www.Stats.in.th
  สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com

การใส่ปุ๋ยชมพู่

การใส่ปุ๋ยชมพู่

การใส่ปุ๋ยชมพู่

พันธุ์  พันธุ์ทั่วไป แก้มแหม่ม. กะหลาป๋า.   ซาลาเปา.   น้ำหอมหรือน้ำ  ดอกไม้.    พลาสติก.    สาแหรก พันธุ์นิยม     ทับทิมจันทร์.  ทูลเกล้า.   เพชรชมพูพล.  เพชรสายรุ้ง. เพชรสามพราน.

การเตรียมแปลงปลูก ใน การปลูกชมพู่สามารถปลูกได้ทั้งแบบยกร่องในที่ราบลุ่มภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก ซึ่งการปลูกแบบยกร่องนี้ส่วนหลังร่องกว้างประมาณ 3 เมตร  ร่องน้ำกว้าง 1 - 1.50 เมตร มีแนวชายร่องข้างละ 0.50 เซนติเมตร ซึ่งหลังยกร่องแล้วควรตากดินไว้ 1 เดือน แล้วจึงพลิกหน้าดินให้ดินล่างลงไปอยู่ด้านล่างและดินบนซึ่งถูกทับขณะขุด ร่องกลับมาอยู่ด้านบนตามเดิม ช่วงพลิกดินนี้เองชาวสวนสามารถทำการปรับสภาพดินโดยใส่ปูนขาวและใส่ปุ๋ยคอกลง ไปในดินได้เลย สำหรับพื้นที่ดอนควรไถพรวนพร้อมทำการปรับสภาพดินและใส่ปุ๋ยคอกไปเลย

การปลูก นำ ต้นพันธุ์ชมพู่ที่คัดเลือกไว้แล้ว นำมาถอดภาชนะเพาะชำออกแล้ว ตรวจดูว่ามีรากขดหรือไม่แล้วขยายรากออก หันทิศทางของกิ่งให้เหมาะสม แล้วฝังลงในดินในหลุมที่เตรียมไว้ โดยให้ระดับสูงกว่าระดับดินเดิมเล็กน้อย แล้วนำดินล้างมาเติมบนปากหลุมจนพูน แล้วอัดดินให้แน่นปักไม้และผูกเชือกยึดลำต้น พร้อมปักทางมะพร้าวพรางแสงในทิศทางตะวันออกและตะวันตก เสร็จแล้วรดน้ำให้ชุ่มทันที เพื่อป้องกันไม่ให้ต้นชมพู่ที่ปลูกใหม่เหี่ยวเฉาได้ หลังจากชมพูตั้งตัวได้แล้วจึงค่อยนำทางมะพร้าวออ

การให้น้ำ เนื่องจากชมพู่เป็นพืชชอบน้ำ ดังนั้นในการผลิตชมพู่จึงจำเป็นต้องมีการให้น้ำชมพู่อย่างสม่ำเสมอ วิธีการให้น้ำย่อมแตกต่างไปตามวิธีการปลูก และสภาพพื้นที่ซึ่งจำแนกออกเป็น 3 วิธี ใหญ่ ๆ ดังนี้

(1)  เรือ พ่นน้ำ วิธีนี้เป็นวิธีที่เหมาะสมสำหรับการให้น้ำในร่องสวนในที่ราบลุ่มภาคกลาง ภาคตะวันตกและภาคตะวันออก วิธีนี้ต้องคำนึงถึงความแรงน้ำที่จะพ่นออกมา ถ้าแรงเกินไปจะทำให้หน้าดินแน่นและเกิดการชะล้างปุ๋ยไปจากหน้าดิน

(2)  สาย ยาง วิธีนี้เหมาะสำหรับการปลูกชมพู่ในที่ดอนและเป็นสวนขนาดเล็ก เป็นวิธีที่สะดวกแต่ต้องคอยเปลี่ยนตำแหน่ง และหลุมปลูกเป็นระยะ ๆ ไป ต้องคำนึงถึงแรงดันน้ำและปริมาณที่ให้ โดยต้องคำนึงถึงการชะล้างที่อาจจะเกิดที่บริเวณหน้าดินได้

การใส่ปุ๋ย แบ่งเป็น 3 ครั้ง ครั้งแรกบำรุงลำต้น กิ่ง ใบ เป็นหลัก ควรใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 1-2 กำมือ ครั้งที่สองช่วงเร่งตาดอก โดยใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 8-24-24 เพื่อให้การติดดอกติดผลดีขึ้น อัตรา 1-2 กำมือ  และครั้งที่ 3 หลังจากการห่อผลแล้วจะใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 8-24-24 อีกครั้งเพื่อช่วยให้ผิวชมพู่สีแดงเป็นมันและมีรสชาติอร่อย อัตรา 1-2 กำมือ

การเก็บเกี่ยว และการจัดการผลชมพู่หลังการเก็บเกี่ยวหลังจากชมพู่อายุพร้อมที่จะเก็บเกี่ยว คือ มีอายุ วันผลเต่งอวบ สีซีด ในบางพันธุ์มีสีขาว บางพันธุ์มีสีแดงหรือชมพู ผิวเป็นมันเงา มีความหวานสูง เกษตรกรควรทำการเก็บ หากทิ้งไว้เกินอายุการเก็บเกี่ยว จะทำให้ผลชมพู่แตกหรือร่วงเสียหายได้ การเก็บควรใช้กรรไกรตัดขั้ว จะสะดวกและรวดเร็วการเก็บนั้นเกษตรกรควรเก็บมาทั้งถุงที่ห่อชมพู่แล้วใส่เข่งที่กรุด้วยกระสอบปุ๋ย เพื่อป้องกันความคมของภาชนะที่จะทำให้ผิวชมพู่บอกช้ำได้ จากนั้นจึงนำผลชมพู่มายังโรงพักผลผลิต แล้วทำการคัดเลือกชมพู่

โรคละแมลง สำหรับโรคที่สำคัญที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ชมพู่ได้แก่โรคแอนแทรคโนส เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อรา อาจพบเมือกสีแสดด้วย แมลงศัตรูชมพู่ แมลงค่อมทอง  ด้วงม้วนใบ เพลี้ยไฟ  แมลงวันทอง

Tags : การใส่ปุ๋ยชมพู่

view