www.Stats.in.th
  สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com

การใส่ปุ๋ยสับปะรด

การใส่ปุ๋ยสับปะรด

การใส่ปุ๋ยสับปะรด

                พันธุ์  สายพันธุ์สับปะรดที่มีอยู่ 7 สายพันธุ์ พันธุ์ปัตตาเวีย หรือเรียกว่า สับปะรดศรีราชา พันธุ์อินทรชิต เป็นสับปะรดพันธุ์พื้นเมือง พันธุ์ขาว พันธุ์ภูเก็ต หรือ พันธุ์สวี พันธุ์นางแล หรือ พันธุ์น้ำผึ้ง พันธุ์ตราดสีทอง พันธุ์ภูแล

                การเตรียมดิน   พื้นที่เคยปลูกสับปะรด ให้ไถสับใบและต้น ทิ้งไว้ประมาณ 2 – 3 เดือน แล้วไถกลบ ไถ 1 ครั้ง ตากดิน 7 – 10 วัน พรวน 1 – 2 ครั้ง ยกแปลงสูง 15 เซนติเมตร แล้วทำแนว ปลูกสับปะรด ถ้าพื้นที่ลาดเอียงมากกว่า 3 เปอร์เซ็นต์ ตามที่ระบุในข้อ 1.1 ต้องทำร่องระบายน้ำรอบแปลงปลูก เพื่อป้องกันการชะล้างหน้าดิน  วิเคราะห์ดินก่อนปลูก และปฏิบัติตามคำแนะนำในแต่ละแหล่งปลูก โดยเฉพาะการจัดการอินทรียวัตถุในดิน

                วิธีปลูก การปลูกส่วนใหญ่มักจะใช้ระยะปลูกแตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์การปลูกเป็นแถวคู่ควรฝังหน่อให้ลึก 15-20 เซนติเมตร สำหรับการปลูกสับปะรดสามารถใช้หน่อหรือจุกปลูกก็ได้ แต่การปลูกด้วยหน่อจะให้ผลผลิตเร็วกว่า และสามารถหาพันธุ์ได้ง่ายกว่าการปลูกด้วยจุก ตอนเริ่มปลูกให้ขึงเชือกทำแนว ระยะปลูกก่อน จากนั้นให้ปลูกสับปะรดตามแนวที่วางไว้ โดยไม่จำเป็นต้องขึงเชือกทุกแถว เทคนิคที่ทำให้ปลูกสับปะรดได้เร็วคือ การใช้เสียมที่มีด้ามสั้นขุดดินขึ้นมา แล้วใช้มืออีกข้างหนึ่งจับหน่อเสียบลงไปปลูก

                การให้น้ำ ไม่จำเป็นต้องให้น้ำ ถ้ามีปริมาณน้ำฝนสม่ำเสมอตลอดฤดูฝน ในฤดูแล้งหรือฝนทิ้งช่วง ควรให้น้ำต้นสับปะรดที่กำลังเจริญเติบโตสัปดาห์ละ 1-2 ลิตรต่อต้น หลังใส่ปุ๋ยครั้งสุดท้าย ถ้าไม่มีฝนต้องให้น้ำเพื่อให้ต้นสับปะรดใช้ปุ๋ยให้หมดควรให้น้ำก่อนและหลังการออกดอกหยุดให้น้ำก่อนเก็บเกี่ยว 15-30 วัน

                การใส่ปุ๋ย หลังจากไถแปร ก่อนปลูกสับปะรด ควรใส่ปุ๋ยสารปรุงดินคุณภาพสูงตรา 5 นางฟ้าทรงฉัตรอัตรา 50-100 กิโลกรัมต่อไร่ โรยเป็นแถวตามแนวร่องปลูกเพื่อปรับปรุงดินกระตุ้นการออกราก หลังจากปลูกได้ 1-2 เดือนหรือระยะเริ่มออกราก ควรใส่ปุ๋ยสูตรที่ 30-0-0 อัตรา 1 ช้อนแกงต่อต้น ใส่โคนต้นแล้วพรวนดินกลบ หลังจากปลูกได้ 4-6 เดือนใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 อัตรา 1 ช้อนแกงต่อต้น ใส่บริเวณกาบใบล่างขณะกาบใบมีน้ำเพียงพอที่จะละลายปุ๋ย

                การเก็บผลผลิต เก็บเกี่ยวผลสับปะรดที่มีความสุกแก่ตามมาตรฐาน  ห้ามใช้สารเคมีทุกชนิดเร่งให้สับปะรดสุกก่อนกำหนด

                โรค   โรคผลแกนเกิดจากเชื้อรา 2 ชนิด โรคนี้จะพบมากในสับปะรดที่แก่จวนจะเก็บผลได้แล้ว สับปะรดที่ผ่านช่วงแล้งและร้อนเป็นระยะเวลานาน ๆ สลับกับฝนตกในช่วงผลใกล้จะแก่ จะเกิดโรคนี้ได้มาก รวมทั้งการใช้ปุ๋ยยูเรีย ติดต่อกันในอัตราที่สูงมีแนวโน้มทำให้เกิดโรคนี้ได้

                แมลง   เพลี้ยแป้ง เป็นแมลงตัวเล็กยาวประมาณ 3-4 มิลลิเมตร ลำตัวเป็นปล้องค่อนข้างสั้น มีขี้ผึ้งคล้ายผงแป้งสีขาวห่อหุ้มตัว และมีเส้นใยยื่นออกจากตัว ตัวเมียไม่มีปีก ตัวผู้มีปีก มักพบเป็นกลุ่มที่ซอกกาบใบ โดนต้นและลำต้น เมื่อบี้ตัวแมลงจะมีเมือกสีแดงคล้ายเลือดออกมา การทำลายโดยจะดูดกินน้ำเลี้ยงที่บริเวณโคนต้นและราก ถ้ามีการทำลายมาก ๆ ต้นและใบจะค่อย ๆ เหี่ยวแห้งอาจถึงตายได้ ทำให้ผลผลิต ลดลง ตัวพาหะของเพลี้ยแป้งคือ มดดำ ซึ่งจะคาบเพลี้ยแป้งมาปล่อยไว้ที่ต้นสับปะรด และอาศัยกินของเหลวที่เพลี้ยแป้งขับถ่ายออกมา

Tags : การใส่ปุ๋ยสับปะรด

view