-10-0

16-20-0

ใส่ปุ๋ยสูตร 20-20-0 อัตรา 50 กก./ไร่ รองก้นร่องตอนปลูก และใส่ปุ๋ยยูเรีย อัตรา 11 กก./ไร่ เมื่อข้าวโพดอายุได้ 30 วัน

ดินร่วนปนทราย

 

15-15-15

หรือ

(16-16-16)

ร่วมกับ

30-0-0

ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 อัตรา 50 กก./ไร่ รองก้นร่องตอนปลูก และใส่ปุ๋ยยูเรีย อัตรา 11 กก./ไร่ เมื่อข้าวโพดอายุได้ 30 วัน

       2.2 ข้าวโพดฝักสด

       2.2.1 การใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน

รายการวิเคราะห์

อัตราปุ๋ยที่ใส่

วิธีการใส่ปุ๋ย

1) อินทรียวัตถุ (OM,%)

<1

1-2

>2

 

ปุ๋ย N 30 กก./ไร่

ปุ๋ย N 20 กก./ไร่

ปุ๋ย N 15 กก./ไร่

 

ใส่ปุ๋ย N 2/3 ส่วนรองก้นตอนปลูกและส่วนที่เหลือ ใส่เมื่อข้าวโพดอายุ 30 วัน

2.) ฟอสฟอรัส (P,มก./กก)

<10

10-15

>15

 

ปุ๋ย P2O510 กก./ไร่

ปุ๋ย P2O5 10-5 กก./ไร่

ปุ๋ย P2O5 5-0 กก./ไร่

 

ใส่ปุ๋ย P รองก้นร่องตอนปลูก

 

3) โพแทสเซียม (K, มก./กก)

 

60-100

>100

 

ปุ๋ย K2O 10 กก./ไร่

ปุ๋ย K2O 10-5 กก./ไร่

ปุ๋ย K2O 5-0 กก./ไร่

 

ใส่ปุ๋ย K รองก้นร่องตอนปลูก

 

       2.2.2 การใช้ปุ๋ยตามลักษณะเนื้อดิน

ลักษณะเนื้อดิน

ปริมาณธาตุอาหารแนะนำ

N-P2O5-K2O

สูตรปุ๋ย

ที่แนะนำ

วิธีการใส่ปุ๋ย

ดินเหนียว

ดินร่วนเหนียว

25-7-7

16-8-8

ใส่ปุ๋ยสูตร 16-8-8 อัตรา 50 กก./ไร่ รองก้นร่องตอนปลูก และใส่ปุ๋ยยูเรีย อัตรา 44 กก./ไร่ เมื่อข้าวโพดอายุได้ 30 วัน

ดินทราย

25-7-7

15-15-15

ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 อัตรา 67 กก./ไร่ รองก้นร่องตอนปลูก และใส่ปุ๋ยยูเรีย อัตรา 44 กก./ไร่ เมื่อข้าวโพดอายุได้ 30 วัน

 

 

  • พืชตระกูลถั่ว (ถั่วเหลือง ถั่วเขียว และถั่วลิสง)

       พืชตระกลูถั่วที่จัดได้ว่าเป็นพืชเศรษฐกิจของเกษตรกร ได้แก่ ถั่วเหลือง ถั่วเขียว และถั่วลิสง แต่ปัญหาที่เกษตรกรผู้ปลูกถั่วส่วนใหญ่ประสบ คือ ไม่สามารถปลูกถั่วให้ได้ผลผลิตสูงแม้จะมีการใช้ปุ๋ยช่วยในปริมาณมากและผลผลิตที่ได้ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน เช่น ถั่วเหลือง ให้ผลผลิตเฉลี่ย 226 กก.ต่อไร่เท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบกับสหรัฐอเมริกาหรือบราชิลแล้วจะอยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่ามาก ทำให้การส่งเสริมการปลูกถั่วของไทยไม่ขยายตัวไปเท่าที่คาดหวังไว้และนับวันพื้นที่ปลูกถั่ว มีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆเช่นพื้นที่ปลูกถั่วเหลือง เดิมมีพื้นที่ปลูกมากกว่า 1.5 ล้านไร่ ปัจุจบันเหลือเพียงประมาณ 1.3 ล้านไร่ ทั้งๆ ที่ผลผลิตของถั่วเหลืองไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ภายในประเทศกล่าวคือ ปริมาณผลผลิตถั่วเหลืองมีประมาณ 300,000 ตันต่อปี หรือผลผลิตได้เพียงประมาณ ร้อยละ 20 ของความต้องการใช้ภายในประเทศนั้น ในแต่ละปีจึงต้องสั่งนำเข้าถั่วเหลืองจากต่างประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา บราชิล แคนาดา อาร์เจนตินา เป็นส่วนใหญ่จำนวนกว่า 1 ล้านตัน มูลค่ารวมกว่าหมื่นล้านบาท และมีแนวโน้วจะมีการสั่งนำเข้าเพิ่มขึ้นทุกๆ ปี

       ดังนั้นแนวทางในการที่จะเพิ่มผลผลิตและคุณภาพของพืชถั่วเศรษฐกิจต่างๆ โดยการใช้ปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียม คลุกกับเมล็ดถั่วก่อนปลูก เป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่ง ที่จะช่วยให้เกษตรกรประสบความสำเร็จได้ เพราะนอกจากช่วยเพิ่มคุณภาพของผลผลิต และลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรแล้ว ยังเป็นการประหยัดเงินตรา ที่จะรั่วไหลออกต่างประเทศ โดยประมาณว่าเกษตรกรใช้ได้ระดับหนึ่ง โดยประมาณว่าเกษตรกรใช้ปุ๋ยไนโตรเจนกับพืชตระกูลถั่วประมาณ 20-30 กก.ต่อไร่ (ปริมาณน้อยที่สุดที่ใช้) คิดเป็นเงินค่าปุ๋ยยูเรีย ที่เกษตรกรใช้ประมาณไร่ละ 240-360 บาท เมื่อคิดพื้นที่ปลูกถั่วทั้งหมด ที่มีประมาณ 4 ล้านไร่ จะเสียเงินในการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนเพื่อปลูกถั่วปีละประมาณ 960-1,400 ล้านบาท ถ้าหากเกษตรกรหันมาใช้ปุ๋ยชีวภาพ ไรโซเบียมแทนปุ๋ยไนโตรเจน จะช่วยลดต้นทุนการผลิต หรือลดการใช้ปุ๋ยได้ปีละ 960-1,400 ล้านบาท

       ไนโตรเจน เป็นธาตุอาหารหลักอันดับแรกของพืชที่มีความสำคัญในการสร้างความเจริญเติบโต และเพิ่มผลผลิตของพืช ซึ่งพืชตระกูลถั่วจัดได้ว่าเป็นแหล่งอาหารโปรตีนอีกชนิดหนึ่งสามารถนำมาใช้ทดแทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์ได้และไนโตรเจนเป็นส่วนประกอบที่สำคัญมากในการเปลี่ยนเป็นโปรตีน ที่สำคัญพบว่าดินโดยทั่วไป เช่น ดินทราย ดินร่วนทราย มักจะขาดธาตุไนโตรเจน อย่างไรก็ตามพืชตระกูลถั่ว จะมีจุลินทรีย์ชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ‘ไรโซเบียม’ ซึ่งเป็นจุลินทรีย์พวกแบคที่เรีย เมื่อไปสร้างปมที่รากถั่วแล้วจะมีคุณสมบัติพิเศษ คือสามารถดึงเอาก๊าชไนโตรเจนที่มีอยู่มากมายในอากาศ มาสร้างเป็นสารประกอบไนโตรเจนให้พืชตระกูลถั่วนำไปใช้ในการเจริญเติบโต เพิ่มผลผลิต และอาจมีบางส่วนที่เหลือจะถูกปลดปล่อยลงสู่ดิน หรือกล่าวได้ว่า ไรโชเบียมเปรียบเสมือนโรงงานสร้างปุ๋ยไนโตรเจนให้กับพืชตระกูลถั่วที่อาศัยนั่นเอง ดังนั้นถ้าใช้ปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียมที่มีประสิทธิถภาพกับถั่วนั้นๆ อย่างถูกต้อง รู้และเข้าใจเกี่ยวกับปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียมแล้ว ให้เกษตรกรมั่นใจได้ว่า ปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียม สามารถใช้ทดแทนปุ๋ยเคมีไนโตรเจนได้ 100%

       ในการใช้ปุ๋ยไรโซเบียมกับถั่วเหลืองพบว่าในเขตภาคเหนือที่มีการปลูกถั่วเหลืองมากที่สุดจะข่วยเพิ่มผลผลิตได้เฉลี่ยประมาณ ร้อยละ 12-20 ภาคกลาง เฉลี่ยประมาณ ร้อยละ 20-25 ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือผลผลิตเพิ่มมากที่สุดถึงร้อยละ 80-220 ทั้งนี้พบว่าในสภาพดินที่เลว หรือค่อนข้างเลว เช่น ดินร่วนทราย ดินทราย ดินที่เคยปลูกถั่วมาก่อนหรือปลูกแต่เลิกปลูกไปนานหลายปีมักมีปริมาณเชื้อไรโซเบียมน้อนหรือไม่มีเลย เมื่อปลูกถั่วจะทำให้การเจริญเติบโตได้ไม่ดีให้ผลผลิตต่ำ แต่เมื่อใช้ปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียมที่มีประสิทธิภาพจะทำให้ถั่วเจริญเติโตได้ดีมีความสมบูรณ์ให้ผลผลิตสูงและผลผลิตมีคุณภาพดี

       ทำไมต้องใช้ปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียม

       ดังที่กล่าวมาแล้วพืชตระกูลถั่วเป็นพิชที่มีปริมาณโปรตีนสูงมากชนิดหนึ่ง โดยเฉพาะถั่วเหลือง จะมีโปรตีน ประมาณ 40%  และการที่มีโปรตีนสูง ถั่วเหลืองจึงมีความต้องการธาตุไนโตรเจนสูงด้วย ถ้ามีการใช้ปุ๋ยชีวภาพ ไรโซเบียมโดยเกษตรกรใช้ปุ๋ยเคมีอย่างเดียว และปลูกในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ คือ ดินทราย ดินร่วน เป็นต้น หากใช้ปุ๋ยเคมีในปริมาณที่น้อยเกินไปโดยเฉพาะไนโตรเจนแล้วพิชตระกูลถั่วมักจะให้ผลผลิตที่ต่ำการใช้ปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียมจะช่วยเพิ่มผลผลผลิตให้สูงขึ้นและผลผลิตที่ได้มีคุณภาพดีอีกด้วย

       ไรโซเบียม เป็นขุลินทรีย์ดินชนิดหนึ่งซึ่งขจำนวนของไรโซเบียมที่มีอยู่ในดินเดิมอาจจะมีมากน้อยแตกต่างกันไป หรือไม่มีเลยขึ้นอยู่กับชนิดของดิน สภาพดิน และชนิดของไรโซเบียม ดินที่ไม่เคยปลูกถั่วหรือดินร่วนทรายอาจจะไม่มีหรือมีไรโซเบียมเดิมในดินน้อยมากและไรโซเบียมที่มีอยู่เดิมนั้นอาจไม่สามารถตรึงไนโตรเจน หรือตรึงไนโตรเจนได้น้อยไม่เพียงพอกับความต้องการของถั่วชนิดนั้นๆ ปัจจุบันเทคโนโลยีด้านปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียมได้มีการพัฒนาขึ้นมาก มีการคัดเลือกไรโซเบียมที่มีประสิทธิภาพสูงและเหมาะสมกับถั่วชนิดนั้นๆ ผลิตเป็นปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียมในรูปแบบต่างๆ เช่น เป็นผง เป็นเม็ด หรือเป็นของเหลว เพื่อให้เกษตรกรนำไปใช้คลุกกับเมล็ดถั่วก่อนปลูกนอกจากช่วยเพิ่มผลผลิตและคุณภาพของถั่วแล้ว ยังช่วยลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรอีกด้วยโดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียมร่วมกับปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน

การใช้ปุ๋ยกับพืชตระกูลถั่ว

       4.1 การใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน

รายการวิเคราะห์

อัตราปุ๋ยเคมีที่ใส่ (กก./ไร่)

ต้นทุนการใช้ปุ๋ยเคมี (บาท/ไร่)

ใช้ปุ๋ยชีวิภาพ

ไรโซเบียม

ไม่ใช้ปุ๋ยชีวิภาพ

ไรโซเบียม

ใช้ปุ๋ยชีวิภาพ

ไรโซเบียม

ไม่ใช้ปุ๋ยชีวิภาพ

ไรโซเบียม

1.อินทรียวัตถุ (OM,%)

<1

1-2

>2

 

ปุ๋ย N 0-3 กก./ไร่

ปุ๋ย N 0 กก./ไร่

ปุ๋ย N 0 กก./ไร่

 

ปุ๋ย N 12-20 กก./ไร่

ปุ๋ย N 9-15 กก./ไร่

ปุ๋ย N 6-10 กก./ไร่

 

0-81

0

0

 

323-539

242-404

162-270

2.ฟอสฟอรัส

(P, มก./กก)

<8

8-12

>12

 

 

ปุ๋ย P2O5 9 กก./ไร่

ปุ๋ย P2O5 6 กก./ไร่

ปุ๋ย P2O5 3 กก./ไร่

 

 

360

240

120

3..โพแทสเซียม

(K,มก./กก)

<40

40-80

>80

 

 

ปุ๋ย K2O 6 กก./ไร่

ปุ๋ย K2O 3 กก./ไร่

ปุ๋ย K2O 0 กก./ไร่

 

 

100

50

0

 

ลักษณะเนื้อดิน

ใช้ปุ๋ยชีวิภาพไรโซเบียม

ไม่ใช้ปุ๋ยชีวิภาพไรโซเบียม

ใส่ปุ๋ยเคมี

ราคาต้นทุนปุ๋ยเคมี

(บาท/ไร่)

ใส่ปุ๋ยเคมี

ราคาต้นทุนปุ๋ยเคมี

(บาท/ไร่)

ดินเหนียว

ดินร่วนเหนียว

ดินเหนียวปนทราย

แป้ง

ดินเหนียวปนทราย

ใส่ปุ๋ย อัตรา 0-6-3 N-P2O5-K2O กก./ไร่ หรือใส่ปุ๋ยสูตร 16-16-8 อัตรา 25 กก./ไร่ (หรือใส่ปุ๋ยสูตร 18-46-0 อัตรา 15 กก./ไร่ ร่วมกับ ปุ๋ยสูตร 0-0-60 อัตรา 5 กก./ไร่)

 

 

 

405 หรือ 420

ครั้งแรก ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-8 อัตรา 30-40 กก./ไร่

ครั้งที่สอง ใส่ปุ๋ยสูตร 30-0-0 อัตรา 20 กก./ไร่

381-508 หรือ 343-458

 

 

248

ดินทราย

ดินร่วนทราย

ดินทรายร่วน

ใส่ปุ๋ย อัตรา 0-9-6 N-P2O5-K2O กก./ไร่ หรือใส่ปุ๋ยสูตร 8-24-24 อัตรา 30 กก./ไร่

 

405 หรือ 420

ครั้งแรก ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-8 อัตรา 40-50 กก./ไร่

ครั้งที่สอง ใส่ปุ๋ยสูตร 30-0-0 อัตรา 25 กก./ไร่

508-635 หรือ 458-573

 

 

310

 

ใส่ปุ๋ยครั้งแรก พร้อมปลูกโดยโรยก้นร่อง หรือข้างแถวปลูกแล้วพรวนกลบ

ใส่ปุ๋ยครั้งที่สอง เมื่อต้นถั่วเหลือง และถั่วลิสง อายุ ประมาณ 30 วัน ถั่วเขียว อายุประมาณ 20 วัน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

      

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Tags : การใช้ปุ๋ย 5 นางฟ้าทรงฉัตรกับพืชไร่

view