www.Stats.in.th
  สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com

การใส่ปุ๋ยเคมีในอ้อยให้ได้ผลผลิตสูง

ติดต่อปุ๋ย 5 นางฟ้าทรงฉัตร โทร 035-440248

LINE ID;  yuthathep

การใส่ปุ๋ยในอ้อยน้ำตาลหรืออ้อยโรงงาน ให้ใส่ปุ๋ยเคมีในอ้อยหลังปลูกหรือหลังแต่งตออ้อย 2 ครั้ง สำหรับดินร่วน ดินร่วนเหนียวหรือดินเหนียว ให้ปุ๋ยเคมีตรา 5 นางฟ้าทรงฉัตรสูตร 16-8-8 หรือปุ๋ยเคมีสูตร 30-0-0 

ครั้งแรกเมื่ออ้อยอายุ 1 เดือน อัตรา 35 กก./ไร่ ครั้งที่ 2 เมื่ออายุ 3 เดือน อัตรา 40 กก./ไร่ ถ้าเป็นอ้อยตอ ให้ใส่ปุ๋ยอ้อยตรา 5 นางฟ้าทรงฉัตรยูเรียสูตร 30-0-0 เพิ่ม 25-30 กิโลกรัมต่อไร่

**อ้อยที่ปลูกในดินร่วนปนทรายให้ปุ๋ยเคมี5นางฟ้าทรงฉัตรสูตร 15-15-15 หรือปุ๋ยสูตร 15-5-35 

ครั้งแรก พร้อมปลูกอัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่

ครั้งที่สองเมื่ออ้อยอายุ 3 เดือน อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่

ถ้าเป็นอ้อยตอ ให้ใส่ปุ๋ยอ้อยนางฟ้าทรงฉัตรสูตร 30-0-0 เพิ่ม 25 -30 กิโลกรัมต่อไร่

ในอ้อยปลูก ให้ปุ๋ยแบบโรยเป็นแถวข้างกออ้อยแล้วพรวนกลบ ในอ้อยตอ ให้ฝังกลบปุ๋ยห่างจาก กออ้อย 10-15 เซนติเมตร- อ้อยปลูกและอ้อยตอ ที่ปลูกในเขตชลประทาน เมื่ออายุ 2-3 เดือน ให้เพิ่มปุ๋ยเคมีสูตร 30-0-0 ตรา 5 นางฟ้าทรงฉัตร อัตรา 25 กก./ไร่ จะได้อ้อยที่ให้ผลผลิตสูงเพิ่มความหวานและน้ำตาลในอ้อย









เช็คราคาปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์ทุกสูตรที่นี่!!

โปรโมชั่นปุ๋ยเคมี 5นางฟ้าทรงฉัตร วันนี้ถึงสิงหาคม 2555

ปุ๋ยนาข้าว|ปุ๋ยอ้อย|ปุ๋ยมันสำปะหลัง|ปุ๋ยยางพารา|ปุ๋ยข้าวโพด|ปุ๋ยปาล์ม|ปุ๋ยใส่ผักผลไม้|ราคาปุ๋ย

ปุ๋ยเคมีราคาส่ง วันนี้ ถึง สิงหาคม 2555

ราคาปุ๋ยเคมีและแม่ปุ๋ยทุกสูตรวันนี้ถึง 31 สิงหาคม ปี 2555 เช็คที่นี่!!

ราคาปุ๋ยวันนี้

ลดราคาปุ๋ยเคมีทุกสูตรวันนี้ (ราคาส่ง)

ท่านสามารถสอบถามและขอใบเสนอราคาส่งได้ที่ 035-440248 จัดส่งฟรี!! ราคาปี 2555

ซื้อไปขายต่อหรือซื้อในปริมาณมาก ลดพิเศษพร้อมจัดส่งฟรี!!

ลดพิเศษราคาปุ๋ยเคมียูเรียสูตร 30-0-0 ราคา 690-750 บาท (ส่งฟรี) ,ลดราคาปุ๋ยเคมีสูตรปาล์มน้ำมัน 8-24-24 ราคา  990-1,150 บาท,ลดราคาปุ๋ยเคมีนาข้าวและยางเล็กสูตร 16-8-8  ราคา 650-690 บาท , ปุ๋ยเคมีใส่นาข้าวดินทราย,ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 ราคา 740-840 บาท,ปุ๋ยเคมีสูตรระเบิดหัวมันสำปะหลัง 15-15-15 ราคา 790-900 บาท ,ปุ๋ยเคมีนาข้าวสูตร 16-20-0 ราคา 740-800 บาท,ปุ๋ยเคมีเร่งน้ำยางสำหรับยางใหญ่สูตร 15-7-18 จากราคา 820 บาท เหลือ ราคา 750 บาท,ปุ๋ยเคมีใส่ยางพาราใหญ่สูตร 20-8-20 จาก 950 บาท ลดเหลือ 820 บาท,ปุ๋ยยางพาราเล็กสูตร 20-10-12 จากราคา 850 บาท ลดเหลือราคา 790 บาท,ปุ๋ยเคมีสูตร 3-9-20 ราคา 780 บาท,ปุ๋ยเคมีสูตรรองพื้น ราคา 470 บาท,ปุ๋ยอินทรีย์ ราคา 285 บาท

โทรเช็คราคาแม่ปุ๋ยวันนี้ที่นี่!!

ปุ๋ยยูเรียตราม้าบินสูตร 46-0-0 ยูเรียเม็ดโฟมราคา 810 บาทจัดส่งฟรี,ราคาแม่ปุ๋ยเคมีแดปตรากระต่าย,พลอยเกษตร DAP,ซาอุฯ เกรดเอ สูตร 18-46-0 (สีเหลืองราคา 1,200 บาทส่งฟรี,ราคาแม่ปุ๋ยมอฟ MOP ตราพลอยเกษตร,ดาวเกษตร,ดาวรุ่ง,เรือใบ ส่งฟรี สูตร 0-0-60 สีแดงเกรดเอ 1,040 บาท ราคาแม่ปุ๋ยยูเรียกระต่าย46-0-0 เม็ดโฟม ราคาพร้อมส่ง 815 บาท โทรเช็คราคาแม่ปุ๋ยเคมีวันนี้!


ความรู้เกี่ยวกับการปลูกอ้อย

การเลือกพันธุ์
* ผลผลิตสูง และมีคุณภาพความหวานมากกว่า 10 ซีซีเอส
* ต้านทานต่อโรคเหี่ยวเน่าแดง แส้ดำ กอตะไคร้ ทนทานต่อหนอนกอลายจุดใหญ่ หรือหนอนกอลายจุดเล็ก ศัตรูที่สำคัญในแต่ละแหล่งปลูก
* เจริญเติบโตดีเหมาะกับสภาพดินฟ้าอากาศ
* ไว้ตอได้ไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง และผลผลิตไม่ต่ำกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของอ้อยปลูก

พันธุ์อ้อย 
ในการปรับปรุงพันธุ์อ้อยมีหน่วยงานที่ดำเนินการหลายหน่วยงาน ได้แก่ กรมวิชาการเกษตร สำนักงานอ้อยและน้ำตาลทราย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บริษัทมิตรผล การดำเนินงานจะเริ่มตั้งแต่การผสมพันธุ์ คัดเลือกพันธุ์และทดสอบพันธุ์ โดยการคัดเลือกในสภาพแวดล้อมในแหล่งปลูกอ้อยของประเทศไทย พันธุ์อ้อยที่ผ่านการปรับปรุงพันธุ์จะมีลักษณะ ผลผลิต องค์ประกอบผลผลิต และลักษณะทางการเกษตรที่ดีเด่น แตกต่างกันขึ้นกับสภาพแวดล้อมที่ทดสอบ และคัดเลือกพันธุ์ ชาวไร่จึงจำเป็นต้องเลือกพันธุ์โดยอาศัยคำแนะนำจากเอกสารแนะนำพันธุ์ เพื่อให้ได้พันธุ์อ้อยที่เหมาะสมกับท้องถิ่นของตน

1. พันธ์รับรอง/แนะนำของกรมวิชาการเกษตร

อ้อยโรงงาน
- พันธุ์อู่ทอง 6 ลำต้นมีขนาดใหญ่ ปล้องรูปทรงกระบอก กาบใบสีม่วง ไม่มีขน ทรงกอตั้งสูง ออกดอกยาก อายุเก็บเกี่ยว 11-12 เดือน
ผลผลิต 18.04 ตัน/ไร่ ซีซีเอส 13.59 ความสูง 299 ซม.
ดินร่วนปนทราย เขตกึ่งชลประทาน
- พันธุ์มุกดาหาร ใบแคงตั้ง ปลายใบโค้ง กาบใบสีเขียวปนม่วง
ปล้องรูปทรงกระบอก ทรงกอตั้งตรง ล้มง่าย อายุเก็บเกี่ยว
12-14 เดือน ผลผลิต 13.4 ตัน/ไร่ ความสูง 274 ซม.
ดินร่วนปนทรายหรือดินร่วนเหนียวปนทรายในจังหวัดมุกดาหาร
และกาฬสินธุ์
- อู่ทอง 5 รูปร่างปล้อง ลำต้นเมื่อถูกแสงให้สีม่วงอมเขียว ทรงกอ
ตั้งตรง ออกดอกปลายเดือนตุลาคม อายุเก็บเกี่ยว 10-11
เดือน ผลผลิตอ้อยตอ1 เฉลี่ย 10.95 ตัน/ไร่ อ้อยตอ 2 เฉลี่ย
8.87 ตัน/ไร่ ซีซีเอส อ้อยตอ1 เฉลี่ย 1.71 และอ้อยตอ2 เฉลี่ย 1.40 ความสูง 264 ซม.ดินร่วนปนทรายเขตใช้น้ำฝนภาคกลาง และภาคตะวันออก
- ขอนแก่น 1 ใบแผ่ตั้งสีเขียวเข้ม ลำอ้อยสีเหลืองอมเขียว
รูปร่างปล้องคอด กลางป่อง ข้อโปน ทรงกอแคบ ตั้งตรง
ไม่ล้มง่าย ออกดอกกลางเดือนธันวาคม อายุเก็บเกี่ยว 11-12 เดือน
ผลผลิต 13-16 ตัน/ไร่ ความสูง 257 ซม.แหล่งปลูกภาคตะวันออก
เฉียงเหนือ
- อู่ทอง 4 ลำสีเขียวอมเหลืองหรือม่วง ขนาดลำปานกลาง มีขน กลางกาบใบ ทรงกอแผ่เล็กน้อย กว้าง หักล้มปานกลาง 
ออกดอกปลายเดือนพฤศจิกายน-กลางเดือนธันวาคม อายุเก็บเกี่ยว
11-12 เดือน ซีซีเอส 15.69 ผลผลิต 13-14 ตัน/ไร่ ความสูง
248 ซม. แหล่งปลูกภาคตะวันตกเฉพาะในดินร่วนปน ดินเหนียว
- อู่ทอง 3 ใบใหญ่ตั้ง ปลายแหลม กาบใบมีสีม่วงปนเขียว ลอกกาบใบค่อนข้างยาว ทรงกอตั้งตรง แคบ ไม่หักล้ม ออกดอก
ปลายเดือนพฤศจิกายนถึงกลางเดือนธันวาคม อายุเก็บเกี่ยว
10-12 เดือน ซีซีเอส 15.90 ผลผลิต 13-14 ต้น/ไร่
ความสูง 231 ซม.ดินร่วนปนทรายสภาพไร่ในภาคตะวันตกและ
ภาคเหนือตอนล่าง
- อู่ทอง 2 ใบใหญ่ตั้ง ปลายแหลม กาบใบมีขนเล็กน้อย สะสมน้ำตาลเร็ว
ออกดอกปลายเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนธันวาคม ผลผลิต 14.0
ต้น/ไร่ ซีซีเอสมากกว่า 10 ความสูง 228 ซม.แหล่งปลูกเขตชลประทาน
ภาคกลางและภาคตะวันตก
- อู่ทอง 1 ปล้องคอดกลาง ใบมีขนาดใหญ่ ทรงใบตั้งโค้งกลางใบ
กาบใบสีม่วง มีขนกาบใบเล็กน้อย ทรงกอตั้งตรง กว้าง ไม่หักล้ม 
ออกดอกปานกลาง อายุเก็บเกี่ยว 11-13 เดือน ผลผลิต 25.20
ต้น/ไร่ ซีซีเอส 11-12 ความสูง 250-350 ซม.แหล่งปลูก
ภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี กาญจนบุร นครปฐม
- ชัยนาท 1 ใบมีขนาดใหญ่ ปล้องยาว โคนโต สีน้ำตาลอมเขียว
ทรงกอแคบ ล้มง่าย ออกดอกประมาณเดือนตุลาคม ผลผลิต
15-18 ต้น/ไร่ แหล่งปลูกภาคตะวันออก

อ้อยเคี้ยว
- สุพรรณบุรี 72 ใบขนาดกลางปลายโค้ ลำต้นสีเขียวอมเหลือง
ปล้องทรงกระบอก มีร่องเหนือตา ข้อคอดเล็กน้อย อายุเก็บเกี่ยว
9 เดือน ผลผลิตเนื้ออ้อย 6.3 ตันต่อไร่ ความสูง 270 ซม.
แหล่งปลูกพื้นที่ดินร่วนเหนียว ดินร่วนปนทรายที่สามารถให้น้ำได้
- สุพรรณบุรี 50 ใบมีขนาดใหญ่ปลายใบโค้ง ลำต้นสีเขียว
อมเหลือง ปล้องมีรูปร่างทรงกระบอกค่อนข้างยาว ออกดอก
ช่วงเดือนธันวาคม อายุเก็ยเกี่ยว 8 เดือน ผลผลิตน้ำอ้อย
สูง 4,913 ลิตรต่อไร่ แหล่งปลูกในเขตภาคกลางและ
ภาคตะวันตก

2. พันธุ์ที่ได้จากงานวิจัยของกระทรวงอุตสาหกรรม
- พันธุ์ K 76-4 เป็นพันธุ์ที่ได้รับจากการผสมระหว่างพันธุ์ Co 798 กับพันธุ์ Co 775 ให้ผลผลิตอ้อยสด 14 ตันต่อไร่ ความหวาน 12 CCS การแตกกอปานกลาง มี 5-6 ลำต่อกอ ลำต้นตรงสีเหลืองอมเขียว เจริญเติบโตได้เร็ว ทนทานต่อโรคใบขาวและหนอนเจาะลำต้น
- พันธุ์ K 84-69 เป็นพันธุ์ที่ได้จากการผสมระหว่างพันธุ์ F 143 กับพันธุ์ ROC 1 ให้ผลผลิตอ้อยสด 12-15 ตันต่อไร่ ความหวาน 12-13 CCS การแตกกอปานกลาง มี 5-6 ลำต่อกอ ลำต้นตรง สีเขียวมะกอก เจริญเติบโตเร็ว ลอกกาบค่อนข้างง่าย
ข้อควรระวัง อ่อนแอต่อโรคเหี่ยวเน่าแดง และโรคแส้ดำ ปลูกในสภาพดินร่วนเหนียวดีกว่าร่วนทราย
- พันธุ์ K 87-200 เป็นพันธุ์ที่ได้จากการผสมระหว่างพันธุ์ ROC 1 กับพันธุ์ CP 63-588 ให้ผลิตอ้อยสด 12-14 ตันต่อไร่ ความหวาน 13 CCS การแตกกอน้อย ไว้ตอค่อนข้างดี ออกดอกเล็กน้อย ลำต้นตรงสีเขียวมะกอก ทรงกอแคบ ลำต้นตั้งตรง ต้านทานต่อโรคเหี่ยวเน่าแดง และโรคแส้ดำ ลอกกาบใบง่าย
ข้อควรระวัง อ่อนแอต่อโรคกอตะไคร้และโรคใบขาว
- พันธุ์ K 88-92 เป็นพันธุ์ที่ได้จากการผสมระหว่างพันธุ์อู่ทอง 1 กับพันธุ์ PL 310 ผลผลิตอ้อยสด 15 ตันต่อไร่ ความหวาน 12 CCS การแตกกอปานกลาง ลำต้นขนาดปานกลางถึงใหญ่ การไว้ตอดี ออกดอกเล็กน้อย ลำต้นตรงสีเขียวมะกอก ต้านทานต่อโรคแส้ดำ ต้านทานปานกลางต่อโรคเหี่ยวเน่าแดง เจริญเติบโตเร็ว
ข้อควรระวัง อ่อนแอต่อโรครากเน่าและโรคใบขาว
- พันธุ์ K 90-77 เป็นพันธุ์ที่ได้จากการผสมระหว่างพันธุ์ K 83-74 กับพันธุ์อู่ทอง 1 ผลผลิตอ้อยสด 12-20 ตันต่อไร่ ความหวาน 12-15 CCS การแตกกอปานกลาง ไว้ตอได้ดี ไม่ออกดอก ลำต้นสีเขียวเข้ม เมื่อถูกแสงจะเป็นสีม่วง ทรงกอค่อนข้างกว้าง เจริญเติบโตเร็ว ทนแล้งได้ดี ต้านทานปานกลางต่อโรคเหี่ยวเน่าแดง โรคตะไคร้ โรคยอดเน่า และโรคแส้ดำ ต้านทานปานกลางต่อหนอนเจาะยอดและหนอนเจาะลำต้น
ข้อควรระวัง ลอกกาบใบได้ค่อนข้างยาก
- พันธุ์ K 92-80 เป็นพันธุ์ที่ได้จากการผสมระหว่างพันธุ์ K 84-200 กับพันธุ์ K 76-4 ผลผลิตอ้อยสด 16-19 ตันต่อไร่ ความหวาน 11-13 CCS การแตกกอปานกลาง ขนาดลำปานกลาง การไว้ตอดีมาก ไม่ออกดอก ลำสีเหลืองอมเขียว ทรงกอค่อนข้างกว้าง เจริญเติบโตเร็ว ทนแล้งปานกลาง ต้านทานปานกลางต่อโรคเหี่ยวเน่าแดง โรคกอตะไคร้ โรคราสนิม โรคแส้ดำ และหนอนเจาะลำต้น
ข้อควรระวัง งอกช้า อ่อนแอต่อโรคใบจุดเหลือง โรคยอดบิดและโรคใบจุดวงแหวน หักล้มง่าย กาบใบร่วงหลุดยาก
- พันธุ์ K 92-213 เป็นพันธุ์ที่ได้จากการผสมระหว่างพันธุ์ K 84-200 กับพันธุ์ K 84-74 ผลผลิตอ้อยสด 15-18 ตันต่อไร่ ความหวาน 11-13 CCS การแตกกอปานกลาง ขนาดลำปานกลาง การไว้ตอดี ออกดอกเล็กน้อย ลำสีเขียวอมเหลือง งอกเร็ว ทนแล้งปานกลาง ต้านทานปานกลางต่อโรคเหี่ยวเน่าแดง โรคกอตะไคร้และโรคแส้ดำ
ข้อควรระวัง อ่อนแอต่อโรคใบจุดเหลือง โรคยอดบิดและโรคใบจุดวงแหวน การหักล้มปานกลาง กาบใบร่วงหลุดยาก ควรปลูกในเขตชลประทาน
- พันธุ์ K 93-219 เป็นพันธุ์ที่ได้จากการผสมระหว่างพันธุ์อู่ทอง 1 กับพันธุ์อีเหี่ยว ผลผลิตอ้อยสด 16-21 ตันต่อไร่ ความหวาน 12-14 CCS การแตกกอปานกลาง ขนาดลำปานกลาง การไว้ตอดี ไม่ออกดอก ลำต้นสีเขียว งอกเร็ว เจริญเติบโตเร็ว ทนแล้งปานกลาง ต้านทานปานกลางต่อโรคเหี่ยวเน่าแดง โรคกอตะไคร้ โรคใบจุดเหลือง โรคราสนิม และโรคแส้ดำ ต้านทานต่อหนอนเจาะลำต้น เก็บเกี่ยวอายุ 12 เดือน
ข้อควรระวัง อ่อนแอต่อโรคใบจุดเหลือง การหักล้มปานกลาง กาบใบร่วงหลุดยาก
- พันธุ์ K 93-347 เป็นพันธุ์ที่ได้จากการผสมระหว่างพันธุ์อู่ทอง 1 กับพันธุ์ K 84-200 ผลผลิตอ้อยสด 16-20 ตันต่อไร่ ความหวาน 11-13 CCS การแตกกอปานกลาง ขนาดลำปานกลาง การไว้ตอดี ไม่ออกดอก ลำสีเขียวอมเหลือง งอกเร็ว เจริญเติบโตเร็ว ทนแล้ง ต้านทานปานกลางต่อโรคเหี่ยวเน่าแดง โรคกอตะไคร้ และโรคแส้ดำ อายุเก็บเกี่ยว 12 เดือน
ข้อควรระวัง อ่อนแอต่อโรคใบจุดเหลือง การหักล้มปานกลาง กาบใบร่วงหลุดยาก
- พันธุ์ K 95-84 เป็นพันธุ์ที่ได้จากการผสมระหว่างพันธุ์ K 90-79 กับพันธุ์ K 84-200 ผลผลิตอ้อยสด 16-20 ตันต่อไร่ ความหวาน 12-14 CCS การแตกกอปานกลาง ลำขนาดใหญ่ (4.1-4.3 ซม.) การไว้ตอดี ไม่ออกดอก ลำสีเขียวมะกอกอมเหลือง เจริญเติมโตเร็ว ทนแล้งปานกลาง ลอกกาบใบง่าย ต้านทานปานกลางต่อโรคเหี่ยวเน่าแดง โรคกอตะไคร้ โรคราสนิม และโรคแส้ดำ ต้านทานปานกลางต่อหนอนเจาะลำต้น
ข้อควรระวัง อ่อนแอต่อโรคใบขาวและโรคยอดบิด

3. พันธุ์ที่ได้จากการวิจัยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 
- พันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 เป็นพันธุ์ที่ได้จากการผสมเปิดของอ้อยพันธุ์ Kwt # 7 ผลผลิตอ้อยสด 13-16 ตันต่อไร่ ความหวาน 12-14 CCS การแตกกอปานกลาง มี 5-6 ลำต่อกอ ไว้ตอได้ดี ออกดอกเล็กน้อยถึงปานกลาง ลำต้นสีเขียวเข้ม หากถูกแสงแดดจะเป็นสีม่วงขนาดลำค่อนข้างเล็ก เจริญเติบโตเร็ว ทนแล้งได้ดี เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนหรือร่วนทรายที่ระบายน้ำได้ดี
ข้อควรระวัง อ่อนแอต่อโรคเหี่ยวเน่าแดงและสารกำจัดวัชพืชบางชนิด
- พันธุ์กำแพงแสน 89-200 เป็นพันธุ์ที่ได้จากการผสมระหว่างพันธุ์ IAC 52-326 กับพันธุ์ Co 331 ผลผลิตอ้อยสด 15-16 ตันต่อไร่ ความหวาน 11-13 CCS การแตกกอดี มี 6-8 ลำต่อกอ ขนาดลำปานกลาง ไว้ตอได้ค่อนข้างดี ออกดอกเล็กน้อยถึงปานกลาง ลำต้นตรง สีเขียวอมเหลือง เจริญเติบโตเร็ว ทนแล้ง เก็บเกี่ยวอายุ 10-12 เดือน เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนและร่วนทราย
ข้อควรระวัง อ่อนแอต่อโรคเหี่ยวเน่าแดง
- พันธุ์กำแพงแสน 92-0447 เป็นพันธุ์ที่ได้จากการผสมระหว่างพันธุ์ F 146 กับพันธุ์ B 34164 ผลผลิตอ้อยสด 14-16 ตันต่อไร่ ความหวาน 10-12 CCS การแตกกอปานกลาง ขนาดลำปานกลาง การไว้ตอดี ออกดอกเล็กน้อย ลำต้นโตเร็ว สีเหลืองอมเขียว เจริญเติบโตเร็ว ค่อนข้างทนแล้ง อายุเก็บเกี่ยว 11-12 เดือน
ข้อควรระวัง อ่อนแอต่อโรคเหี่ยวเน่าแดง
- พันธุ์กำแพงแสน 91-1336 เป็นพันธุ์ที่ได้จากการผสมเปิด ของอ้อยพันธุ์ F 146 ผลผลิตอ้อยสด 15-17 ตันต่อไร่ ความหวาน 11-13 CCS การแตกกอดี ขนาดลำปานกลาง การไว้ตอดี ออกดอกปานกลาง ลำต้นซิกแซ็ก สีเขียวอมเหลือง เจริญเติบโตเร็ว ค่อนข้างทนแล้ง อายุเก็บเกี่ยว 11-12 เดือน
ข้อควรระวัง อ่อนแอต่อโรคเหี่ยวเน่าแดง

เทคโนโลยีการผลิต 

การเลือกพื้นที่ปลูกอ้อย
พื้นที่ที่เหมาะสมในการปลูกอ้อย ควรเป็นที่ดอน หรือที่ลุ่ม ไม่มี น้ำท่วมขัง สูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 1,500 เมตร ห่างไกลจาก แหล่งมลพิษ การคมนาคมสะดวก อยู่ห่างจากโรงงานน้ำตาลไม่เกิน 60 กิโลเมตร
การเตรียมดิน
การปลูกอ้อย 1 ครั้ง สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ถึง 3-4 ปี หรือมากกว่า ดังนั้น การเตรียมดินปลูกจะมีผลต่อ ผลผลิตของอ้อย ตลอดระยะเวลาที่ไว้ตอ โดยทั่วไปหลังจากตัดอ้อยตอปีสุดท้ายแล้ว เกษตรกรมักจะเผาเศษซากอ้อยและตออ้อยเก่าทิ้ง เพื่อสะดวกต่อ การเตรียมดิน เพราะเศษซากอ้อยจะทำให้ล้อรถแทรกเตอร์ลื่น หมุนฟรี และมักจะม้วนติดพันกับผานไถ ทำให้ทำงานได้ไม่สะดวก จาก การทดลองใช้จอบหมุนสับเศษซากใบอ้อยแทนการเผา พบว่า สามารถ ช่วยอนุรักษ์อินทรียวัตถุในดินได้เป็นอย่างดี
ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี ได้พัฒนาผานจักรสับเศษซากอ้อย คลุกเคล้าลงดินใช้ได้ผลดี และประหยัดกว่าการใช้จอบหมุน
หลังจากไถกลบเศษซากอ้อยลงดินแล้ว ควรมีการปรับหน้าดิน ให้เรียบและมีความลาดเอียงเล็กน้อย (ไม่เกิน 0.3 เปอร์เซนต์) เพื่อสะดวกในการให้น้ำและระบายน้ำออกจากแปลงกรณีฝนตกหนัก และป้องกันน้ำขังอ้อยเป็นหย่อมๆ เมื่อปรับพื้นที่แล้ว ถ้าเป็นแปลง ที่มีชั้นดินดาน ควรมีการใช้ไถระเบิดดินดาน ไถลึกประมาณ 75 เซนติเมตร โดยไถเป็นตาหมากรุก หลังจากนั้น จึงใช้ไถจาน (3 ผาน หรือ 4 ผาน ตามกำลังของแทรกเตอร์) และพรวนตามปกติ แล้วจึงยกร่องปลูกหรือ ถ้าจะปลูกโดยใช้เครื่องปลูกก็ไม่ต้องยกร่อง

ข้อควรระวังในการเตรียมดิน
1. ควรไถเตรียมดิน ขณะดินมีความชื้นพอเหมาะไม่แห้ง หรือเปียกเกินไป
2. ควรเตรียมดินโดยใช้ไถจานสลับกับไถหัวหมู เพื่อไม่ให้ความลึก ของรอยไถอยู่ในระดับเดิมตลอด และการใช้ไถจานตลอด จะทำให้เกิด ชั้นดินดานได้ง่าย
3. ไม่ควรไถพรวนดินจนดินละเอียดเป็นฝุ่น เพราะดินละเอียด เมื่อถูกฝนหรือ มีการให้น้ำจะถูกชะล้างลงไปอุดอยู่ตามช่องว่างระหว่างเม็ดดิน ทำให้การระบายน้ำและอากาศไม่ดี

การเตรียมท่อนพันธุ์ 
* ควรมาจากแปลงพันธุ์ที่มีความสม่ำเสมอ ตรงตามพันธุ์ ปราศจาก โรคและแมลง มีอายุที่เหมาะสม คือประมาณ 8-10 เดือน
* เกษตรกรควรทำแปลงพันธุ์อ้อยไว้ใช้เอง เพื่อลดค่าใช้จ่าย ในการซื้อพันธุ์อ้อย และเป็นการวางแผนการปลูกอ้อยที่ถูกต้อง
* มีการป้องกันกำจัดโรคและแมลงที่ถูกต้อง เช่น มีการชุบน้ำร้อน 50 องศาเซลเซียส 2 ชั่วโมง หรือ 52 องศาเซลเซียส ครึ่งชั่วโมง เพื่อป้องกัน โรคใบด่าง โรคตอแคระแกร็น โรคกลิ่นสับปะรด ลดการเป็นโรคใบขาว
และโรคกอตะไคร้ อย่างไรก็ตาม ท่อนพันธุ์ที่จะชุบน้ำร้อนควรมีอายุประมาณ 8-10 เดือน เพราะว่า ถ้าใช้ท่อนพันธุ์อายุน้อยกว่า 8 เดือน เปอร์เซ็นต์ ความงอกของอ้อยจะลดลง
* การใช้ปุ๋ยไนโตรเจนอัตรา 10-20 กก.N/ไร่ ก่อนการตัดอ้อย ไปทำพันธุ์ 1 เดือน ช่วยทำให้อ้อยมีความงอก และความแข็งแรงของ หน่ออ้อยดีขึ้น
* อ้อยจากแปลงพันธุ์ 1 ไร่ (อายุ 8-10 เดือน) สามารถ ปลูกขยายได้ 10 ไร่

ฤดูปลูก
การปลูกอ้อยในปัจจุบัน สามารถแบ่งตามฤดูปลูกได้เป็น 2 ประเภท
1. การปลูกอ้อยต้นฝน ซึ่งยังแบ่งเป็น 2 เขต คือ
- ในเขตชลประทาน (20 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ปลูกอ้อย ทั้งประเทศ) ส่วนใหญ่จะปลูกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน
- ในเขตอาศัยน้ำฝน ส่วนใหญ่จะปลูกในช่วงเดือน เมษายนถึงมิถุนายน
2. การปลูกอ้อยปลายฝน (การปลูกอ้อยข้ามแล้ง) สามารถทำได้ เฉพาะในบางพื้นที่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ที่มีปริมาณและการกระจายของฝนดี และดินเป็นดินทรายหรือดินร่วนปนทราย การปลูกอ้อยประเภทนี้จะปลูกประมาณกลางเดือนตุลาคมถึงธันวาคม

วิธีปลูก 
การปลูกอ้อยต้นฝนในเขตชลประทาน
พื้นที่ปลูกอ้อยประเภทนี้มีประมาณ 1 ล้านไร่ ซึ่งเกือบทั้งหมดอยู่ใน เขตภาคกลาง และภาคตะวันออก เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการให้ผลผลิต อ้อยสูง ถ้ามีการจัดการที่ดี และตั้งเป้าหมายไว้ว่า ผลผลิตอ้อยในเขตนี ้ไม่ควรต่ำกว่า 15 ตันต่อไร่ การปลูกอ้อยในเขตนี้ มีการปรับเปลี่ยนวิธีปลูก เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้เครื่องจักรกลเกษตร เช่น เครื่องปลูก เครื่องใส่ปุ๋ย เครื่องกำจัดวัชพืช และรถเก็บเกี่ยว เป็นต้น 
- ถ้าใช้คนปลูกจะยกร่องกว้าง 1.4-1.5 เมตร (เดิมใช้ 1.3 เมตร) วางพันธุ์อ้อยเป็นลำโดยใช้ลำเดี่ยวเกยกันครึ่งลำ หรือ 2 ลำคู่ ตามลักษณะการแตกกอของพันธุ์อ้อยที่ใช้ ตัวอย่าง เช่น ถ้าใช้อ้อยพันธุ์ K 84-200 ซึ่งมีการแตกกอน้อย ควรปลูก 2 ลำคู่ หลังจากวางพันธุ์อ้อย ควรใช้จอบสับลำอ้อยเป็น 2-3 ส่วน แล้วกลบด้วยดินหนาประมาณ 5 เซนติเมตร 
- ถ้าใช้เครื่องปลูก หลังจากเตรียมดินแล้ว ไม่ต้องยกร่อง จะใช้ เครื่องปลูกติดท้ายแทรกเตอร์ โดยจะมีตัวเปิดร่อง และช่องสำหรับใส่ พันธุ์อ้อยเป็นลำ และมีตัวตัดลำอ้อยเป็นท่อนลงในร่อง และมีตัวกลบดิน ตามหลัง และสามารถดัดแปลงให้สามารถใส่ปุ๋ยรองพื้น พร้อมปลูกได้เลย ปัจจุบันมีการใช้เครื่องปลูกทั้งแบบเดี่ยวและแถวคู่ โดยจะปลูกแถวเดี่ยว ระยะแถว 1.4-1.5 เมตร ในกรณีนี้ใช้พันธุ์อ้อยที่แตกกอมาก และจะ ปลูกแถวคู่ระยะแถว 1.4-1.5 เมตร ระยะระหว่างคู่แถว 30-40 เซนติเมตร ในกรณีใช้พันธุ์อ้อยที่แตกกอน้อย ปัจจุบันในประเทศ ออสเตรเลียมีการใช้เครื่องปลูกอ้อยเป็นท่อน (billet planter) โดยใช้รถตัดอ้อยตัดพันธุ์อ้อยเป็นท่อน แล้วนำมาใส่เครื่องปลูกที่สามารถ เปิดร่องและโรยท่อนพันธุ์อ้อยแล้วกลบ เหมือนปลูกพืชที่ใช้เมล็ดอย่างอื่น เช่น ข้าวโพด หรือถั่วต่าง ๆ 
การปลูกอ้อยต้นฝนในเขตอาศัยน้ำฝน
พื้นที่ปลูกอ้อยส่วนใหญ่จะอยู่ในประเภทนี้ และเป็นพื้นที่ที่มีความ แปรปรวนในเรื่องผลผลิตสูง และผลผลิตเฉลี่ยของอ้อยต่ำกว่า 10 ตันต่อไร่ มีสาเหตุหลัก 2 ประการ คือ ปริมาณและการกระจายตัวของฝนไม่ดี และดินส่วนใหญ่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ การใส่ปุ๋ยก็จะมีความเสี่ยงสูงและ หาจังหวะการใส่ปุ๋ยให้มีประสิทธิภาพสูงยาก (ถ้าดินไม่มีความชื้น พืชก็ดูดปุ๋ยที่ใส่ไปใช้ไม่ได้)
แนวทางที่จะพัฒนาผลผลิตอ้อยในเขตนี้ก็คือ ต้องพยายามหาแหล่งน้ำ (น้ำใต้ดิน,ขุดสระเก็บกักน้ำ) เพื่อให้น้ำอ้อยได้ในช่วงวิกฤตและที่สำคัญ คือ ถ้ามีน้ำสามารถปลูกอ้อยได้เร็วโดยไม่ต้องรอฝน (ปลูกได้ก่อนสิ้นเดือน พฤษภาคม) ก็จะสามารถเพิ่มผลผลิตและคุณภาพของอ้อยในเขตนี้ได้ เพราะอ้อยที่ปลูกล่า (หลังเดือนพฤษภาคม) ทั้งผลผลิต และคุณภาพจะต่ำ เพราะอายุอ้อยยังน้อยช่วงตัดเข้าโรงงาน วิธีการปลูกอ้อยในเขตนี้จะคล้ายกับ ในเขตชลประทาน จะแตกต่างก็เพียงระยะห่างระหว่างร่องในบางพื้นที่จะใช ้แคบกว่า คือ ประมาณ 0.9-1.2 เมตร เพราะอ้อยในเขตนี้จะแตกกอ น้อยกว่าการลดระยะแถวลง ทำให้สามารถเพิ่มจำนวนลำเก็บเกี่ยว อ้อยต่อพื้นที่ได้ และปัจจุบันเกษตรกรในหลายพื้นที่ (เช่น อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์) เปลี่ยนมาปลูกอ้อย แถวคู่ โดยใช้ระยะระหว่างคู่แถว 1.4-1.5 เมตร และระยะในคู่แถว 30-40 เซนติเมตร และได้ผลผลิตใกล้เคียงกับการปลูกแถวแคบ แต่การจัดการในไร่อ้อยจะสะดวกกว่า เพราะใช้เครื่องจักรเข้าทำงานได้

การปลูกอ้อยปลายฝน (ปลูกข้ามแล้ง)
เป็นการปลูกอ้อยโดยอาศัยความชื้นในดินช่วงปลายฤดูฝน เพื่อให้อ้อยงอกและเจริญเติบโตอย่างช้า ๆ ไปจนกว่าอ้อยจะ ได้รับน้ำฝนต้นฤดู เป็นวิธีการปลูกอ้อยที่ใช้ได้ผลในเขตปลูกอ้อย อาศัยน้ำฝนบางพื้นที่ที่ดินเป็นดินทราย หรือร่วนปนทราย และที่สำคัญ จะต้องมีปริมาณน้ำฝนไม่ต่ำกว่า 1,200 มิลลิเมตรต่อปี และมีการ กระจายตัวดี โดยเฉพาะในช่วงต้นฤดู (กุมภาพันธ์ ถึงเมษายน) จะต้องมีปริมาณฝนที่พอเพียงกับการเจริญเติบโตของอ้อยในช่วงแรก การเตรียมดินปลูกจะต้องไถเตรียมดินหลายครั้ง จนหน้าดินร่วนซุย (เพื่อตัด capillary pore) เป็นการรักษาความชื้นในดินชั้นล่าง หลังจาก เตรียมดิน ควรรีบยกร่องและปลูกให้เร็วที่สุด เพื่อให้ทันกับความชื้น และควรยกร่องปลูกวันต่อวัน 
พันธุ์อ้อยที่ใช้ปลูกข้ามแล้ง จะเป็นพันธุ์ที่ค่อนข้างแก่ คือ อายุประมาณ 8-10 เดือน เกษตรกรนิยมปลูกอ้อยแบบทั้งลำ โดยจะชักร่องให้ลึก ระยะแถว 1.0-1.3 เมตร และวางลำอ้อยในร่องแล้วใช้จอบสับลำอ้อยเป็น 2-3 ส่วน กลบดินหนาประมาณ 10-15 เซนติเมตร และใช้เท้าเหยียบดิน ที่กลบให้แน่นพอประมาณ เพื่อให้ท่อนพันธุ์อ้อยสัมผัสกับดินชื้นมากที่สุด ปัจจุบันมีการใช้เครื่องปลูกในพื้นที่นี้มากขึ้น โดยจะตั้งเครื่องปลูกให้ลึก กว่าปกติ
ข้อดีของการปลูกอ้อยด้วยวิธีนี้ คือ
- อ้อยที่ปลูกโดยวิธีนี้จะมีอายุไม่น้อยกว่า 12 เดือน ในช่วงตัดอ้อยเข้าโรงงาน ทำให้ทั้งผลผลิตและคุณภาพ (ความหวาน) ดีกว่าอ้อยที่ปลูกต้นฝน
- ปัญหาเรื่องวัชพืชรบกวนอ้อยในช่วงแรกจะน้อย เพราะหน้าดิน จะแห้งอยู่ตลอดเวลา ในช่วงแรกของการเจริญเติบโต
ข้อเสียของการปลูกอ้อยวิธีนี้ คือ
- ถ้ามีฝนตกหลังปลูกหรือช่วงอ้อยยังเล็ก จะทำให้หน้าดินแน่น อ้อยเจริญเติบโตไม่ดี จำเป็นต้องมีการคราดหน้าดิน เพื่อไม่ให้หน้าดิน แน่นรัดหน่ออ้อย
- ในบางปีฝนต้นฤดูน้อย หรือมาล่า อาจทำให้อ้อยเสียหายได้

การปลูกซ่อม
การปลูกอ้อยเพื่อให้ได้ผลผลิตสูงนั้น อ้อยปลูกจะต้องมีหลุมขาดหาย น้อยที่สุด และหลุมที่ขาดหายต่อเนื่องกันเกิน 1 หลุม อ้อยหลุมข้างเคียงจะ ไม่สามารถชดเชยผลผลิตได้ ดังนั้น ถ้ามีหลุมขาดหายต่อเนื่องกันมาก ควรมีการปลูกซ่อม และจะต้องปลูกซ่อมภายใน 20 วันหลังปลูก เพื่อให้อ้อยที่ปลูกซ่อมเจริญเติบโตทันอ้อยปลูกปกติ
สำหรับในอ้อยตอ ไม่แนะนำให้ปลูกซ่อม เพราะอ้อยที่ปลูกซ่อม ในอ้อยตอจะมีเปอร์เซ็นต์รอดน้อย และถึงจะรอดก็ไม่สมบูรณ์ เนื่องจากถูก กออ้อยข้างเคียงบังแสง ดังนั้น ในอ้อยตอที่มีหลุมตายหรือขาดหายมาก เกินกว่าที่หลุมข้างเคียงจะแตกกอชดเชยได้ ก็ควรจะรื้อตอและปลูกใหม่

การใช้ปุ๋ยเคมีและการจัดการดินอย่างมีประสิทธิภาพ
การใช้ปุ๋ยเคมีอย่างมีประสิทธิภาพและสามารถลดต้นทุนการผลิตอ้อย มีหลักปฏิบัติ ดังนี้
1. การใส่ปุ๋ยให้ถูกต้องตรงต่อความต้องการทั้งชนิดและปริมาณ
2. ลดการสูญเสียปุ๋ย
3. ใช้ปุ๋ยราคาต่ำทดแทนปุ๋ยราคาแพง หรือผสมปุ๋ยใช้เอง
4. การปรับปรุงดินให้มีคุณสมบัติเหมาะสม

การใส่ปุ๋ยให้ถูกต้องตรงต่อความต้องการทั้งชนิดและปริมาณ
การใส่ปุ๋ยเคมีให้ได้ถูกต้องตรงกับชนิดดินและความต้องการของอ้อย เป็นการลดต้นทุนการผลิตได้อย่างดี การใส่ธาตุอาหารลงไปในดินโดยที่ดินนั้น ๆ มีธาตุอาหารเพียงพออยู่แล้ว จะเป็นการลงทุนที่เปล่าประโยชน์ นอกจากนี้ ปุ๋ยส่วนเกินความต้องการของอ้อยจะถูกชะล้างลงสู่ บ่อ คู คลอง และแหล่งน้ำใต้ดิน ก่อให้เกิดมลภาวะอย่างรุนแรงทั้งสิ้น สำหรับการปลูกอ้อย ในประเทศไทย พบว่า มีเกษตรกรชาวไร่อ้อยน้อยรายที่มีความรู้ความเข้าใจ เรื่องการใช้ปุ๋ยเคมี ดังนั้น ถ้าเรามีการใช้ปุ๋ยเคมีทั้งชนิดและอัตราที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยในไร่อ้อย เป็นการลดต้นทุนค่าปุ๋ย และลด มลภาวะที่จะเกิดจากการปนเปื้อนของปุ๋ยในอากาศ และน้ำ รวมทั้งลด ค่าใช้จ่ายการนำเข้าปุ๋ยจากต่างประเทศอีกด้วย การจะใช้ปุ๋ยให้ถูกต้องได้จะต้องมีความรู้ความเข้าใจถึงลักษณะทางเคมีของดิน เพราะลักษณะทางเคมีของดินมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโต และการ ให้ผลผลิตของอ้อยมากเนื่องจากเป็นลักษณะที่แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของดิน และปริมาณธาตุอาหารในดิน ที่จะเป็นประโยชน์แก่อ้อย รวมถึงความเป็นพิษ ของธาตุบางอย่างด้วย ลักษณะทางเคมีของดินที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตของอ้อย ได้แก่ ความเป็นกรดเป็นด่างของดิน ความเค็ม ความจุในการแลกเปลี่ยนประจุบวก ความอิ่มตัวของด่าง ปริมาณอินทรีย์วัตถุในดิน และปริมาณของธาตุอาหารต่าง ๆ ในดิน คุณสมบัติทางเคมีของดินเหล่านี้ไม่สามารถบ่งบอกได้ด้วย การสัมผัสหรือดูด้วยตาเปล่า เหมือนคุณสมบัติทางกายภาพ
วิธีประเมินว่า ดินที่ปลูกอ้อยอยู่จะมีคุณสมบัติทางเคมีดีหรือเลวเพียงใด คือ
- การสังเกตอาการขาดธาตุอาหารของอ้อย วิธีนี้ต้องอาศัยความชำนาญ และประสบการณ์ มาวินิจฉัยอาการผิดปรกติที่ปรากฎที่ใบและต้นอ้อยว่า เป็นอาการขาดธาตุใด จึงสรุปได้ว่า ดินมีธาตุนั้นไม่เพียงพอต่อความต้องการ ของอ้อย
- การทดลองใส่ปุ๋ยให้กับอ้อย อาจทำในกระถาง หรือในไร่นา โดย เปรียบเทียบกับดินที่ไม่มีการใส่ปุ๋ย ถ้าอ้อยที่ใส่ปุ๋ยชนิดต่างๆ มีการเจริญเติบโตแตกต่างไปจากดินที่ไม่ได้ใส่ปุ๋ย แสดงว่าดินชนิดนั้นยังมีธาตุอาหารไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของอ้อย
- การวิเคราะห์ดิน โดยนำตัวอย่างดินมาตรวจสอบหาค่าต่าง ๆ วิธีนี้เป็นการประเมินที่ถูกต้องแม่นยำกว่าสองวิธีแรก แต่ชาวไร่ไม่สามารถปฏิบัติได้ด้วยตนเอง ต้องส่งตัวอย่างดินไปยังหน่วย บริการต่างๆ ซึ่งจะใช้วิธีการทางเคมี วิเคราะห์องค์ประกอบของดิน ในส่วนที่เป็นธาตุอาหาร เพื่อประเมินว่า ดินนั้นขาดธาตุใดบ้าง และควร บำรุงดินอย่างไรจึงจะเหมาะสม
- การวิเคราะห์พืช วิธีนี้เป็นวิธีที่ถูกต้องแม่นยำที่สุด แต่ปฏิบัติได้ ยุ่งยากกว่า มีวิธีการเช่นเดียวกับการวิเคราะห์ดิน คือ นำตัวอย่างพืช มาใช้วิธีการทางเคมีแยกองค์ประกอบของเนื้อเยื่อพืช เพื่อให้ทราบว่า มีธาตุอาหารใดสูงต่ำมากน้อยเพียงใด แล้วนำมาเทียบกับค่าวิกฤต แล้วจึง ประเมินเป็นปริมาณธาตุอาหารที่จะต้องใส่ให้แก่อ้อย
วิธีที่เหมาะสมสำหรับชาวไร่อ้อย น่าจะเป็นวิธีวิเคราะห์ดิน ซึ่งมี หน่วยงานรับบริการวิเคราะห์ทั้งทางราชการและเอกชน อีกทั้งมีเครื่องมือ ที่ทันสมัยขึ้น ทำให้วิเคราะห์ได้รวดเร็วกว่าสมัยก่อนมาก การวิเคราะห์ดิน จะมีวิธีดำเนินการ 4 ขั้นตอน คือ
1. การเก็บตัวอย่างดิน การเก็บตัวอย่างดินให้ได้ตัวอย่าง ซึ่งเป็น ตัวแทนของพื้นที่ เป็นขั้นตอนแรกที่มีความสำคัญที่สุด เกษตรกรผู้เก็บ ตัวอย่างดินต้องเข้าใจวิธีการและขั้นตอนการปฏิบัติโดยใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสม เพื่อให้ได้ตัวอย่างดินที่ดี ค่าวิเคราะห์ที่ไม่ผิดพลาด
2. การวิเคราะห์ดินในห้องปฏิบัติการ ได้จากการนำตัวอย่างดิน ที่เก็บมาส่งไปวิเคราะห์ เป็นหน้าที่ของนักวิทยาศาสตร์ที่จะวิเคราะห์ดิน
ด้วยวิธีมาตรฐาน เพื่อให้ได้ค่าวิเคราะห์ถึงคุณสมบัติทางเคมีของดิน เพื่อความถูกต้องของข้อมูล
3. การแปลความหมายของผลการวิเคราะห์ดิน เป็นการนำข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์มาเทียบเคียงปริมาณการใช้ธาตุอาหารต่าง ๆ ของอ้อย แล้วแปลข้อมูลนั้นว่า ดินที่วิเคราะห์มีความอุดมสมบูรณ์ ต่ำ ปานกลาง หรือสูง
4. การให้คำแนะนำการปฏิบัติหรือใส่ปุ๋ยเพื่อปรับปรุงดิน จากผลการ แปลความหมายข้างต้น นักวิชาการเกษตร จะให้คำแนะนำแก่ชาวไร่อ้อย เจ้าของตัวอย่างดินว่า หากประสงค์จะปลูกอ้อยให้ได้ผลดี ควรใช้ปูน เพื่อสะเทินกรดในดินอัตรากี่กิโลกรัมต่อไร่ ควรใช้ปุ๋ยสูตรใด อัตราใด และใส่อย่างไร จึงจะให้ผลดีต่อพืชที่ปลูก
การใช้ปุ๋ยในกรณีที่ไม่มีการวิเคราะห์ดิน
- การใช้ปุ๋ยเคมีกัยที่ปลูกในดินเหนียวกับดินร่วน
ดินลักษณะนี้มักจะมีธาตุฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมอยู่บ้าง จึงเน้นหนักทางด้านธาตุไนโตรเจน ซึ่งสามารถแนะนำเป็นปุ๋ยเคมีสูตร 14-14-14 , 15-15-15 หรือ 16-16-16 อัตรา 40-50 กิโลกรัมต่อไร่ โดยใส่ครั้งแรกหลังปลูก 1 เดือน หรือหลังแต่งตอทันที ใส่ครั้งที่ 2 หลังปลูกหรือแต่งตอ 2-3 เดือน
ถ้าไม่สะดวกที่จะใช้ปุ๋ยสูตรที่กล่าวมานี้ อาจใช้ปุ๋ยสูตรอื่นที่หา ได้ตามท้องตลาด เช่น 16-8-8, 20-10-10, 16-6-6, 18-6-6, 18-8-8, หรือ 25-7-7 อัตรา 70-90 กิโลกรัมต่อไร่ โดยแบ่งครึ่ง ใส่หลังปลูกหรือหลังแต่งตอทันที ส่วนอีกครึ่งหนึ่งใส่หลังปลูกหรือหลังแต่งตอ 2-3 เดือน
ถ้าพื้นที่ปลูกมีน้ำชลประทาน ควรเพิ่มปุ๋ยยูเรีย อัตรา 15-20 กิโลกรัมต่อไร่ หรือปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต อัตรา 25-30 กิโลกรัมต่อไร่ ในการใส่ครั้งที่ 2
-การใช้ปุ๋ยเคมีกับอ้อยในดินทราย
ดินทรายมักจะขาดธาตุโพแทสเซียม เนื่องจากถูกชะล้างจาก อนุภาคดินได้ง่ายจึงแนะนำให้ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 12-12-12, 13-13-13 หรือ 14-14-21 อัตรา 40-60 กิโลกรัมต่อไร่ โดยใส่พร้อมปลูกหรือ หลังแต่งตอ 20 กิโลกรัม ส่วนที่เหลือใส่ครั้งที่ 2 ร่วมกับปุ๋ยสูตร 21-0-0 อัตรา 30-40 กิโลกรัมต่อไร่ หรือ 46-0-0 อัตรา 15-20 กิโลกรัม ต่อไร่ โดยใส่หลังปลูกหรือหลังแต่งตอ 60 วัน
อาจใช้ปุ๋ยสูตรอื่นที่มีขายตามท้องตลาดได้ เช่น 16-8-14, 15-5-20 หรือ 16-11-14 โดยใส่ในอัตราเดียวกัน คือ 40-60 กิโลกรัมต่อไร่
สำหรับอ้อยที่มีน้ำชลประทานให้เพิ่มปุ๋ยยูเรีย อัตรา 15-20 กิโลกรัมต่อไร่ หรือปุ๋ยแอมโมเนียซัลเฟต อัตรา 25-30 กิโลกรัมต่อไร่ ในการใส่ครั้งที่ 2 เช่นเดียวกับในสภาพดินเหนียวและดินร่วน
- การใช้ปุ๋ยแบบเจาะจงเฉพาะพื้นที่
ปััจจุบันได้มีความพยายามให้มีการใช้ปุ๋ยเคมีให้เฉพาะเจาะจงต่อ ความต้องการของอ้อย และคุณสมบัติของดินมากยิ่งขึ้น ได้พัฒนาระบบ คำแนะนำการใช้ปุ๋ยเคมีในการผลิตอ้อย โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ โปรแกรมดังกล่าวจะสามารถบอกได้ว่าในพื้นที่ปลูกอ้อยของจังหวัดต่าง ๆ หรือจุดที่ทำไร่อ้อยอยู่นั้นอยู่บนกลุ่มชุดดินอะไร มีคุณสมบัติอย่างไร หรือมีความอุดมสมบูรณ์มากแค่ไหน ประกอบด้วยธาตุอาหารอ้อยอะไรบ้าง และควรจะใส่ปุ๋ยเคมีชนิดไหนบ้างในอัตราเท่าไร เช่น จังหวัดเพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ พื้นที่ส่วนใหญ่จะเป็นดินทราย อยู่ในกลุ่มชุดดินที่ 35 และ 35/36 คล้ายคลึงกับดินที่ปลูกอ้อยทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือชุดดินมาบบอน ชุดดินปราณบุรี และชุดดินโคราช หน่วยแผนที่ดินใน กลุ่มนี้มีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทราย ส่วนดินล่างเป็นดินร่วนเหนียวปนดินทราย มีสีน้ำตาล สีเหลือง หรือแดง ส่วนมากเกิดจากดินพวกตะกอนลำน้ำ หรือการสลายตัวผุพังของเนื้อหินหยาบ พบบริเวณพื้นที่ดอนที่เป็น ลูกคลื่นลอนลาดถึงลอนชัน เป็นดินลึกมีการระบายน้ำดี คุณสมบัต ิทางกายภาพทำให้ดินดังกล่าวเหมาะสำหรับการปลูกอ้อย อย่างไรก็ตาม ดินกลุ่มนี้มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติค่อนข้างต่ำถึงปานกลาง ดังนั้น การเพิ่มเติมธาตุอาหารให้แก่อ้อยยังมีความจำเป็น การมีเนื้อดินบน ค่อนข้างเป็นทราย ทำให้ดินอุ้มน้ำได้น้อย อ้อยอาจขาดแคลนน้ำ ได้ในช่วงฝนทิ้งช่วง

การลดการสูญเสียปุ๋ย
ปุ๋ยเคมีที่ใส่ให้แก่อ้อย โดยเฉพาะไนโตรเจนมีการสูญเสียได้หลายทาง เนื่องจากกระบวนการต่าง ๆ ที่ใส่ลงไปในดิน ฟอสฟอรัสเองก็ถูกตรึง ให้อยู่ในสภาพที่ไม่เป็นประโยชน์ อ้อยดูดไปใช้ได้ไม่ถึง 10 เปอร์เซ็นต์ ของปุ๋ยฟอสฟอรัสที่ใส่ให้แก่อ้อย การสูญเสียของธาตุอาหารที่ใส่ลงไปในดิน โดยที่อ้อยไม่ได้นำไปใช้ ถือได้ว่าเป็นการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายโดยไม่ก่อ ประโยชน์ ถ้าสามารถลดการสูญเสียลงได้ จะเป็นการลดต้นทุนการผลิต ทำให้ใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
เมื่อเราใส่ปุ๋ยไนโตรเจนลงในดิน ปุ๋ยจะได้รับความชื้นแล้วละลาย พร้อมทั้งแตกตัวเป็นไอออน (NH4+, NO3-) ที่พืชสามารถดูดไป ใช้ได้พร้อมทั้งเกิดการสูญเสียตลอดเวลาโดยกระบวนการต่าง ๆ เช่น
1. กระบวนการชะล้าง (run off) ถ้าให้น้ำมากๆ หรือ ฝนตกชุกจะพัดพาปุ๋ยไหลบ่าออกไปจากแปลง
2. กระบวนการชะปุ๋ยลงลึกเลยรากอ้อย (leaching) เกิดในสภาพที่ฝนตกชุกหรือให้น้ำมาก ๆ และดินมีอัตราการซึมน้ำสูง น้ำจะพาปุ๋ยลงลึกจนเลยรากอ้อยไป
3. กระบวนการระเหิด (volatilization) ไนโตรเจน ในรูปของไอออน NH4+ จะเปลี่ยนรูปเป็นก๊าซแอมโมเนีย ระเหยขึ้นสู่อากาศ
4. กระบวนการระเหย (denitrification) มักเกิดใน สภาพน้ำขัง หรือดินอิ่มตัวด้วยน้ำแล้วขาดออกซิเจน ไนโตรเจน จะ เปลี่ยนรูปเป็นก๊าซลอยไปในอากาศ
5. กระบวนการสูญเสียชั่วคราว (immobilization) เกิดขึ้นมาก ในดินที่มีเศษซาก พืชที่ยังไม่ย่อยสลายมาก ๆ เมื่อซากพืชเหล่านี้อยู่ในดิน จุลินทรีย์จะย่อยสลายแล้วเพิ่มปริมาณตัวเองอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ เพิ่มปริมาณจะดูดดึงเอาไนโตรเจนจากดินและปุ๋ยไปใช้ด้วย จึงทำให้อ้อย ขาดไนโตรเจนต่อเมื่อซากพืชถูกย่อยสลายหมด จุลินทรีย์ขาดอาหารจึงตายลง พร้อมทั้งปลดปล่อยไนโตรเจนออกมาใหม่ จะสังเกตได้ว่า ถ้าปลูกอ้อย ลงไปในดินที่ไถกลบซากพืชใหม่ ๆ อ้อยจะเหลือง หรือแม้กระทั่ง อ้อยตอที่มีใบและเศษซากอ้อยที่ยังไม่สลายตัว ทำให้อ้อยตอไม่เขียว เหมือนอ้อยปลูกเพราะขาดไนโตรเจน จึงแนะนำให้เพิ่มอัตรา ไนโตรเจนในอ้อยตอ

นอกจากกระบวนการทั้ง 5 แล้วไนโตรเจนจากปุ๋ยยังอาจถูกดูดยึดไว้ใน ดินจนอ้อยไม่สามารถดูดมาใช้ได้ จากงานวิจัยของหลาย ๆ ประเทศ พบว่า อ้อยดูดใช้ธาตุอาหารได้ไม่ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ ของปุ๋ยที่ใส่ลงไป เพื่อเป็นการประหยัดจึงควรลดการสูญเสียปุ๋ย โดยการปฏิบัติดังนี้
1. อย่าใส่ปุ๋ยลงผิวดิน ควรใส่ฝังลงในดินหรือมีการกลบปุ๋ย
2. หลังใส่ปุ๋ยแล้ว อย่าให้น้ำขัง ควรมีการระบายน้ำ
3. ใส่ปุ๋ยในขณะดินมีความชื้น หรือให้น้ำตามทันทีเพื่อให้ปุ๋ยละลาย อ้อยดูดไปใช้ได้ง่าย จะลดการสูญเสียได้มาก
4. อย่าปลูกอ้อยทันทีหลังจากไถกลบใบและเศษซากอ้อย ทิ้งให้ใบย่อยสลายก่อนจึงปลูกอ้อยแล้วใส่ปุ๋ย
5. อย่าให้น้ำมากเกินความจำเป็น

การใช้ปุ๋ยราคาต่ำทดแทนปุ๋ยราคาแพงหรือผสมปุ๋ยใช้เอง
ชาวไร่อ้อยไม่จำเป็นต้องใช้ปุ๋ยเคมีราคาแพง ๆ เสมอไป อาจใช้ปุ๋ยอื่น ๆ ที่มีปริมาณธาตุอาหารใกล้เคียงกันแต่ราคาถูกกว่ามาใช้แทนกันได้ เช่น การใช้ปุ๋ยน้ำจากโรงงานผงชูรส ซึ่งมีไนโตรเจนประมาณ 3 เปอร์เซ็นต์ ถ้าใช้ในอัตราแนะนำ 600 ลิตรต่อไร่ ก็จะได้ไนโตรเจนถึง 18 กิโลกรัม เท่ากับไนโตรเจนจากปุ๋ย 15-15-15 ถึง 120 กิโลกรัม แต่ราคาจะถูกกว่ามาก การผสมปุ๋ยใช้เอง สามารถประหยัดได้ถึงตันละ 1,000-2,000 บาท และยังมีข้อดีอื่น ๆ อีก เช่น
- ตัดปัญหาเรื่องปุ๋ยปลอม หรือปุ๋ยไม่ได้มาตรฐาน
- มีปุ๋ยใช้ทันเวลา 
- มีอำนาจในการต่อรองราคา
- เกิดความรู้ความชำนาญ สามารถปรับสูตรได้
- ได้ใช้ปุ๋ยในราคายุติธรรม
- กรณีเกิดการสูญเสีย จะสูญเสียน้อยกว่า เพราะลงทุนถูกกว่า
- มีทางเลือกเพิ่มขึ้น

การปรับปรุงดินให้มีลักษณะเหมาะสม
การรปรับปรุงดินให้เหมาะสมจะทำให้การใช้ปุ๋ยเคมีมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้ลดการใช้ปุ๋ยลงไปได้มาก ขณะที่ปัจจุบันดินที่ใช้ในการทำไร่อ้อย เสื่อมสภาพลงมาก เนื่องมาจากการไถพรวนบ่อยครั้งโดยไม่ถูกวิธี และไม่ถูกจังหวะ การเผาอ้อย การใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่ น้ำหนัก มากเหยียบย่ำในแปลง ซึ่งมีวิธีการปฏิบัติที่จะปรับปรุงดินได้ดังนี้้
* การแก้ไขเฉพาะหน้าในกรณีเกิดปัญหาดินดาน
1. ถ้าเกิดดินดานให้ใช้ไถสิ่ว หรือไถเปิดดินดานติดรถแทรกเตอร์ตีน ตะขาบที่มีกำลังสูงลากไถสิ่วคู่ระยะ 1 เมตร ไถลึกประมาณ 75 ซม. การไถควรทำขณะที่ดินแห้งจัด
2. อย่าเตรียมดินโดยการไถพรวนจนละเอียดเป็นฝุ่น
3. เตรียมดินโดยใช้ไถจานกับไถหัวหมูสลับกันบ้าง
4. อย่าเผาใบอ้อย เพราะเป็นการทำให้อินทรียวัตถุ หมดไปอย่างรวดเร็ว
5. ควรเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดิน โดยการใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด หรือเศษของเหลือจากโรงงานน้ำตาล เช่น ชานอ้อย หรือกากตะกอนหม้อกรอง
* การปรับปรุงดินโดยการปลูกพืชตระกูลถั่วแล้วไถกลบ 
การปลูกพืชตระกูลถั่วแล้วไถกลบก่อนปลูกอ้อย นิยมปฏิบัติกันมานานแล้วในประเทศ ออสเตรเลีย ไต้หวัน และแอฟริกา ซึ่งมี วิธีการปฏิบัติดังนี้
1. เมื่อผลผลิตอ้อยตอ 3 ถึง ตอ 4 ลดลง ทำการไถรื้อตอ
2. หว่านเมล็ดโสนอัฟริกัน โสนอินเดีย ปอเทือง ถั่วพร้า ถั่วพุ่ม หรือถั่วแปยี
3. หลังจากนั้นประมาณ 2 เดือน หรือเมื่อถั่วออกดอก ใช้จอบหมุนตีกลบ ทิ้งไว้ประมาณ 1 เดือน
4. ทำการเตรียมดินปลูกอ้อยตามปกติ 

ที่มา กรมวิชาการเกษตร

view