การใส่ปุ๋ยมะเขือพวง
พันธุ์ มะเขือพวงที่ปลูกกันอยู่ส่วนมาก เป็นพันธุ์พื้นเมืองซึ่งปลูกกันมานาน
การเตรียมดิน ไถ หรือขุดดิน ตากไว้ประมาณ 7-10 วัน ใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก เก็บวัชพืช พรวนดิน ยกร่องเป็นแปลงๆ หรือชักร่องสำหรับปล่อยน้ำไปตามร่องรอการปลูก
การเพาะกล้า ขุดดินตากแดดประมาณ 10 วัน ย่อยดิน ใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักลงแปลง หว่านเมล็ดพันธุ์ โรยทับด้วยฟางข้าว รดน้ำให้ชุ่ม เช้า-เย็น จนกว่าเมล็ดพันธุ์งอก หรือเพาะในกระบะเพาะ เมื่อกล้ามีใบจริงประมาณ 3-4 ใบ ก็นำไปปลูกได้จะทำให้ต้นกล้าตั้งตัวได้ดีกว่าการเพาะในแปลงเพาะ
การปลูก เมื่อต้นกล้าอายุได้ประมาณ 30 วัน สูงประมาณ 15 เซนติเมตร ใช้ระยะปลูกระหว่างต้นประมาณ 2-3 เมตร ระหว่างแถวประมาณ 3-4 เมตร ขุดหลุมใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก กลบโคนให้แน่นคลุมด้วยฟางข้าว รดน้ำให้ชุ่ม ส่วนปลูกในร่องปล่อยน้ำ ก็ขุดหลุมนำกล้าลงปลูกได้เลย จะรักษาความชื้นได้ดีกว่าการปลูกแบบร่องแต่ควรดูแลอย่างให้น้ำขัง หรือท่วม
การให้น้ำ ควรให้น้ำอย่างพอเพียง และสม่ำเสมอระยะแรกของการเจริญเติบโต แต่อย่าให้มากเกินไปจนแฉะ
การใส่ปุ๋ย ควรใส่ปุ๋ยคอก และปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง ครั้งแรกรองพื้น และครั้งที่ 2 เมื่อมะเขือพวงอายุได้ 30 วัน โดยโรยรอบโคนต้น และพรวนดินกลบ
การกำจักวัชพืช ควรกำจัดวัชพืชอยู่เสมอ เพื่อไม่ให้แย่งน้ำแย่งอาหาร และเป็นที่อยู่ของแมลงศัตรูมะเขือพวงด้วย
การเก็บเกี่ยว เมื่อผลมะเขือพวงโตเต็มที่ไม่อ่อน และแก่จนเกินไป ก็ทยอยเก็บไปเรื่อยๆ และเก็บได้เป็นเวลานาน ส่วนมากมะเขือพวงจะมีราคาดีในฤดูแล้ง(เดือนกุมภาพันธ์-เมษายน)ของทุกปี
โรค โรคของมะเขือพวง เช่น โรคเหี่ยวตาย โรคใบไหม้ โรคราน้ำค้าง โรคราสนิม ป้องกันกำจัดด้วยการพ่นสารป้องกันโรคพืช เช่น เมทาแลคซิล คาร์เบนดาซิล เมนโคเชป ตัวไดตัวหนึ่ง ตามอาการของโรค
แมลงศัตรู มะเขือพวง ได้แก่ เพลี้ยไฟ เพลี้ยจั๊กจั่น เพลี้ยอ่อน แมลงหวี่ขาว หนอนเจาะผล หนอนกระทู้ผัก ป้องกันกำจัดเหมือนกับมะเขือเปราะ มะเขือยาว ถั่วแขก และถั่วฝักยาว