www.Stats.in.th
  สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com

การใส่ปุ๋ยถั่วเหลืองฝักสด

  • ถั่วเหลืองฝักสด

   ถั่วเหลืองฝักสดเป็นพืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจอีกพืชหนึ่งของประเทศไทย

โดยใช้บริโภคภายในประเทศในรูปของอาหารว่างประกอบอาหารและแปรรูปได้อีกหลายอย่างเป็นพืชที่มีศักยภาพในการส่งออกโดยเกษตรกรสามารถปลูกขายให้แก่โรงงานเพื่อส่งออกในรูปแช่แข็ง

         พันธุ์

การเลือกพันธุ์ควรเลือกพันธุ์ที่มีผลผลิตและคุณภาพตรงตามที่โรงงารอุสาหกรรมต้องการเจริญเติบโตดี เหมาะกับสภาพดินฟ้า

         พันธุ์ที่นิยมปลูก 1. พันธุ์สำหรับการส่งออกเป็นพันธุ์ที่ต้านทานต่อโรคราน้ำค้าง เมื่อต้มรสชาติหวานเล็กน้อย เหมาะสำหรับปลูกในภาพเหนือและภาคกลางที่งฤดูแล้งและฤดูฝน

        พันธุ์สำหรับบริโภคภายในประเทศ คือ

       เชียงใหม่ 1 ดอกสีม่วง ขนสีขาว อายุถึงวันออกดอก 30-40 วัน อายุเก็บเกี่ยวฝักสด 75-78 วัน ฝักสดมีสีเขียวเข้ม ไม่ต้านทานต่อโรคราน้ำค้าง ผลผลิตฝักรวมต้นสดเฉลี่ย 1,500 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตฝักสดเฉลี่ย 950 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อต้มมีรสชาติหวานน้อยกว่าพันสำหรับการส่งออก ปลูได้ทุกภาคของประเทศ

      

 

          การปลูก

          การเตรียมดิน ไถด้วยผาล 3 1 ครั้ง ลึก15-20 เซนติเมตร ตากดิน 7-10 วัน พรวนด้วยผาล7 1 ครั้ง ปรับดินให้สม่ำเสมอแล้วคราดเก็บเศษซาก ราก เหง้า หัว และไหลของวัชพืชข้ามปีออกจากแปลงถ้าดินมีความอุดมสมบรูณ์ต่ำ มีอินทรียวัตถุต่ำกว่า 1.5 เปอร์เซนต์  ให้หว่านปุ๋ยคอก อัตรา 300-500 กิโลกรัมต่อไร่ หรือปุ๋ยหมักที่ย่อยสลายดีแล้ว อัตรา 1,500-2,000 กิโลกรัมต่อไร่ แล้วพรวนกลบ

        การเตรียมเมล็ดพันธุ์    ใช้เมล็ดจากแหล่งและแปลงที่ไม่มีโรคระบาด เมล็ดพันธุ์ต้องมีความสมบรูณ์ปราศจากร่องรอยการทำลายของโรคและแมลง มีความงอกไม่น้อยกว่า 75 เปอร์เซนต์   ใช้เมล็ดพันอัตรา 12-15 กิโลกรัมต่อไร่ คลุกกับเชื้อไรโซเบียม 200 กรัม โดยใช้น้ำตาลทราย 75 กิโลกรัม ละลายน้ำ 300 มิลลิลิตร เป็นสารยึดเกาะ แล้วปลูกทันที

        วิธีการปลูก  ใช้แรงงานหรือรถไถเดินตามยกร่องสูง 15-20 เซนติเมตร กว้าง 1  เมตร แล้วปรับหน้าดินให้สม่ำเสมอ  โดยปลูกเป็นแถวคู่บนร่อง ระยะปลูก 50x20 เซนติเมตร ใช้ไม้ปลายแหลมทำหลุมลึก  2-3 เซนติเมตร หยอดเมล็ด 2-3 เมล็ดต่อหลุม  จะได้จำนวนต้น 32,000-48,000 ต้นต่อไร่

        การดูแลรักษา

         การให้ปุ๋ย พันธุ์สำหรับการส่งออก หากดินมีความสมบรูณ์ต่ำกว่าที่ระบุไว้ในข้อลักษณะดินให้ปุ๋ยเคมี 3 ครั้ง และพ่นปุ๋ยทางใบ 5 ครั้ง

          1. รองกันหลุมก่อนปลูกก่อนปลูกด้วยปุ๋ยเคมี 5 นางฟ้าทรงฉัตร สูตร 18-46-0  อัตรา 15 กิโลกรัมต่อไร่ และสูตร 0-0-60 อัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ หรือสูตร 8-24-24  อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่

         2. หลังปลูกประมาณ  15  วัน หว่านปุ๋ยเคมี 5 นางฟ้าทรงฉัตร สูตร 13-13-21 อัตรา 5 กิโลกรัมต่อไร่ แล้วพรวนดินกลบ

           3. หลังปลูกประมาณ  45 วัน หว่านปุ๋ยยูเรีย 5 นางฟ้าทรงฉัตร (30-0-0) อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ ระหว่างแถวบนสันร่องหลังให้น้ำ

           4. ให้ปุ๋ยเสริมโดยใช้เกล็ดสูตร 25-7-7 อัตรา 50 กรัม ร่วมกับปุ๋ยธาตุอาหารเสริม 30 มิลลิลิตร ผสมน้ำ 20 ลิตร พ่นทางใบ 5 ครั้ง ที่อายุ 15,25,35,45 และ 55  วันหลังปลูก

           พันธุ์สำหรับบริโภคภายในประเทศ ให้ปุ๋ยเคมี 2 ครั้ง และพ่นปุ๋ยทางใบ 3-4 ครั้ง

          1.รองกันหลุมก่อนปลูกด้วยปุ๋ยเคมี 5 นางฟ้าทรงฉัตรสูตร 16-16-8 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่

          2. หลังปลูกประมาณ  50 วัน ให้ปุ๋ยเคมีสูตร 30-0-0 อัครา 20 กิโลกรัมต่อไร่ โดยโรยข้างแถวแล้วพรวนดินกลบ

          3. ให้ปุยเสริมทางใบ ใช้ปุ๋ยเกล็ดสูตร  25-7-7 อัตรา 50 กรัมร่วนกับปุ๋ยธาตุอาหารเสริม 1 ซอง (2.5 กรัม) ละลายน้ำ 20 ลิตรพ่นทางใบ 3-4 ครั้ง

 

          การให้น้ำ

          1.ในฤดูแล้ง ควรให้น้ำตามร่องก่อนหยอดเมล็ด สูงประมาณ 3 ส่วน 4 ของร่อง แล้วทิ้งไว้ประมาณ 24 ชั่วโมง เพื่อมห้ดินมีความชื้นเมล็ดจะงอกสม่ำเสมอ

         2.ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ 7-10 วันต่อครั้ง และควรให้น้ำหลังให้ปุ๋ยทุกครั้ง

          3.ต้องไม่ให้ถั่วเหลืองฝักสดขาดน้ำระยะติดฝัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับพันธุ์ส่งออกดพราะจะได้ฝักและเมล็ดที่มีคุณภาพต่ำมาตรฐาน

         โรคและแมลงศัตรูพืช

  • โรคใบจุดนูน

         ลักษณะอาการ ระยะแรกเป็นแผลจุดสีเขียวแกมเหลืองที่ใต้ใบ ต่อมาขยายโตขึ้น กลางแผลจะแห้งตกสะเก็ดเป็นตุ่มเล็กๆ สีน้ำตาลคล้ายโรคราสนิม แต่มีวงสีเหลืองล้อมรอบ รูปร่างและขนาดแผลไม่แน่นอนถ้าอาการรุนแรง ใบจะเหลืองและร่วงก่อนกำหนดเชื้อแบคทีเรียติดไปกับเมล็ด ระบาดรุนแรงในช่วงที่มีอากาศร้อน อบอ้าว อุณหภูมิเฉลี่ย 28 องศาเซลเชียสขึ้นไป

       การป้องการกำจัด  1.ไม่ใช้เมล็ดพันธุ์จากแหล่งและแปลงที่มีโรคระบาด  2.หลังฝนตกไม่ควรลงไปในแปลง เพื่อหลีกเลี่ยงการทำให้เกิดแผลบนใบถั่ว เชื้อเบคทีเรียทำลายได้ง่าย  3.เก็บเศษซากพืชที่เป็นโรค เผาทำลายนอกแปลงปลูก  4.เมื่อโรคเริ่มระบาด ให้พ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืช

 

 

  • โรคราน้ำค้าง

          ลักษณะอาการ เป็นแผลจุดสีเหลืองแกมเขียวด้านบนของใบ ต่อมาขยายใหญ่ แล้วเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล  ขนาดของแผลไม่แน่นอน พบเส้นใยสีเทาของเชื้อราบริเวณแผลด้านใต้ใบ ถ้าอาการรุนแรงแผลจะลุกลามทำให้ใบไหม้ แห้ง และร่วงก่อนกำหนด เชื้อราติดไปกับเมล็ด ระบาดรุนแรงช่วงปลายฤดูฝน ที่มีอากาศค่อนข้างเย็นและความเชื้อสูง

         การป้องกันกำจัด  1.ไม่ใช้เมล็ดพันธุ์จากแหล่งและแปลงที่มีโรคระบาด  2.ใช้พันธุ์ต้านทานต่อโรค  3.คลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช

  • โรคใบยอดย่น

         ลักษณะอาการ ระยะแรกพบใบยอดบุ๋มลึกเป็นรูปถ้วย ต่อมาใบจะบิดเบี้ยว

หรืององุ้ม เส้นใบหดสั้นสานเป็นรากแหสีเขียวเข้มเต็มใบ ก้านใบอ่อนย้วยบิด ลำต้นไม่แข็งแรง ล้มง่ายบิดเบี้ยว ผิวฝักย่น บางครั้งมีรอยบุ๋มที่ฝัก อาจพบอากาศเส้นสีเขียวบนผิวฝัก มีแมลงหวี่ขาวยาสูบเป็นพาหะ ระบาดรุนแรงเมื่ออากาศร้อนและแห้งแล้ง หรือทิ้งช่วงนาน 2-3 สัปดาห์

          การป้องกันกำจัด 1.กำจัดวัชพืชที่เป็นพืชอาศัยของแมลงหวี่ขาวยาสูบ เช่น สาบเสื้อ สาบแร้งสาบกา ผักยาง และเขมรใหญ่ เป็นต้น 2.ไม่ปลูกพืชอาศัยของแมลงหวี่ขาวยาสูบ เช่น มะเขือ ยาสูบ และฝ้าย เป็นต้น 3.พ่นสารป้องกันกำจัดแมลงหวี่ขาวกำจัด

 

  • โรคแอนเทรกโนส

          ลักษณะอาการ เส้นใบมีแผลขนาดเล็กสีน้ำตาล แล้วขยายสู่แผ่นใบ ทำให้ใบเหลือง ไหม้และร่วงก่อนกำหนดแก่ บนกิ่งและลำต้นเป็นแผลสีน้ำตาลดำ ขนาดไม่แน่นอน บนฝักและเมล็ดเป็นจุดหรือตุ่มเล็กๆ สีน้ำตาลดำเรียงวงซ้อนกันเมล็ดจะลีบ หดย่น บางเมล็ดมีแผลสีน้ำตาลและของเหลวสีสัมไหลเยิ้มตามรอยแผล เชื้อราติดไปกับเมล็ด ระบาดรุนแรงเมื่อมีฝนตกในระยะที่ถั่วเหลืองไกล้เก็บเกี่ยว

         การป้องกันกำจัด 1.ไม่ใช้เมล็ดพันจากแหล่งและแปลงที่มีโรคระบาด  2.ถอนต้นที่เริ่มแสดงอาการเป็นโรค เผาทำลายนอกแปลงปลูก  3.กำจัดวัชพืชที่เป็นพืชอาศัยของโรด เช่น ผักยาง หญ้านกสีชมพู โทงเทง หญ้าปากควายและ สาบแร้งสาบกา เป็นต้น 4.พ่นสาป้องกันกำจัดโรคพืช

  • โรคราสนิม

         ลักษณะอาการ เป็นแผลสีน้ำตาลขนาดเล็กใต้ใบ ระยะแรกพบบนใบล่าง ต่อมาระบาดสู่ใบบน สังเกตสปอร์ของเชื้อราเป็นผงสีน้ำตาลคล้ายสนิมเหล็กบริเวณรอยแผล ถ้าระบาดรุนแรงจะพบโรคบนส่วนของลำต้นและก้านใบ ทำให้ใบไหม้และร่วงก่อนกำหนด ระบาดรุนแรงในช่วงปลายฤดูฝน ที่อากาศค่อนข้างเย็นและความชื้นสูง

         การป้องกันกำจัด  1.ควรปลูกถั่วเหลืองในช่วงต้นเดือนกรกฎาคมถึงต้นเดือนสิงหาคม เพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายจากโรค  2.เก็บเศษซากพืชที่เป็นโรค เผาทำลายนอกแปลงปลูก  3. พ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืช

     

  • หนอนแมลงวันเจาะลำลำต้นถั่ว

          ลักษณะการทำลาย ตัวโตเต็มวัยเป็นแมลงวันขนาดเล็กสีเทาดำ ขนาดประมาณ 2 มิลลิเมตรปีกใส  วางไข่เป็นฟองเดียวในเนื้อเยื่อใต้ใบอ่อนหนอนเจาะไชชอนเข้าไปกัดกินที่ไส้กลางของลำต้นและใต้ผิวเปลือกบริเวณโคนต้น แล้วเข้าดักแด้ ทำให้ต้นถั่วเหลืองแคระแกร็น ข้อสั้นผิดปกติ  ระบาดทุกฤดูปลูก ทุกระยะการเจริญเติบโตตั้งแต่ระยะต้นกล้า  การป้องการกำจัด  พ่นสารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช

  • หนอนเจาะฝักถั่ว

          ลักษณะและการทำลาย  ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็ก  เมื่อกางปีกกว้างประมาณ  2  เซนติเมตร  ปีกสีน้ำตาล  วางไข่เป็นฟองเดียวๆ  ที่กลีบดอก  บนฝักอ่อนบริเวรฐานฝัก  หรือลำต้นไกล้กับฝัก  หลังจากฟักออกจากไข่  หนอนจะเจาะเข้าไปกัดกินอยู่ภายในฝัก  สังเกตเห็นรอยเจาะเพียงเล็กน้อยหรืออาจไม่พบรอยเจาะ  หนอนมีลำตัวสีเขียวและเปลี่ยนเป็นสีเขียวเข้มหรือแดงม่วง ตามระยะการเจริญเติบโต  จะเจาะฝักออกมาเพื่อเข้าดักแด้เศษซากพืช  ระบาดตั้งแต่ปลายเดือนธันวาคม ระบาดรุนแรงในระยะติดฝัก เมื่ออากาศแห้งแล้ง และอุณหภูมิสูง

  • แมลงหวี่ขาว

          ลักษณะและการทำลาย ตัวเต็มวัยมีขนาดประมาณ 1 มิลลิเมตรมีปีก 1 คู่ ปกคลุมด้วยผงสีขาว จะเคลื่อนไหวเมื่อถูกรบกวน  วางไข่เป็นฟองเดียวสีเหลืงอ่อน ลักษณะเรียวยาว มีก้านสั้นยึดติดกับใบ ตัวอ่อนมีลักษณะคล้ายรูปไข่สีเหลืองป่นเขียว ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบถั่ว  ทำให้ต้นแคระแกร็น ฝักผิดปกติ เป็นพาหะนำโรคใบยอดย่น  การป้องกันกำจัด  พ่นสารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช

  • มวนเขียวข้าว

          ลักษณะและการทำลาย   มีรูปร่างคล้ายโล่สีเขียว บางชนิดที่ปลายของส่วนหัวและด้านหน้าของสันหลังปล้องแรกมีแถบสีเหลือง   หรือมีสีเหลืองและมีจุดปะสีเขียวอ่อนตลอดลำตัววางไข่เป็นกลุ่มหลายแถวเรียงกันเป็นระเบียบตามส่วนต่างๆ  ของพืช พบการระบาดรุนแรงในระยะออกดอกถึงเก็บเกี่ยว  เมื่อสภาพอากาศมีความเชื้อสูง การป้องกันกำจัด  พ่นสารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช

          การเก็บเกี่ยว

           - ระยะเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม เก็บเกี่ยวตามช่วงอายุของพันธุ์ที่ปลูก  หรือระยะเมล็ดเต็มฝักประมาณ  80 เปอร์เซ็นต์ของต้น โดยฝักยังมีสีเขียวอยู่

           - วิธีการเก็บเกี่ยว  เพื่อการส่งออก เมื่อถั่วมีอายุประมาณ  65  วัน  ระยะเมล็ดเต็มให้ใช้กรรไกรตัดขั้วฝักเฉพาะฝักที่ได้มาตรฐานในแปลงปลูก หรือใช้เคียวเกี่ยวต้น  นำเข้าโรงเรือน วางบนแคร่ยกพื้นหรือใบผ้าที่สะอาด  แล้วใช้กรรไกรตัดติดขั้วฝักที่ได้มาตราฐาน ภาชนะที่ใช้บรรจุถั่วเหลืองฝักสดต้องสะอาดและต้องไม่ได้มาตรฐาน  อาจนำไปใช้เลี้ยงสัตว์หรือไถกลบบำรุงดิน  ทำให้พืชที่ปลกตามการเจริญเติบโตผลผลิตเพิ่มขึ้น

          เพื่อบริโภคในประเทศ เมื่อถั่ว มีอายุประมาณ  75  วัน ใช้เคียวเกี่ยวต้น นำเข้าโรงเรือนวางบนแคร่ยกพื้นหรือบนผ้าใบที่สะอาด

 

 

 

 

 

 

 

 

Tags : การใส่ปุ๋ยถั่วเหลืองฝักสด

view