www.Stats.in.th
  สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com

การใส่ปุ๋ยถั่วเหลือง

  • ถั่วเหลือง

       การผลิตเมล็ดพันธุ์เป็นขั้นตอนต่อเนื่องจากงานปรับปรุงพันธุ์ การผลิตเมล็ดพันธุ์โดยเฉพาะถั่วเหลืองให้มีคุณภาพดีนั้นทำได้ยากเนื่องจากถั่วเหลืองเป็นพืชที่ได้รับผลกระทบสภาพแวดล้อมต่างๆ ได้ง่าย มีผลทำให้คุณภาพของเมล็ดถั่วลดลง การผลิตเมล็ดถั่วเหลืองมีขั้นตอนที่ต้องระมัดระวังเอาใจใส่ทุกขั้นตอน โดยธรรมชาติของการผลิตเมล็ดพันธุ์พันธุ์พืชถ้าไม่มีการคัดเลือกหรือไม่มีวิธีการผลิตเมล็ดพันธุ์ให้ถูกต้องตามหลักวิชาการแล้ว เมล็ดพันธุ์ที่ได้จะมีคุณภาพลดลงเรื่อยๆ เป็นสาเหตุให้เกษตรกรได้ผลผลิตลดลง ตลอดจนทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น ดังนั้นงานผลิตเมล็ดพันธุ์จึงเป็นงานที่สำคัญมากและเป็นงานที่ถึงมือเกษตรกรโดยตรง

       พันธุ์ถั่วเหลือง

       ถั่วเหลืองพันธุ์รับรองหรือพันธุ์แนะนำของกรมวิชาการเกษตรที่แนะนำให้เกษตรกรปลูกในปัจจุบันนี้มีหลายพันธุ์ พันธุ์เหล่านี้มีลักษณะแตกต่างกัน เช่น ต้านทานต่อโรคที่สำคัญเมล็ดพันธุ์มีความงอกดี มีอายุเก็บเกี่ยวสั้น เหมาะสำหรับปลูกในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน บางพันธุ์ปรับตัวตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมได้กว้างสามารถปลูกได้ทั้งภาคเหนือ และตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอื่นๆ ที่เป็นแหล่งปลูกถั่วเหลือง บางพันธุ์ปลูกได้เฉพาะเจาะจงกับพื้นที่ทั้งนี้จะขอแนะนำเฉพาะพันธุ์ที่มีการผลิตเมล็ดพันธุ์ของกรมวิชาการเกษตรในปัจจุบัน โดยแบ่งตามอายุเก็บเกี่ยวได้เป็น 2 กลุ่ม คือ พันธุ์อายุสั้น และพันธุ์อายุปานกลาง ดังนี้

 

 

พันธุ์อายุสั้น

พันธุ์อายุปานกลาง

1. นครสวรรค์ 1

1. สจ.5

2. เชียงใหม่ 2

2. เชียงใหม่ 60

3. ศรีสำโรง 1

3. ขอนแก่น

 

4. เชียงใหม่ 6

 

       1.ถั่วเหลืองพันธุ์อายุสั้น

      อายุเก็บเกี่ยว 75-85 วัน เหมาะสำหรับใช้ปลูกในระบบปลูกพืช ก่อนหรือหลังปลูกข้าว หรือปลายฤดูฝน ลำต้นไม่ทอดยอด ความสูง 30-50 เซนติเมตร จำนวน 3 พันธุ์ คือ พันธุ์นครสวรรค์1 เชียงใหม่2 และศรีสำโรง1 ซึ่งมีลายละเอียดของต่ละพันธุ์ดังนี้

       1.พันธุ์นครสวรรค์ 1

       ในปี 2523 สาขาน้ำมันพืช สถาบันวิจัยพืชไร่ ได้นำถั่วเหลืองพันธุ์โอซีบี เข้ามากจากต่างประเทศ แล้วนำไปปลูกศึกษาครั้งแรกที่ศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่ พบว่าถั่วเหลืองพันธุ์นี้อายุสั้นเมล็ดโต ผลผลิตสูงพอสมควร จึงได้นำเข้าเปรียบเทียบมาตรฐานพันธุ์ตั้งแต่ปี 2525-2526 ในหลายท้องที่ ปรากฏว่าถั่วเหลืองพันธุ์นี้เจริญเติบโตได้ดีและให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์ สจ.5 ในเขตภาคกลางที่จังหวัดนครสวรรค์และลพบุรี

       ลักษณะเด่น

       1. ให้ผลผลิตเฉลี่ย 258 กิโลกรัม/ไร่ (184-351 กิโลกรัม) ถ้าปลูกต้นฤดูฝนหรือกลางฤดูฝนจะให้ผลผลิตสูง

       2. เป็นพันธุ์อายุเก็บเกี่ยวสั้น

       3. เมล็ดมีขนาดใหญ่

      ลักษณะทางเกษตร

      อายุออกดอกนับจากวันงอกถึงวันที่ดอกบาน 50% ของต้นทั้งหมด 25-27 วัน

       อายุเก็บเกี่ยว นับจากวันงอกถึงวันที่ฝักแก่ 95% ประมาณ 73-76 วัน

       ลำต้น ความสูงเฉลี่ย 49 เซนติเมตรจำนวนข้อเฉลี่ย 9.5 ข้อ/ต้น แตกกิ่งเฉลี่ย 1 กิ่ง/ต้น

       ฝักและเมล็ด จำนวนฝักเฉลี่ย 21 ฝัก/ต้น จำนวนเมล็ดเฉลี่ย 2 เมล็ด/ฝัก

       พื้นที่แนะนำ เหมาะสำหรับปลูกในเขตภาคเหนือตอนล่าง และภาคกลางตอนบน ปลูกได้ทั้งต้นฤดูฝนและปลายฤดูฝน

       ข้อควรระวัง อ่อนแอต่อโรคราน้ำ

       การรับรองพันธุ์ กรมวิชาการเกษตรกรพิจารณาให้เป็นพันธุ์แนะนำ เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2529

       2. พันธุ์เชียงใหม่ 2

       ถั่วเหลืองพันธุ์เชียงใหม่ 2 ได้การผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์เชียง 60 กับพันธุ์ IAC 13 ที่นำเข้ามาจากประเทสบราซิล  ซึ่งเป็นพันธุ์ที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้น เมล็ดโต การเจริญเติบโตดี และลำต้นแข็งแรง ในปี 2530 ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่ เพื่อให้ได้สายพันธุ์ที่มีอายุเก็บเกี่ยวสั้น ปรับตัวตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมได้กว้างมีความต้านทานต่อโรคที่สำคัญในแต่ละฤดูปลูก

       ลักษณะเด่น

      1. ให้ผลผลิตเฉลี่ย 234 กิโลกรัม/ไร่(230-290 กิโลกรัม/ไร่)

       2. เป็นพันธุ์อายุสั้นมีอายุเก็บเกี่ยวเฉลี่ย 77 วัน

       3. เมล็ดพันธุ์มีความงอกดี

       4. มีความต้านทานต่อโรคน้ำค้าง ปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมได้กว้างปลูกได้ในทุกสภาพท้องถิ่น

       ลักษณะทางการเกษตร

       อายุออกดอก นับจากวันงอกถึงวันที่ออกดอกบาย 50% ของต้นทั้งหมด 31-35 วัน

       อายุเก็บเกี่ยว นับจากวันงอกถึงวันที่ฝักแก่ 95% ประมาณ 77 วัน

       ลำต้น ความสูงเฉลี่ย 49 ซม. จำนวนข้อเฉลี่ย 12 ข้อ/ต้น แตกกิ่งเฉลี่ย 2 กิ่ง/ต้น

       ฝักและเมล็ด จำนวนเฉลี่ย 30 ฝัก/ต้น จำนวนเมล็ดเฉลี่ย 2 เมล็ด/ฝัก น้ำหนัก 100 เมล็ดเฉลี่ย 15 กรัม

       พื้นที่แนะนำ สามารถปลูกได้ดีในทุกแหล่งปลูกถั่วเหลืองของประเทศ

       การรับรองพันธุ์  กรมวิชาการเกษตรพิจารณาให้เป็นเป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2541

       3. พันธุ์ศรีสำโรง 1

       ถั่วเหลืองพันธุ์ศรีสำโรง 1 คัดเลือกจากผสมข้ามพันธุ์ระหว่างลูกผสมเดี่ยวนครสวรรค์ 1/Pudua8008B และนครสวรรค์ 1/DM8032-1-9 ในปี 2535 ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักเขตร้อนแห่งเอเชีย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม และสถานนีทดลองพืชไร่ศรีสำโรง แล้วมีการผสมข้ามกับพันธุ์นครสวรรค์ 1 อีก 1 ครั้ง ปลูกคัดเลือกตั้งแต่ชั่วที่ 2-4 โดยเก็บเมล็ดจากแต่ละต้นเพียง 1 เมล็ด รวมกันปลูก หรือวิธี Single seed descent ในชั่วที่ 5-6 คัดเลือกต้นที่ดี ปลูกแบบต้นต่อแถวเพื่อสร้างสายพันธุ์บริสุทธิ์ สลร.ศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย ระหว่างปี 2536-2538 เพื่อให้ได้ลักษณะที่ต้านทานต่อโรคและให้ผลผลิตสูง ประเมินผลผลิตในเขตภาคเหนือตอนบน ภาคเหนือตอนล่าง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทั้งในศูนย์วิจัย สถานีทดลองและไร่เกษตรกร ตั้งแต่ปี 2538-2543 เป็นเวลา 6 ปี

       ลักษณะเด่น

      1. ให้ผลผลิตเฉลี่ย 291 กิโลกรัม/ไร่(229-377 กิโลกรัม/ไร่)

       2. มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้นไกล้เคียงกับพันธุ์นครสวรรค์ 1

       3. ต้านทานต่อโรคราน้ำค้างสภาพไร่ในเขตภาคเหนือตอนล่างดีกว่าพันธุ์นครสวรรค์ 1

       ลักษณะทางพฤกษาศาสตร์

      ลำต้น สีโคนต้นอ่อนสีม่วง ลักษณะต้นไม่ทอดยอด รูปแบบเจริญเติบโตไม่ทอดยอด

       ใบ รูปร่างใบย่อยกว้าง ขนาดของใบย่อยค่อนข้างใหญ่ สีใบ (ระยะออกดอกเต็มที่) สีเขียว ขนสีขาว

       ดอก สีม่วง

       ฝัก ฝักแก่สีน้ำตาล

       เมล็ด เปลือกเมล็ดแห้งสีเหลือง ขั้วเมล็ดแก่สีน้ำตาล รูปร่างเมล็ดแก่ค่อนข้างกลม

       ลักษณะทางเกษตร

       อายุออกดอก นับจากวันงอกถึงวันที่ดอกบาน 50% ของต้นทั้งหมด 26-28 วัน

        อายุเก็บเกี่ยว นับจากวันงอกถึงวันที่ฝักแก่ 95% ประมาณ 76-78 วัน

       ลำต้น ความสูงเฉลี่ย 49 ซม. จำนวนข้อเฉลี่ย 10 ข้อ/ต้น แตกกิ่งเฉลี่ย 1 กิ่ง/ต้น

       ฝักและเมล็ด จำนวนฝักเฉลี่ย 24 ฝัก/ต้น น้ำหนัก 100 เมล็ดเฉลี่ย 14.5 กรัม

       พื้นที่แนะนำ แนะนำให้ปลูกในเขตภาคเหนือตอนล่าง

       การรับรองพันธุ์ กรมวิชาการเกษตรพิจารณาให้เป็นพันธุ์แนะนำ เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2550

       2.ถั่วเหลืองพันธุ์อายุปานกลาง

       อายุเก็บเกี่ยว 86-112 วัน ส่วนใหญ่ลำต้นไม่ทอดยอด ความสูง 60-80 เซนติเมตร จำนวน 4 พันธุ์ คือ พันธุ์ สจ.5 เชียงใหม่ 60 ขอนแก่น และเชียงใหม่ 6 ซึ่งมีลายละเอียดแต่ละพันธุ์ ดังนี้

       1 พันธุ์ สจ.5

      พันธุ์ สจ.5 ได้จากการผสมระหว่างพันธุ์ Tainung 4 กับพันธุ์ สจ.2 ในปี 2513 ณ สถานีทอดลองพืชไร่แม่โจ้ (ปัจจุบัน คือ ศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่) ทำการคัดเลือกแบบสืบประวัติ (Pedigree selection) และประเมินผลผลิตในหลายท้องที่ มีการเจิญเติบโตและปรับตัวได้ดี ผลผลิตสูงสม่ำเสมอ

       ลักษณะเด่น

       1. ให้ผลผลิตเฉลี่ย 286 กิโลกรัม/ไร่ (256-327 กิโลกรัม/ไร่)

        2. ทนทานต่อโรคใบด่าง โรคราสนิม และโรคแอนแทรกโนส

       3. เมล็ดมีความงอกดี ทนต่อสภาพดินที่มีความชื้นสูงหรือดินแฉะ ในช่วงการปลูกได้มากกว่าพันธุ์เชียงใหม่ 60 ลำต้นแข็งแรง

       ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

       ลำต้น สีโคนต้นอ่อนสีม่วง ลักษณะต้นไม่ทอดยอด รูปแบบการเจริญเติบโตกึ่งทอดยอด

       ใบ รูปร่างใบย่อยกว้าง สีใบเขียว ขนสีน้ำตาลเข้ม

       ดอก สีม่วง

       ฝัก ฝักแก่สีน้ำตาลเข้ม

       เมล็ด เปลือกเมล็ดสีเหลือง ขั้วเมล็ดสีน้ำตาล รูปร่างเมล็ดเมล็ดค่อนข้างรี

       ลักษณะทางเกษตร

      อายุออกดอก นับจากวันงอกถึงวันที่ดอกบาน 50 % ของต้นทั้งหมด 34-36 วัน

       อายุเก็บเกี่ยว นับจากวันงอกถึงวันที่ฝักแก่ 95 % ประมาณ 60-96 วัน

       ลำต้น ความสูง 63-73 ซม. จำนวน 12-13 ข้อ/ต้น แตกกิ่ง 2-3 กิ่ง/ต้น

       ฝักและเมล็ด จำนวนฝัก 34-46 ฝัก/ต้น จำนวนเลม็ดเฉลี่ย 2 เมล็ด/ฝัก น้ำหนัก 100 เมล็ดหนัก 13.1-15.9 กรัม

       พื้นที่แนะนำ เป็นพันธุ์ที่แนะนำปลูกได้ทั่วไป เนื่องจากเป็นการคัดพันธุ์แบบปรับตัวได้กว้าง จึงใช้ปลูกได้ทั่วไปในแหล่งปลูกถั่วเหลืองของประเทศไทย

       ข้อควรระวัง หลีกเลี่ยงการใช้พันธุ์นี้ปลูกในเขตที่มีการระบาดของโรคใบจุดนูน

       การรับรองพันธุ์ กรมวิชาการเกษตรพิจารณาให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2523

       2.พันธุ์เชียงใหม่

      ถั่วเหลืองพันธุ์เชียงใหม่ 60 เป็นพันธุ์ที่ได้จากการผสมระหว่างพันธุ์ Williams ซึ่งมีลำต้นแข็งแรง จำนวนฝักต่อต้นมาก กับพันธุ์ สจ.4 ซึ่งเป็นพันธุ์รับรองที่ให้ผลผลิตสูงทนทานต่อโรคราสนิม

       ลักษณะเด่น

       1. ให้ผลผลิตเฉลี่ย 284 กิโลกรัม/ไร่(258-319 กิโลกรัม/ไร่)

        2. ทนทานต่อโรคราสนิม และทนทานต่อโรคราน้ำค้างปานกลาง ซึ่งดีกว่าพันธุ์ สจ.5

       3. สามารถปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมได้กว้าง เหมาะสำหรับใช้เป็นพันธุ์ ปลูกทุกสภาพท้องถิ่ง

       ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

       ลำต้น โคนต้นสีเขียวอ่อน ลักษณะลำต้นไม่ทอดยอด รูปแบบการเจริญเติบโตกิ่งทอดยอด แตกกิ่งน้อย

        ใบ รูปร่างใบย่อยกว้าง สีใบเขียว ขนสีน้ำตาลเข้ม

       ดอก สีขาว

       ฝัก สีของฝักแก่สีน้ำตาลเข้ม

       เมล็ด เปลือกเมล็ดสีเหลือง ขั้วเมล็ดสีน้ำตาล รูปร่างเมล็ดค่อนข้างกลม

       ลักษณะทางเกษตร

       อายุออกดอก นับจากวันงอกถึงวันที่ดอกบาน 50% ของต้นทั้งหมด 31-35 วัน

        อายุเก็บเกี่ยว นับจากวันงอกถึงวันที่ฝีกแก่ 90% ประมาณ 88-95 วัน

       ลำต้น ความสูง 55-65 ซม. จำนวนข้อ 12-13 ข้อ/ต้น แตกกิ่งน้อยเฉลี่ย 1 กิ่ง/ต้น น้ำหนัก 100 เมล็ด 14.5-15.6 กรัม

       พื้นที่แนะนำ 1.อ่อนแอต่อสภาพดินที่มีความชื้นสูงหรือมีน้ำขัง การปลูกในฤดแล้งเขตชลประทานควรให้น้ำก่อนปลูกไม่ควรปล่อยให้น้ำขังในหลุมปลูก เพราะทำให้เมล็ดเน่าได้ง่าย 2.เมล็ดเสื่อมความงอกเร็วถ้าเก็บในสภาพอุณหภูมิห้อง

       การรับรองพันธุ์ กรมวิชาการเกษตรพิจารณาให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2530

       3.พันธุ์ขอนแก่น

       เดิมมีชื่อว่า PB-HST เป็นพันธุ์ที่รวบรวมจากตลาดนิยมสร้างตนเองพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ในปี 2529 นำไปปลูกคัดเลือกให้มีความสม่ำเสมอทางพันธุกรรม ที่โครงการไร่นาตัวอย่างห้วยสีทน อำเภอเมือง กาฬสินธุ์ในปี 2530-2535 โดยได้สร้างสายพันธุ์ที่คงตัวทางพันธุกรรม จึงนำไปประเมินผลตามขั้นตอนปรับปรุงพันธุ์ ระหว่างปี 2535-2545

       ลักษณะเด่น

       ให้ผลผลิตเฉลี่ย 312 กิโลกรัม/ไร่(274-356 กิโลกรัม/ไร่) โดยให้ผลผลิตในฤดูแล้งสูงเฉลี่ย 356 กิโลกรัม/ไร่

       ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

       ลำต้น โคนสีม่วงอ่อน ลักษณะต้นไม่ทอดยอด รูปแบบการเจริญเติบโตกิ่งทอดยอด

       ใบ รูปร่างใบย่อยกว้าง สีใบเขียว ขนสีน้ำตาล

       ดอก สีม่วง

       ฝัก สีของฝักแก่สีน้ำตาลดำ

       เมล็ด เปลือกเมล็ดสีเหลือง สีขั้วเมล็ดสีน้ำตาลแดงเข้ม รูปร่างเมล็ดค่อนข้างรี

       ลักษณะทางเกษตร

      อายุออกดอก นับจากวันงอกถึงวันที่ดอกบาน 50% ของต้นทั้งหมด 35-40 วัน

       อายุเก็บเกี่ยว นับจากวันที่ฝักแก่ 95% ประมาณ 92-95 วัน

       ลำต้น ความสูงเฉลี่ย 53.7 เซนติเมตร จำนวนข้อเฉลี่ย 12.3 ข้อ/ต้น แตกกิ่ง 2-3 กิ่ง/ต้น

       ฝักและเมล็ด จำนวนฝักเฉลี่ย 36 ฝัก/ต้น น้ำหนัก 100 เมล็ด เฉลี่ย 15.0 กรัม

       ข้อควรระวัง ถั่วเหลืองพันธุ์ขอนแก่น จะให้ผลผลิตค่อนข้างแปรปรวนเมื่อปลูกในฤดูฝนที่มีการกระจายตัวของฝนไม่สม่ำเสมอ ส่งผลให้ผลผลิตลดต่ำลงกว่าการปลูกให้ฤดูแล้ง

       พื้นที่แนะนำ ถั่วเหลืองพันธุ์ขอนแก่น เป็นพันธุ์ที่เหมาะสมกับการปลูกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการปลูกในฤดูแล้งที่มีการให้น้ำเขตชลประทานซึ่งเป็นสภาพการปลูกส่วนใหญ่ของภาคนี้

       การรับรองพันธุ์ กรมวิชาการเกษตรพิจารณาให้เป็นพันธุ์แนะนำ เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2547

       4.พันธุ์เชียงใหม่ 6 ถั่วเหลืองพันธุ์เฉียงใหม่ 6 ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างสายพันธุ์ KUSL20004 ซึ่งต้านทานต่อโรคใบจุดนูน และให้ผลผลิตสูง กับพันธุ์เชียงใหม่ 5 ที่ต้านทานต่อโรคราสนิมสูง และต้านทานต่อโรคราน้ำค้าง ผสมพันธุ์คัดเลือกที่ศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่ ในปี 2538-2541 เปรียบเทียบกับพันธุ์ทดสอบในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือในปี 2542-2551

       ลักษณะเด่น

       1. ให้ผลผลิตเฉลี่ย 322 กิโลกรัม/ไร่(289-367กิโลกรัม/ไร่)

       2. ทนทานต่อโรคราสนิม และต้านทานต่อโรคราน้ำค้างสูงกว่าพันธุ์ สจ.5 และเชียงใหม่ 60 ให้สภาพธรรมชาติ

       3. สามารถปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมได้กว้าง เหมาะสำหรับใช้เป็นพันธุ์ ปลูกทุกสภาพท้องถิ่ง

        ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

       ลำต้น โคนสีม่วงอ่อน ลักษณะต้นไม่ทอดยอด รูปแบบการเจริญเติบโตกิ่งทอดยอด

       ใบ รูปร่างใบย่อยกว้าง สีใบเขียว ขนสีน้ำตาล

        ดอก สีม่วง

        ฝัก สีของฝักแก่สีน้ำตาลเข้ม

        เมล็ด เปลือกเมล็ดสีเหลือง สีขั้วเมล็ดสีน้ำตาลแดงเข้ม รูปร่างเมล็ดค่อนข้างกรม น้ำหนัก 1000 เมล็ด 13.5-14.8 กรัม

        ลักษณะทางเกษตร

       อายุออกดอก นับจากวันงอกถึงวันที่ดอกบาน 50% ของต้นทั้งหมด 33-36 วัน

        อายุเก็บเกี่ยว นับจากวันที่ฝักแก่ 95% ประมาณ 90-99 วัน

        ลำต้น ความสูงเฉลี่ย 66-67 เซนติเมตร จำนวนข้อเฉลี่ย 13-14 ข้อ/ต้น แตกกิ่ง 2 กิ่ง/ต้น

        ฝักและเมล็ด จำนวนฝักเฉลี่ย 33-39 ฝัก/ต้น น้ำหนัก 100 เมล็ด เฉลี่ย 13.5-14.8 กรัม

       พื้นที่แนะนำ ปรับตัวได้กว้าง สามารถปลูกให้ผลผลิตสูงในท้องที่ต่างๆ

        ข้อควรระวัง การปลูกไม่ควรเกิน 3 ต้นต่อหลุมถ้ามากเกินไปจะทำให้ต้นล้มผลผลิตต่ำ

        การรับรองพันธุ์ กรมวิชาการเกษตรพิจารณาให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2553

        ลักษณะประจำพันธุ์

       การปลูกและการดูแลรักษาถั่วเหลือง

       การปลูกถั่วเหลืองเพื่อผลผลิตเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพดีที่ประเทศไทยมีทั้งในฤดูแล้งและฤดูฝน ถั่วเหลืองฤดูแล้งส่วนใหญ่มีแหล่งปลูกในเขตชลประทาน และมีช่วงปลูกที่เหมาะสมหลังฤดูทำนาปี และถั่วเหลืองฤดูฝนมีพื้นที่ปลูกบนที่ดอนเริ่มปลูกในเดือนกรกฎาคม ถึงต้นเดือนสิงหารคม น้ำฝนและอุณหภูมิต่ำส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโต ผลผลิตและคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลือง ดังนั้นการปลูกในช่วงที่เหมาะสมจะช่วยให้ถั่วเหลืองเจริญเติบโต ให้ผลผลิตดี มีคุณภาพสูง

       1.การเตรียมดิน

       1.1 สภาพนา  พื้นที่ปลูกถั่วเหลืองนั้นควรเรียบสม่ำเสมอ ระบายน้ำออกได้ง่าย การเตรียมพื้นที่ในสภาพหลังนา ควรตัดตอซังข้าวแล้วควรทิ้งเศษฟางข้าวให้คงอยู่ให้แปลงนาแล้วขุดร่องน้ำรอบและผ่านแปลงนา ระยะระหว่างร่องน้ำประมาณ 3-5 เมตร เพื่อสะดวกต่อการให้น้ำและระบายน้ำออก หลังจากนั้นจึงปล่อยน้ำให้ท่วมแปลงประมาณครึ่งวันและระบายน้ำออก ตากดินไว้ 1-2 วัน ให้ดินหมาดไม่มีน้ำขังแฉะจึงหยอดเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลือง การให้น้ำครั้งต่อไปให้หลังจากถั่วเหลืองงอกแล้วโดยพิจารณาจากความชื้นในดิน

       1.2 สภาพไร่ เป็นการปลูกในฤดูฝน ให้ไถด้วยผาล 3 1 ครั้ง ลึก 15-20 ซม. ตากดินจนดินแห้ง 7-10 วัน พรวนด้วยผาล 7 1 ครั้ง แล้วคราดเก็บเศษซาก ราก เหง้า หัวและไหลของวัชพืชข้ามปีออกจากแปลง ปรับดินให้สม่ำเสมอ

       ถั่วเหลืองพันธุ์เชียงใหม่ 60 เป็นพันธุ์ที่มีปัญหาในด้านความงอกและความแข็งแรงการปลูกถั่วเหลืองพันธุ์เชียงใหม่ 60 จึงต้องระมัดระวังในการเตรียมพื้นที่ละการให้น้ำเป็นพิเศษ ไม่ควรมีน้ำขังแฉะและไม่ควรปลูกลึกกว่าปกติ

       2.ฤดูปลูกที่เหมาะสม

       ฤดูปลูกถั่วเหลืองหรือช่วงเวลาปลูกมีความสำคัญต่อการผลผลิตเมล็ดให้สำเร็จได้ตามเป้าหมาย

       2.1 ฤดูแล้ง ช่วงเวลาที่เหมาะสม คือตั้งแต่กลางเดือนพฤศจิกายนถึงกลางเดือนมกราคม แต่ถ้าสามารถปลูกได้รวดเร็ว โดยปลูกให้แล้วเสร็จก่อนเดือนธันวาคมจะได้ผลผลิตดีมาก ทั้งนี้เพราะสามารถหลีกเลี่ยงอากาศหนาวเย็นขนาดเริ่มงอกได้ ในช่วงการติดฝักสร้างเมล็ดอุณหภูมิไม่สูงมาก และที่สำคัญยิ่งอีกประการคือ เก็บเกี่ยวได้ก่อนฝนตกในช่วงต้นฤดูฝนเพราะถ้าถั่วเหลืองถูกฝนในระยะสุกแก่ถึงช่วงเก็บเกี่ยวจะทำให้ผลผลิตเสียหายและเมล็ดพันธุ์มีคุณภาพต่ำ

       2.2 ฤดูฝน ช่วงเวลาที่เหมาะสม คือ กลางเดือนกรกฎาคมถึงกลางเดือนสิงหาคม การปลูกก่อนหน้านี้ช่วงเก็บเกี่ยวอาจกระทับช่วงฝนตกหนัก สำหรับถั่วเหลืองพันธุ์นครสวรรค์ 1 แนะนำให้ปลูกต้นฝน ถ้าปลูกปลายฝนเมล็ดจะปริแตก

       3.วิธีปลูกถั่วเหลือง

      3.1 สภาพนา ใช้ไม้ปลายแหลมหรือเครื่องปลูกทำหลุมกว้าง 2-3 ซม. ลึก 3-4 ซม. และหยอดเมล็ดพันธุ์ 4-5 เมล็ดต่อหลุมโดยมีระยะปลูกที่เหมาะสมดังนี้

       พันธุ์อายุสั้น เช่น พันธุ์นครสวรรค์ 1 พันธุ์เชียงใหม่ 2 และพันธุ์ศรีสำโรง 1 ระยะปลูก 25x25 ซม. ได้ประมาณ 100,000 ต้นต่อไร่

       พันธุ์อายุปานกลาง เช่นพันธุ์เชียงใหม่ 60 และพันธุ์ สจ.5 ระยะปลูก 40x20 ซม. ได้ประมาณ 80,000 ต้นต่อไร่

       3.2 สภาพไร่ ใช้ไม้ปลายแหลมทำหลุมกว้าง 2-3 ซม. ลึก 3-4 ซม. ระยะปลูก 50x20 ซม. หยอด 4-5 เมล็ดต่อหลุม ได้ประมาณ 64,000 ต้นต่อไร่ ถ้าใช้เครื่องปลูก เครื่องจะปลูกแบบโรยเป็นแถว ระยะระหว่างแถว 50 ซม. จำนวน 20-25 ต้นต่อแถวยาว 1 เมตร ได้ประมาณ 64,000-80,000 ต้นต่อไร่

       ถั่วเหลืองพันธุ์อายุสั้นมีความสูงเฉลี่ย 30-35 ซม. มีทรงพุ่มเล็กกว่าพันธุ์อายุปานกลางซึ่งมีความสูงเฉลี่ย 60-80 ซม. ดังนั้นการปลูกจึงต้องให้มีจำนวนต้นต่อพื้นที่มากกว่าระยะปลูกจึงต้องถี่กว่า นอกจากนอกจากนี้การปลูกถั่วเหลืองในสภาพนาฤดูแล้งนั้นเป็นช่วงที่มีอากาศหนาวเย็น การเจริญเติบโตของถั่วเหลืองจึงน้อยกว่าการปลูกในสภาพไร่ฤดูฝนที่มีอุณหภูมิสูงและปริมาณน้ำฝนมากกว่า

 

       เกษตรกรบางท้องที่ปลูกถั่วเหลืองแบบหว่านคราดกลบ เป็นวิธีที่เกษตรให้ความสนใจและพัฒนาแนวคิดวิธีการปลูกความต้องการของเกษตรกรเอง ซึ่งต้องการอาศัยฝีมือการหว่านที่มีความชำนาญมาก วิธีการปลูกแบบหว่านคราดกลบโดยใช้เมล็ดพันธุ์ในอัตรา 20-30 กิโลกรัมต่อไร่ จะส่งผลดีต่อเกษตรกรมีความชำนานในการเตรียมพื้นที่ การหว่านเมล็ดให้กระจายสม่ำเสมอ การคราดกลบเมล็ด การระบาคของโรคและแมลงไม่รุนแรง และพืชที่มีวัชพืชน้อยจากข้อมูลการศึกษาและข้อสังเกตุแม้ว่าจะเป็นวิธีที่เกษตรกรในบางพื้นที่นิยม เพราะปฏิบัติง่ายไม่เปลืองแรงงาน เวลา และค่าใช้จ่ายเป็นการลดต้นทุนการผลิต แต่คุณภาพของผลผลิตไม่อยู่ในระดับที่น่าพอใจ ปัญหาเมล็ดสีเขียว เมล็ดสีม่วง เมล็ดเล็กลีบ และสิ่งเจือปนค่อนข้างสูง

       4.การใช้ปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียม

       เป็นแบคเป็นทีเรียที่มีความสามารถสร้างปุ๋ยในโตรเจนให้แก่พืชตระกูลถั่วได้โดยผ่านกระบวนการตรึงก๊าชไนโตรเจนจากอากาศและเปลี่ยนให้อยู่ในรูปสารประกอบอินทรียไนโตรเจนที่ปมรากถั่ว (biologcical nitrogen fixation) และลำเลียงไปส่วนต่างๆ ของพืชตระกลุถั่วให้สามารถใช้ประโยชน์ได้โดยตรงโดยวัชพืชไม่สามารถใช้ประโยชน์จากไนโตรเจนที่ไรโซเบียมตรึงได้ จนกระทั่งปมรากซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของไรโซเบียมสูญเสียประสิทธิภาพการตรึงและย่อยสลายโดยจุลินทรีย์อื่นในดิน วัชพืชจึงสามารถใช้ไนโตรเจนนั้นได้จึงเป็นการกำจัดการเจริญเติบโตของวัชพืช ดังนั้นปมรากถั่วจึงเปรียบเสมือนโรงงานผลผลิตปุ๋ยไนโตรเจนส่วนไรโซเบียมเปรียบเสมือนคนงานผลิต แต่กระบวนการตรึงก๊าชไนดตรเจนเป็นกระบวนการซึ่งต้งใช้พลังงาน ดังนั้นฟอสฟอรัสในดินซึ่งเป็นองค์ประกอบของสารให้พลังงานต้องมีพลีงงานเพียงพอ ปริมาณไนโตรเจนที่ไรโซเบียมตรึงได้สำหรับถั่วเหลืองประมาณ 10-27 กิโลกรัม ไนโตรเจน/ไร่/ปี จึงนำไรโซเบียมมาผลิตเป็นปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียมของพืชตระกลูถั่วโดยไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในการปลูกถั่วเหลืองหลังนาดังนั้นการปลูกถั่วเหลืองหลังนาจึงควรคลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียมสำหรับถั่วเหลืองทุกครั้ง โดยใช้สารเสื่อมที่ไม่เป็นพิษต่อไรโซเบียมที่หาได้ง่ายและเหมาะสม ได้แก่ น้ำมันพืช น้ำตาลทราย 30 เปอร์เซ็นต์ ในกรณีที่ไม่สามารถหาวัสดุดังกล่าวได้อาจใช้น้ำแทนได้ แต่การใช้ปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียมจะประสบความสำเร็จหรือไม่นั้นมีข้อควรคำนึงเกี่ยวกับพันธุ์ถั่วเหลือง สายพันธุ์ไรโซเบียม สภาพแวดล้อมและวิธีการคลุกเมล็ดพันธุ์ ดังนี้

       4.1 เลือกชนิดปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียมที่เหมาะสมกับชนิดและพันธุ์ถั่ว เช่นปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียมสำหรับถั่วเหลืองพืชเชียงใหม่ 60 เหมาะสมที่สุดสำหรับถั่วเหลืองพันธุ์เชียงใหม่ 60 แต่กรณีที่ไม่สามารถหาซื้อปุ๋ยไรโซเบียมที่เหมาะสมกับพันธุ์ถั่วได้อาจใช้ปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียมสำหรับถั่วเหลืองทั่วไป

       4.2 ปรับสภาพค่าปฏิกิริยาดิน ให้อยู่ในระดับไม่เป็นกรดหรือด่างจนเกินไป เช่น 5.5-6.5 กระทำก่อนปลูกถั่วเหลือง 2 สัปดาห์ เช่นหากค่า pH ของดินน้อยกว่า 5.0 แนะนำให้ใส่ปูนขาวประมาณ 200-400 กิโลกรัม/ไร่

       4.3 นำเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองที่ต้องการปลูกใส่ลงในภาชนะผสม

       4.4 ใส่สารเชื่อมช่วยให้ไรโซเบียมติดเมล็ดพันธุ์ในปริมาณที่เหมาะสม (ไม่ให้เยิ้ม)

       4.5 ใส่ปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียมสำหรับถั่วเหลือง ตามอัตราแนะนำบนฉลากกำกับปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียมสำหรับถั่วเหลือง เช่น ปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียมสำหรับถั่วเหลืองขนาดบรรจุ 200 กรัม สำหรับเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลือง 10-15 กิโลกรัม คลุกเคล้าเบาๆ ให้ผงสีดำของปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียมติดผิวทุกเมล็ดหรือทั่วเมล็ดเมล็ดพันธุ์

       4.6 ผึ่งเมล็ดถั่วเหลืองที่คลุกด้วยปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียมสำหรับถั่วเหลืองแล้วในที่ร่ม ประมาณ 10-15 นาที จึงนำไปใช้ปลูกโดยการหยอดด้วยมือหรือเครื่องหยอดเมล็ดชนิดต่างๆ ได้

       หลังจากถั่วเหลืองอายุได้ประมาณ 7-10 วัน ให้ถอนต้นเพื่อสังเกตการณ์สร้างปมรากหากปมรากสร้างบริเวณรากแก้วเมื่อใช้มือบีบสังเกตเห็นภายในปมสีแดงหรือสีชมพูแสดงว่าปมนั้นมีประสิทธิภาพในการตรึงไนโตรเจนหากสังเกตการติดปมน้อยสามารถแก้ไข้ได้โดยนำปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียมมาละลายน้ำราดที่บริเวณโครต้นถั่วเหลืองอีกครั้งหนึ่ง

       5.การจัดการปุ๋ยสำหรับถั่วเหลือง

        ถั่วเหลืองเป็นพืชที่ต้องใช้ธาตุอาหารไนโตรเจน (N) ค่อนข้างสูง รองลงมาคือธาตุอาหารโพแทสเซียม (K) และธาตุฟอสฟอรัส (P) ได้มีการวิจัยพบว่าในการผลิตถั่วเหลืองให้ได้ผลผลิตเมล็ด 300 กิโลกรัมต่อไร่ จะใช้ธาตอาหาร N P  และ K ประมาณ 27.0 3.30 และ 11.6 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ ถึงแม้ถั่วเหลืองจะใช้ธาตุอาหาร N ทำให้สามารถใช้ธาตุ N จากอากาศ(N fixation) ได้ค่อนข้างเพียงพอหากสภาพแวดล้อมเหมาะสม เช่น ดินไม่เป็นกรดเป็นด่างเกินไป มีธาตุอาหารที่จำเป็นอื่นๆพอสมควร มีความชื้นที่เหมาะสมและใส่เชื้อไรโซเบียมที่มีประสิทธิภาพ จึงไม่จำเป็นต้องใช้ปุ๋ย N กับถั่วเหลืองก็ได้

       การวิจัยการใช้ปุ๋ยเคมีกับถั่วเหลืองที่ผ่านมา พบว่าถั่วเหลืองมีการตอบสนองต่อการใช้ปุ๋ยฟอสเฟต (P) มากกว่าปุ๋ยที่ให้ธาตุ K  หรือ N ทั้งนี้เนื่องจากดินของประเทศไทยส่วนใหญ่มีปัญหาความไม่พอเพียงของธาตุอาหาร P  เนื่องความเป็นกรดของดิน ชนิดสมบัติทางเคมีอื่นของดินที่ไม่เอื้ออำอวยให้ปลดปล่อยธาตุอาหาร P สนองความต้องการของถั่วเหลืองต่อไปที่ต้องนำมาพิจารณาในการใช้ปุ๋ย เนื่องเป็นธาตุที่ถูกชะล้างได้ง่าย โดยเฉพาะปลูกในดินที่มีลักษณะเป็นทรายปะปนและมีการชะล้างสูง

       1.1 การใช้ป๋ยเคมีกับถั่วเหลืองหลังปลูกข้าวในเขตชลประทาน ดินนาที่ใช้ปลูกข้าวนาปรังมักจะเป็นดินเหนียว หรือดินร่วนเหนียว ร่วนเหนียวปนทรายแป้ง จึงมีความอุดมสมบูรณ์มากกว่าดินดอนหรือดินไร่ เกษตรกรที่ปลูกข้าวนาปรังส่วนใหญ่จะมีการใช้ปุ๋ยเคมีทุกครั้งที่ปลูกข้าว บางปีเกษตรกรปลูกพืชไร่อายุสั้น เช่นถั่วเหลืองแทนการปลูกข้าวนาปรังผลผลิตที่ได้ค่อนข้างสูง เนื่องจากผลตกค้างของปุ๋ยเคมีที่สะสมติดต่อกันนานๆ จากการใช้ปุ๋ยกับข้างยังคงมีประโยขน์ต่อถั่วเหลืองที่ปลูกตามอย่างพอเพียง

       1.2 การใช้ปุ๋ยเคมีตามชนิดดิน และค่าวิเคราะห์ดินดิน ปุ๋ยเคมีเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญปัจจัยหนึ่งในการเพิ่มผลผลิตของถั่วเหลือง หลังในการใช้ปุ๋ยเคมีอย่างมีประสิทธิภาพต้องคำนึงชนิดดินและสมบัติของดินตลอดจนแร่ธาตุอาหารในพื้นดิน ซึ่งทราบได้จากการวิเคราะห์ดิน นอกจากนี้ต้องคำนึงถึงวิธีเขตกรรมหรือการจัดการ ซึ่งแต่ละพื้นที่ปลูกจะแตกต่างกันบ้างในทางปฏิบัติ ความเข้าใจถึงชนิดและสมบัติของดินจะเป็นบันไดขั้นแรกในการใช้ปุ๋ยอย่างถูกต้องและเหมาะสม โดยปกติแล้วดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูงหรือมีความสามารถในการให้ผลผลิตสูงอยู่แล้วไม่จำเป็นต้องให้ปุ๋ยเสมอไป แต่ควรใช้ปัจจัยอื่นในการเพิ่มผลผลิตจะดีกว่า เช่น ใช้พันธุ์ดี การเขตกรมและป้องกันกำจัดศัตรูพืช  การใช้ธาตุอาหารพืชเพื่อเพิ่มผลผลิตถั่วเหลือง จะใช้ชนิดและอัตราใดขึ้นอยู่กับชนิดและระดับความอุดมสมบูรณ์ของดิน เมื่อปลูกในดินที่ค่อนข้างเป็นทรายจะมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำกว่าดินเหนียวหรือร่วนเหนียว การใช้ปุ๋ยเคมีตามชนิดของดินได้แสดงไว้ตามตาราง

เนื้อดิน

ปริมาณธาตุอาหาร

แนะนำ (N-P2O5 -K2O

กิโลกรัม/ไร่)

สูตรปุ๋ยที่ควรใช้

(N-P2O5 -K2O)

อัตราที่ใช้

(กิโลกรัม/ไร่)

ดินเหนียวสีแดง

3. 6. 3

12-24-12

16-16-8

8-24-24

0-3-0 (หินฟอสเฟต)

20-30

30-40

25-35

50-200

ดินเหนียวสีดำ

0. 6. 0

0-46-0

0-46-0

15-20

15-20

ดินร่วนเหนียวสีน้ำตาล

0. 6. 0

0-46-0

0-46-0

15-20

15-20

ดินร่วนทราย

3. 9. 6

12-24-12

16-16-8

30-40

40-50

 

        *- การปลูกถั่วเหลืองในดินทุกชนิดควรคลุกด้วยเชื้อไรโซเบียม เพื่อทดแทนการใช้ปุ๋ย N

       - ดินที่เป็นกรดจัด (pH ต่ำกว่า 5.5) ควรลดความเป็นกรดของดินด้วยการใส่ปูนขาว อัตรา 100-200 กก./ไร่ สำหรับดินที่ค่อนข้างเป็นทรายหรืออัตรา 200-400 กก./ไร่ สำหรับดินเหนียวทั้งนี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยเคมี

       การใช้ค่าวิเคราะห์ดินก่อนปลูกประกอบการพิจารณาการใช้ปุ๋ยเคมีจะช่วยประหยัดเงินลงทุนการใช้ปุ๋ยมาก เป็นแนวทางที่ใช้ปุ๋ยที่ถูกวิธีและมีประสิทธิภาพ โดยการที่ใช้แม่ปุ๋ยที่มีขายมาผสมปุ๋ยใช้เองตามสัดส่วนของธาตุอาหารที่ต้องการ โดยเฉพาะการเลือกปุ๋ยที่ให้ธาตุอาหารหลัก เช่น ฟอสฟอรัส (P) จากแม่ปุ๋ยทริปเปิลซุปเปอร์ฟอสเฟต หรือ TSP (46% P2O5 ) และโพแทรกเซียม (K)จากแม่ปุ๋ยโพแทรกเซียมคลอไรด์ หรือ KCI (60% K2O)ในสัดส่วนที่ถั่วเหลืองต้องการต้องการก่อนปลูกเพื่อป้องกันขาดธาตุไนโตรเจน (N)

       การผสมปุ๋ยใช้เองช่วยในการเลือกอัตราที่สัมพันธุกับค่าวิเคราะห์ดิน หากต้องการปลูกถั่วเหลืองในดินเหนียวแดง และพบว่ามีธาตุฟอสฟอรัสและแคลเซียมต่ำ จากคำแนะนำควรใช้ปุ๋ยเคมีที่ให้ธาตุอาหารฟอสฟอรัสและแคลเซียม อัตรา 6 และ 3 กิโลกรัมต่อไร่ของเนื้อธาตุ P2O5 และ K2O ตามลำดับโดยใช้ปุ๋ยจากแม่ปุ๋ยทริปเปิลซุปเปอร์ฟอสเฟตและโพแทรกเซียมคลอไรด์ อัตรา 13 และ 5  กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับนำมาผสมรวมและนำไปใช้ จะได้ผลดีและประหยัดกว่าใช้ปุ๋ยเคมีสูตรอื่นๆ การใช้ปุ๋ยเคมีหรือธาตุอาหารพืชตามค่าวิเคาะห์ดินดังแสดงในตาราง

การใช้ปุ๋ยเคมีหรือธาตุอาหารพืชสำหรับถั่วเหลืองตามค่าวิเคราะห์ดิน

ค่าวิเราะห์ดิน

เพื่อผลผลิตที่ให้กำไรสูง

(Economic yield)

เพื่อผลผลิตสูงสุด (Maximum yield)

pH < 5.0

ใส่ปูน 100-200 กก./ไร่

ใส่ปูน 200-400 กก./ไร่

pH < 5.0-5.5

ใส่ปูน 50-100 กก./ไร่

ใส่ปูน 100-200 กก./ไร่

Organic matter < 1%

เมล็ดคลุกด้วยไรโซเบียมก่อนปลูก

เมล็ดคลุกด้วยไรโซเบียม ร่วมด้วยปุ๋ย 0-3 กก. N/ไร่

Extr. P 1-6 ppm

ใส่ปุ๋ย 9 กก. P2 O5 /ไร่

ใส่ปุ๋ย 12 กก. P2 O5 /ไร่

Extr. P 6-12 ppm

ใส่ปุ๋ย 6 กก. P2 O5 /ไร่

ใส่ปุ๋ย 9 กก. P2 O5 /ไร่

ค่าวิเราะห์ดิน

เพื่อผลผลิตที่ให้กำไรสูง

(Economic yield)

เพื่อผลผลิตสูงสุด (Maximum yield)

Extr. P > 12 ppm

ไม่ใส่ปุ๋ย P

ใส่ปุ๋ย 3-6 กก. P2 O5 /ไร่

Exch. K 50-100 ppm

ใส่ปุ๋ย 3 กก. K2O/ไร่

ใส่ปุ่ย 6 กก. K2O/ไร่

Exch. K >100 ppm

ไม่ใส่ปุ๋ย K

ใส่ปุ่ย 3-6 กก. K2O/ไร่

Extr. S 8-14 ppm

ไม่ใส่ปุ๋ย S

ใส่ปุ๋ย 2.5-5 กก. SO4/ไร่

Exch. Ca  80-100 ppm

ใส่ปูน 100 กก./ไร่

ใส่ปูน 100-200 กก./ไร่

Exch. Ca 100-150 ppm

ไม่ใส่ปูน

ใส่ปูน 100 กก./ไร่

Extr. Mo < 0.40 ppm

(ดินทรายร่วน, pH< 5.5)

ไม่ใส่ปุ๋ย Mo

ใส่ปุ๋ย MoO4 200 กรัม/ไร่ หรือพ่นปุ๋ยทางใบ MoO4 0.05% w/v 2-3 ครั้ง

Extr. Mo < 0.40 ppm

(ดินเหนียว, ร่วนเหนียว, pH< 5.5)

ไม่ใส่ปุ๋ย Mo

ใส่ปุ๋ย MoO4 200 กรัม/ไร่ หรือพ่นปุ๋ยทางใบ MoO4 0.05% w/v 2-3 ครั้ง

Extr. B < 0.14 ppm

ไม่ใส่ปุ๋ย B

ใส่ปุ๋ย Borax 1 กรัม/ไร่ หรือพ่น Bortrac 0.05% w/v 2-3 ครั้ง

 

       ศัตรูถั่วเหลืองและการป้องกันกำจัด

       1.โรคของถั่วเหลืองและป้องกันกำจัด สามารถแยกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ โรคที่ติดไปกับเมล็ดพันธุ์ และโรดที่ไม่ติดไปกับเมล็ดพันธุ์ ซึ่งมีลายอะเอียดดังนี้

  •  โรคที่ติดไปกับเมล็ดพันธุ์ คือ โรคราน้ำค้าง โรคใบจุดนูน โรคแอนแทรกโนส โรคเมล็ดสีม่วง โรคใบจุดดวง โรคไวรัสใบด่าง

  •  โรคที่ไม่ติดไปกับเมล็ดพันธุ์ คือ โรคราสนิม โรคลำต้นเน่าดำ โรคใบยอดย่น

       แมลงศตรูที่สำคัญและป้องกันกำจัด

       แมลงศัตรูถั่วเหลืองที่สำคัญ พบและทำความเสียหายให้กับผู้ปลูกถั่วเหลืองเสมอ คือหนอนแมลงวันเจาะลำต้น หนอนเจาะฝักถั่ว แมลงหวี่ขาวยาสูบ มวนเขียวข้าว มวนเขียวและมวนถั่วเหลือง ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

  • หนอนแมลงวันเจาะลำต้นถั่ว

ลักษณะและการทำลาย

       ตัวเต็มวัยเป็นแมลงวันขนาดเล็กสีเทาดำขนาดประมาณ 2 มิลลิเมตร ปีกใส วางข่เป็นฟองเดี่ยวในเนื้อเยื้อใต้ใบอ่อน หนอนเจาะไชซอนเข้าไปกัดกินไส้กลางของลำต้น แล้วเข้าดักแด้ ทำให้ต้นถั่วเหลืองแคระแกร็น ผลผลิตลดลง ถ้าระบาดมากต้นถั่วเหลืองจะตาย ช่วงเวลาระบาดมาก ระบาดรุนแรงในระยะกล้า

       การป้องกันกำจัด

       ในฤดูแล้ง ควรปลูกถั่วเหลืองประมาณกลางเดือนมกราคม เนื่องจากเป็นช่วงที่มีการทำลายไม่รุนแรง คลุกเมล็ดพันธุ์ก่อนปลูก

  • หนอนเจาะฝักถั่ว

ลักษณะและการทำลาย

       ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็ก เมื่อกางปีกกว้างประมาณ 2 เซนติเมตร ปีกสีน้ำตาล วางไข่เป็นฟองเดี่ยวๆ ที่กลีบดอก บนฝักอ่อนบริเวณฐานฝัก หรือลำต้นไกล้กับฝัก หลังจากฟักออกมาจากไข่ หนอนจะเจาะเข้าไปกัดกินอยู่ในฝัก สังเกตเห็นรอยเจาะเพียงเล็กน้อยหรือไม่พบรอยเจาะ หนอนมีลำตัวสีเขียวและเปลี่ยนเป็นสีเขียวเข้มหรือแดงม่วง ตามระยะการเจริญเติบโต จะเจาะฝักออกมาเข้าดักแด้ตามเศษซากพืชช่วงเวลาระบาด ระบาดตั้งแต่ปลายเดือนธันวาคม ระบาดรุนแรงในระยะติดฝัก เมื่ออากาศแห้งแล้งและอุณหภูมิสูง

  • แมลงหวี่ขาวยาสูบ

ลักษณะและการทำลาย

       ตัวโตเต็มวัยมีขนาดประมาณ 1 มิลลิเมตร มีปีก 1 คู่ ปกคลุมด้วยผงสีขาว จะเคลื่อนไหวเมื่อถูกรบกวน วางไข่เป็นฟองเดี่ยวสีเหลืองอ่อนลักษณะเรียวยาว มีก้นยึดติดกับใบ ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบถั่ว ทำให้ต้นแครนแกร็น ฝักผิดปกติ เป็นพาหะนำโรคใบยอดย่น ระบาดตลอดฤดูปลูก การป้องกันกำจัด พ่นสารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช

 

  • มวนเขียวข้าว

ลักษณะและการทำลาย

       มีรูปร่างคล้ายโล่ สีเขียว บางชนิดเป็นปลายของส่วนหัวและด้านหน้าของสันหลังปล้องแรกแถบสีเหลือง หรือมีสีเหลืองและมีจุดปะสีเขียวอ่อนตลอดลำต้น วางไข่เป็นกลุ่มหลายแถวเรียงกันเป็นระเบียบตามส่วนต่างๆ ของพืช กลุ่มละ 50-100 ฟอง ไข่มีสีขาวครีม ไกล้ฝักจะเป็นสีชมพู ตัวอ่อนวัยแรกจะรวบตัวเป็นกลุ่ม ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบและฝักอ่อน ทำให้ฝักลีบ ระบาดรุนแรงในระยะออกดอกถึงเก็บเกี่ยว เมื่อสภาพอากาศมีความเชื้อสูง การป้องกันกำจัด พ่นสารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช

  • มวนเขียวถั่ว

ลักษณะและการทำลาย

       รูปร่างคล้ายมวนเขียวข้าว แต่มีขนาดเล็กกว่า ตัวเต็มวัยมีสีอ่อนหรือเขียวอมเหลือง ส่วนท้ายของสันหลังปล้องแรกมีขวบด้านข้าวสีน้ำตาลอ่อน หรือสีน้ำตาลแดง มีแถบสีขาวนวลหรือชมพูพาดขวางด้านบน วางไข่เรียงเป็น 2 แถว กลุ่มละประมาณ 20 ฟอง ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบและฝักอ่อน ทำให้ฝีกลีบ ระบาดรุนแรงในระยะออกดอกถึงเก็บเกี่ยว เมื่อสภาพอากาศมีความชื้นสูง การป้องการกำจัด พ่นสารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช

  • มวนถั่วเหลือง

ลักษณะการทำลาย

        ตัวเต็มวัยมีสีน้ำตาลแดงต่อมาเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม ลำตัวเรียวยาว มีแถบสีเหลืองนวลพาดตามความยาวของลำตัวข้างละแถบ ขายาวปล้องแรกของขาคู่หลังจะขยายใหญ่กว่าขาสองคู่หน้า ตัวอ่อนมีลักษณะคล้ายมด ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบและฝักอ่อน ทำให้ฝีกลีบ ระบาดรุนแรงในระยะออกดอกถึงเก็บเกี่ยว เมื่อสภาพอากาศมีความชื้นสูง การป้องการกำจัด พ่นสารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช

       การเก็บเกี่ยวถั่วเหลือง

       การเก็บเกี่ยวมีผลกระทบอย่างมากต่อปริมาณและคุณภาพของผลผลิตถั่วเหลือง การเก็บเกี่ยวถั่วเหลืองเพื่อให้ได้ผลผลิตสูงและมีคุณภาพดี จะต้องคำนึงถึงระยะสุกแก่ของเมล็ดถั่วเหลือง สภาพแวดล้อมในช่วงเมล็ดสุกแก่ถึงเก็บเกี่ยวและวิธีเก็บเกี่ยว ซึ่งมีความเกี่ยวโยงถึงกระบวนการจัดการหรือกิจกรรมก่อนการเก็บเกี่ยว ตั้งแต่เลือกพื้นที่ปลูก ช่วงเวลาปลูกและพันธุ์ที่ใช้ปลูก รวมถึงการจักการดูแลรักษาตั้งแต่ปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวในที่สุด

       1. ระยะสุกแก่ของถั่วเหลือง

       ผลผลิตและคุณภาพเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองจะสูงสุดเมื่อสุกแก่ ซึ่งเป็นระยะที่เมล็ดแห้งสูงสุด แต่ความชื้นในเมล็ดยังสูง(50-55%) โดยทั่วไปการเก็บเกี่ยวถั่วเหลืองควรทำในช่วงเมล็ดสุกแก่เต็มที่ระยะ R8 โดยสังเกตฝักมีสีน้ำตาลประมาณ 95% ของจำนวนฝักบนต้น อย่างไรก็ตามการเก็บเกี่ยวที่เร็วขึ้นเป็นระยะ R7.5 โดยสังเกตจำนวนฝักครึ่งหนึ่งบนต้นเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล แล้วนำไปผึ่งในร่ม 2 วัน ก่อนตากแดดให้แห้งแล้วนวด จะได้เมล็ดที่มีคุณภาพสูงและลดการสูญเสียของผลผลิต โดยช่วยลดปริมาณเมล็ดเขียว เมล็ดย่น ทำให้มีเปอร์เซ็นต์เมล็ดดีสูง ความงอกและความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์สูงกว่าการเก็บเกี่ยวในระยะ R8 ซึ่งสามารถปฏิบัติได้ในกรณีที่ผลผลิตในปริมาณไม่มากนัก การเก็บเกี่ยวก่อนระยะ R7.5  จะได้ผลผลิตและคุณภาพเมล็ดถั่วเหลืองต่ำลงเนื่องจากการพัฒนาเมล็ดยังไม่สมบูรณ์เต็มที่ ทำให้เมล็ดลีบและเมล็ดเขียวมาก ส่วนการเก็บเกี่ยวที่ล่าช้าออกไปผลผลิตและคุณภาพของถั่วเหลืองจะลดลงเนื่องจากมีโอกาสได้รับความเสียหาย โดยเฉพาะฝน ความชื้นอากาศ และอุณหภูมิสูง

       วิธีการเก็บเกี่ยว

       ใช้แรงงานคน โดยใช้เคียวเกี่ยวโคนต้นถั่วเหลืองให้ชิดติดดิน แล้วตากไว้ในแปลงให้แห้ง มัดเป็นฟ่อนนำไปเก็บในที่ร่มกันฝน วิธีเก็บเกี่ยวถั่วเหลืองโดยใช้แรงงานคนอาจมีผลกระทบต่อผลผลิตและคุณภาพในทางอ้อมเนื่องจากเก็บเกี่ยวล่าช้า ซึ่งหากผลผลิตประมาณมากและขาดแคลนแรงงานจะทำให้การเก็บเกี่ยวไม่ทันการปฏิบัติการช่วงเก็บเกี่ยวเพื่อให้เมล็ดพันธุ์มีคุณภาพสูงขึ้น การผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองบางครั้งพบเมล็ดที่มีเปลือกหุ้มเมล็ดย่นเป็นจำนวนมาก ซึ่งเมล็ดย่นของถั่วเหลืองมีความงอกสูงเช่นเดียวกับเมล็ดปกติ ในระยะแรกๆ แต่ไม่สามารถเก็บรักษาไว้เป็นเวลานานได้เพื่อแก้ไขปัญหานี้แนะนำให้เก็บเกี่ยวที่ระยะ R7.5 นำมาผึ่งในที่ร่ม 2 วัน จากนั้นนำมากตากแดดให้แห้งแล้วนวดจะได้เมล็ดที่มีผิวเรียบสูงมากกว่าการเก็บเกี่ยวที่ระยะ R8 หรือ R8+5 วัน แล้วแตกแดดให้แห้งทันทีซึ่งเป็นวิธีปฏิบัติของเกษตรกรการปฏิบัติตามวิธีดังกล่าวสามารถปฏิบัติตามได้ โดยแบ่งการเก็บเกี่ยวถั่วเหลืองออกเป็บ 2 วิธี ตามขนาดของพื้นที่นี้ดังนี้

       1. พื้นที่ขนาดเล็ก เมื่อพื้นที่ปลูกไม่เกิน 5ไร่ เกษตรกรควรเก็บเกี่ยวถั่วเหลืองเมื่อฝักเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาล 50% (ระยะ R7.5 ) แล้วมัดเป็นฟ่อน แต่อย่าให้ใหญ่มาก เพราะต้นที่อยู่ด้านในจะร้อน และชื้น อาจเกิดเชื้อราเข้าทำลายเมล็ดเสียหายได้ แล้วนำมัดถั่วเหลืองมาไว้ในโรงเรือนที่มีการระบายอากาศดีเป็นเวลา 2 วัน ต้องระวังอย่าให้ต้นถั่วเหลืองชื้น หมั่นกลับให้แห้งสม่ำเสมอกัน จากนั้นนำออกตากแดดให้แห้งหรือผึ่งในที่ร่มตลอดเวลาจนแห้ง จะได้คุณภาพเมล็ดดีที่สุด

       2. พื้นที่ขนาดใหญ่ มีพื้นที่ปลูกเกิน 5ไร่ เกษตรกรไม่สามารถปฏิบัติตามวิธีแรกได้เนื่องจากโรงเรือนจำกัด จึงควรปฏิบัติโดยเก็บเกี่ยวถั่วเหลืองเมื่อฝักแห้งเป็นสีน้ำตาล 95% (ระยะ R8) ระยะนี้ถั่วเหลืองจะมีความชื้นประมาณ 13-15 เปอร์เซ็นต์ให้รีบมัดทันทีแล้วนวด ถ้าทิ้งไว้ในแปลงต่อไปอาจถูกฝนน้ำค้าง จำทำให้เกิดเมล็ดย่นมีผลให้เสื่อมความงอกลงอย่างรวดเร็ว

       การลดความชื้นและการนวดถั่วเหลือง

       การจัดการหรือกิจกรรมต่างๆ หลังจากเก็บเกี่ยวถั่วเหลือง ได้แก่ การลดความชื้นเมล็ดถั่วทั้งต้น การนวด การลดความชื้นเมล็ด ล้วนมีผลกระทบต่อปริมาณและคุณภาพของผลผลิตถั่วเหลือง ดังนั้น การปฏิบัติในแต่ละขั้นตอนต้องมีความระมัดระวังเพื่อให้ได้ผลผลิตและคุณภาพสูง

       1. การลดความชื้นทั้งต้น

       การตากถั่วเหลืองหลังเก็บเกี่ยวในแปลงมีความเสี่ยงต่อการสูญเสียผลผลิตและคุณภาพเมล็ดถั่วเหลืองโดยเฉพาะเมื่อมีฝนตก ดังนั้น จึงควรวางแผนปลูกถั่วเหลืองให้สามารถเก็บเกี่ยวและตากต้นถั่ว ในช่วงไม่มีฝน หากหลีกเลี่ยงไม่ควรนำถั่วเหลืองทั้งต้นไปผึ่งไว้ในที่ร่มกันฝนได้ ในทางปฏิบัตินั้น ควรเก็บเกี่ยวถั่วเหลืองในช่วงเช้า ตากแดดไว้ในแปลง และรวบรวมในตอนบ่าย  นำมาเก็บไว้ในโรงนา หรือแคร่ไม้ไผ่ยกระดับให้สูงกว่าพื้นดินโดยวางยางรถยนต์เก่าแล้วคลุมด้วยวัสดุกันฝน ในตอนเช้าวัชดุกันฝนออกตากแดดให้ต้นถั่วเหลืองแห้งรอการนวดต่อไป

       นอกจากนั้นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยลดปัญหาได้คือการอบลดความชื้น ซึ่งสถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม กรมวิชาการเกษตร ได้ทดลองใช้เครื่องอบถั่วเหลืองทั้งต้นก่อนนวด ครั้งละ 250 กิโลกรัม สามารถลดความชื้นจาก 34.1-39.9 เปอร์เซ็นต์ เหลือ 15-16.8 เปอร์เซ็นต์ ในเวลา 6 ชั่วโมง

       2. การนวด

       เป็นขั้นตอนการกระเทาะและแยกเมล็ดถั่วเหลืองออกจากฝัก สามารถทำได้โดยใช้แรงคนและเครื่องนวดเมล็ด หากมีแรงงานเพียงพอหรือการผลิตถั่วเหลืองในปริมาณไม่มากนักสามารถนวดได้โดยการกองถั่วเหลืองบนลาน หรือภาชะต่างๆ แล้วทุบด้วยไม้ให้ฝักแตก และแยกเอาเมล็ดออกจากเศษซากถั่วเหลือง วิธีนี้มีต้นทุนสูงทำได้ช้าสูญเสียเมล็ดที่ติดไปกับฝักเปลือกสูงวิธีการนวดที่ได้รับความนิยมมากคือใช้เครื่องนวดเมล็ดพืชที่พัฒนามาจากเครื่องนวดข้าว วิธีการนี้ต้องคำนึงถึงความสัมพันธุ์ระหว่างความชื้นเมล็ดถั่วเหลือง และความเร็วลอบของเครื่องนวดโดยเฉพาะเมื่อผลผลิตเป็นเมล็ดพันธุ์ ความชื้นที่เหมาะสมต่อการนวดด้วยเครื่องคือ 13-18 เปอร์เซ็นต์โดยใช้ความเร็วรอบอยู่ในช่วง 350-500 รอบต่อนาที การนวดถั่วเหลืองที่มีความชื้นสูงมากเกินไปจะทำให้เมล็ดช้ำ เชื้อราเข้าทำลายได้ง่าย ส่วนการนวดเมล็ดที่มีความชื้นต่ำเกินไป เมล็ดจะแตกร้าวเสียหายโดยเฉพาะใช้ความเร็วรอบเครื่องนวดสูง ข้อระวังสำหรับใช้เครื่องนวด เพื่อป้องกันการปะปนพันธุ์ควรใช้เครื่องนวดถั่วเหลืองแต่ละพันธุ์ให้เสร็จแล้วทำความสะอาดให้หมดก่อนนำไปนวดถั่วเหลืองพันธุ์อื่นต่อไป

 

 

 

      

 

      

      

      

      

      

      

      

      

      

      

      

      

      

      

      

      

      

      

      

      

      

      

      

      

      

      

      

      

      

      

      

      

      

      

      

      

      

      

      

      

      

      

      

      

      

      

      

      

      

      

      

      

      

      

      

      

      

      

      

      

      

      

      

      

      

      

      

      

      

      

      

      

      

      

      

      

      

      

      

      

      

Tags : การใส่ปุ๋ยถั่วเหลือง

view