www.Stats.in.th
  สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com

การใส่ปุ๋ยสับปะรด

  • สับปะรด

       สับปะรดเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวจำพวกไม้เนื้ออ่อนที่มีอายุหลายปี สามารถทนต่อสภาพแวลล้อมต่างๆได้ดี ปลูกได้ในดินแทบทุกแห่งในประเทศใด มีช่อดอกที่ส่วนยอดของลำต้นซึ่งมีการเจริญเป็นผลแล้วจะผลิตต่อไปโดยตาที่ลำต้นจะเติบโตเป็นต้นใหม่ได้อีก สับปะรดแบ่งออกตามลักษณะความเป็นอยู่ได้ 3 ประเภทใหญ่ๆคือ พวกที่มีระบบรากอาหารอยู่ในดินหรือ เรียกว่าไม้ดิน พวกอาศัยอยู่ตามคาคบไม้หรือลำต้นไม้ใหญ่ ได้แก่ ไม้อากาศต่างๆ ที่ไม่แย่งอาหารจากต้นไม้ที่มันเกาะอาศัยอยู่ พวกนี้ส่วนใหญ่จะเป็นไม้ประดับและพวกที่เจริญเติบโตบนผาหินหรือโขนหิน ส่วนสับปะรดที่เราบริโภคจัดเป็นไม้ดิน แต่ยังมีลักษณะบางประการของไม้อากาศเอาไว้ คือ สามารถเก็บน้ำเอาไว้ตามซอกใบได้เล็กน้อยมีเซลล์พิเศษสำหรับเก้บน้ำเอาไว้บนใบ ทำให้ทนทานในช่วงแห้ง

      สภาพแวลล้อมที่เหมาะสม สับปะรดต้องการอากาศค่อนข้างร้อนอุรหภูมิที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 23.9-29.4 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนที่ต้องการอยู่ในช่วง 1,000-1,500 มิลลิเมตรต่อปี แต่ต้องตกกระจายสม่ำเสมอตลอดปี และมีความชื้นในอากาศสูงสับปะรดขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิดที่ระบายน้ำดี แต่ชอบดินร่วน ดินร่วนปนทราย ดินปนลูกลัง ดินทรายชายทะเล และชอบที่ลาดเท เช่น ที่ลาดเชิงเขา สภาพความเป็นกรด-ด่าง ของดินควรเป็นกรดเล็กน้อย คือ ตั้งแต่ 4.5-5.5 แต่ไม่เกิน 6.0

  

 

 

       แหล่งปลูก

       แหล่งปลูกสับปะรดที่สำคัญของไทยอยู่บริเวณที่ที่อยู่ไกล้ทะเล ได้แก่จังหวัดประจวบคีรีขังธ์ เพชรบุรี ชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา จันทบุรี ตราด และจังหวัดต่างๆ ในภาคใต้ เช่น ภูเก็ต พังงา ชุมพร ซึ่งนิยม ปลูกในสวนยาง

       ปัจจุบันมีการปลูกสับปะรดในจังหวัดต่างๆในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณริมแม่น้ำโขง และอีกหลายจังหวัดในภาคเหนือ การปลูกสับปะรดในพื้นที่ที่อยู่ไกล้ทะเลนี้ จะต้องคำนึงถึงความเชื้อในอากาศเป็นสำคัญ เพราะมีผลต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพของผลสับปะรดดังนั้น ควรเลือกปลูกในบริเวณที่มีความชื้นในอากาศสูง เช่น ที่ลาบระหว่างภูเขา ที่ลาดเฉิงเขาบริเวณไกล้ป่าหรือแหล่งน้ำ

       พันธุ์ที่ปลูกมากในประเทศไทย

      พันธุ์ปลูกในประเทศไทยแบ่งออกได้เป็น 5 พันธุ์ โดยถือตามลักษณะต้นที่ได้ขนาดโตเต็มที่ และแข็งแรงสมบูรณ์เป็นบรรทัดฐานดังนี้คือ

       1.พันธุ์ปัตตาเวีย

       พันธุ์นี้รู้จักแพร่หลายในนามสับปะรดศรีราชา และชื่ออื่นๆ เช่น ปราณบุรี, สามร้อยยอด ปลูกกันมากเพื่อโรงงานอุสาหกรรมแหล่งปลูกที่สำคัญคือ ประจวบคีรีขันธ์ ชลบุรี เพชรบุรี ลำปาง และการปลูกทั่วๆไป เพื่อขายผลสด เพราะมีรสหวานฉ่ำมีน้ำมาก

       ลักษณะทั่วๆไป คือ มีใบสีเขียวเข้มและเป็นร่องตรงกลางผิวใบด้านบนเป็นมันเงาส่วนใต้ใบจะมีสีออกเทาเงิน ตรงบริเวณกลางใบมักมีสีแดงอมน้ำตาล ขอบใบเรียบมีหนามเล็กน้อยบริเวณปลายใบ กลีบดอกมีสีม่วงอมน้ำเงินผลมีขนาดและรูปทรงต่างกันไป มีน้ำหนักผลอยู่ระหว่าง 2.-6 กิโลกรัม แต่ดดยปกติทั่วไปประมาณ 2.5 กิโลกรัม เปลือกผลเมื่อดิบสีเขียวคล้ำ เมื่อแก่จัดจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองงอมสัมทางด้านล่างของผลประมาณครึ่งผล ก้านผลสั้นมีไส้ใหญ่เนื้อเหลืองอ่อนแต่จะเปลี่ยนเป็นสีเข้มในฤดูร้อน รสชาติดี

       2.พันธุ์อินทรชิต

      เป็นพันธุ์พื้นเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย ปลูกันกระจัดกระจายทั่วไปแหล่งปลูกที่สำคัญได้แก่จังหวัดฉะเชิงเทรา

       ลักษณะทั่วๆไป คือขอบใบจะมีหนามแหลมร่างโค้งงอสีน้ำตาลลอมแดง ใบสีเขียวอ่อนไม่เป็นมัน ขอบใบทั้ง 2 ข้างมีแถบสีแดงงอมน้ำตาลตามแนวยาว ใต้ใบจะมีสีเขียวออกขาวและมีวาวออกสีน้ำเงินกลีบดอกสีม่วงเข้ม ผลมีขนาดเล็กว่าพันธุ์ปัยตาเวีย รสชาติหวานอ่อน มีตะเกียงติดอยู่ ที่ก้านผล เปลือกผลเหนียวแน่นทนทานต่อการขนส่ง เหมาะสำหรับบริโภคสด

       3.พันธุ์ขาว

       เป็นพันธุ์พื้นเมือง เกษตรกรนิยมปลูกพันธุ์นี้ร่วมกันพันธุ์อินทรชิต เข้าใจว่าจะกลายพันธุ์มาจากพันธุ์อินทรชิต แหล่งปลูกที่สำคัญคือ ฉะเชิงเทรา

       ลักษณะทั่วๆไป มีใบสีเขียวอมเหลืองหรือเขียวใบไม้ ทรงพุ่มเตี้ยใบแคมและสั้นกว่าพันุ์อินทรชิต ขอบใบมีหนามโค้งงอเข้าสู่ปลายใบ โคนกลีบดอกสีม่วงอ่อน ปลายกลีบสีม่วงอมชมพู เนื้อผลสีเหลืองทอง รสชาติอ่อน ผลมักมีหลายจุก คุณภาพของเนื้อไม่ค่อยดีนัก ผลมีขนาดปานกลาง น้ำหนักเฉลี่ย 0.85 กิโลกรัมมีลักษณะเป็นทรงกระบอก มีตาลึกทำให้ผลฟ่ามง่าย

        4.พันธุ์ภูเก็ตหรือสวี

       ปลูกกันมากในสวนยางจังหวัดภูเก็ต ชุมพร นครศรีธรรมราช และตราด โดยปลูกระหว่างแถวรุ่นที่ยังมีอายุน้อยเพื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตก่อนกรีดยาง มีชื่ออื่นๆอีกเช่น พันุ์ชุมพร พันธุ์สวี พันุ์ตราดสีทอง

       ลักษณะทั่วๆไป ใบสีเขียวอ่อนและมีแถบสีแดงในตอนกลางและปลายขอบใบขอบใบมีหนามสีแดงและยาวกว่าพันธุ์อินทรชิตและพันธุ์ขาว กลีบดอกสีม่วงอ่อน ผลมีขนาดเล็กกว่าทุกพันธุ์ที่กว่ามาตาลึกเปลือกหนา เนื้อหวานกรอบสีเหลืองเข้ม เยื่อใยน้อย มีกลิ่มหอม เหมาะสำหรับบริโภคสด เป็นที่นิยมมากในภาคใต้

       5. พันธุ์นางแลหรือน้ำผึ้ง ปลูกมากในจังหวัดเชียวราย

      ลักษณะทั่วไป คล้ายคลึงกับพันธุ์ปัยตาเวีย แต่มีรูปร่างของผลทรงกลมกว่าพันธุ์ปัยตาเวีย ตานู้น เปลือกบางกว่าและรสชาติจัดกว่าพันธุ์ปัยตาเวีย ผลแก่มีเนื้อสีเหลืองเข้ม มีเยื่อใยน้อยเหมาะสมหรับบริโภคสด เป็นที่นิยมมากในภาคเหนือ ผลมีเปลือกบางมาก ขนส่งทางไกลไม่ดีนัก

       ฤดูปลูกและวิธีปลูก

      ในประเทสไทนสามารถปลูกสับปะรดได้เกือบตลอดปี ยกเว้นช่วงฝนตกหนักติดต่อหลายวัน เพราะจะเกิดโรคเน่า ควรเตรียมดินให้เสร็จในเดือนธันวาคม และปลูกในเดือนมกราคม-เมษายน ซึ่งมีแสดแดดจ้าและไม่มีฝนชุก แต่ดินยังมีความชื้นเพียงพอแก่การเจริญเติบโตในระยะแรกอยู่

       การปลูกในฤดูฝนควรฝักหน่อเอียง 45 องศา เพื่อป้องกันน้ำขังในยอด ถ้าปลูกในฤดูแล้งฝังหน่อให้ตั้งตรง หากมีเครื่องมือช่วยปลูกซึ่งเป็นเหล็กคล้ายมีดปลายแหลมช่วยเปิดหลุมจะทำให้สะดวกและรวดเร็วกว่าใช้จอบ เฉลี่ยแล้วผู้ปลูก 1 คน สามารถปลูกได้วันละ 5,000-7,000 หน่อการปลูกส่วนใหญ่มักปลูกเป็นแถวคู่ฝักหน่อให้ลึก 15-20 เซนติเมตร ใช้ระยะปลูกแตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์

       การเตรียใหน่อพันธุ์ก่อนปลูก

      การคัดขนาดหน่อหรือจุกก่อนปลูก จำเป็นอย่างยิ่งในการปลูกสับปะรดควรจะมีการคัดขนาดแบ่งเป็นกลุ่มอย่างชัดเจน และมีขนาดเท่าๆกัน และปลูกเป็นแปลงๆ หรือชุดๆไปจะทำให้การเจริญเติบโตสม่ำเสมอกันทั้งแปลงใส่ปุ๋ยแต่ละต้นได้พร้อมกันและใส่ปริมาณต่อต้นเท่าๆกัน บังคับผลได้พร้อมกันทั้งแปลง ง่ายต่อการบำรุงรักษา สับปะรดแก่พร้อมกันง่ายต่อการประเมินผลผลิตและเก็บเกี่ยว

       การชุบหน่อหรือจุกด้วยสารเคมีก่อนปลูกเป็นการลดอัตราสูญเสียของต้น อันเนื่องมาจากโรคยอดเน่า ทั้งเป็นการประหยัดแรงงานและเวลาในการปลูกหน่อซ่อมแซบใหม่อีกด้วย การชุบหน่ออาจทำได้โดยเครืองจักรอัตโนมัติ แต่เกษตรกรทั่วๆไปอาจใช้ถัง 200 ลิตร แล้วผ่าครึงถัง หรือสร้างบ่อซีเมนต์ขนาดย่อมๆ ใช้เป็นที่ชุบหน่อก็จะสะดวกยิ่งขึ้น

       สำหรับสารเคมีกันเชื้อรา และอัตราที่ใช้โดยใช้เลือกเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง มีดังนี้

  1. แคปตาโฟล เช่น ไดโฟลาแทน 80% อัตรา 60-120 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ

86 กรัม ต่อน้ำ 8.6 ลิตร ชุบได้ 1,000 หน่อ

  1. ฟอสเอธิล อลูมินั่ม เช่น อาลีเอท อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร

  2. เมตาแลกซิล เช่น ริโดมิล อัตรา 30-45 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร

       ถ้าพบเพลี้ยแป้งมากับหน่อพันธุ์ควรผสมสารฆ่าแมลง มาลาไธออน อัตรา 20 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ลงไปในสารชุบหน่อพันธุ์โดยจุ่มหน่อพันธุ์ให้ชุมก่อนปลูก จุ่มนานประมาณ 3 นาที และถ้าปลูกไปแล้ว หากมีฝนตกชุก ควรใช้สารเคมีดังกล่าวอย่างใดอย่างหนึ่งฉีกซ่ำอีกทั่วทั้งแปลง ในกรณีปลูกซ่อมหรือปลูกปริมาณน้อย การชุบหน่อพันธุ์อาจสิ้นเปลือง ใช้วิธีหยอดยอดก็ได้ โดยใช้อาลีเอท 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ใช้หยอดยอดทีละ 50 ซีซี หรือยอดเต็มยอดให้ทำทันทีหลังปลูกเสร็จสามารถป้องกันโรคได้นานประมาณ 4 เดือน

       การควบคุมและกำจัดวัชพืช

     ใบปัจจุบันนิยมใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชมากกว่าใช้แรงงานคน เพราะประหยัดและรวดเร็วกว่า หากทำการควบคุมวัชพืชได้ดี สามารถเพิ่มผลผลิตได้มากกว่าเดิมถึง 1 ใน 4 เท่าตัว การใช้แรงงานคนกำจัดวัชพืชโดยถากด้วยจอบ ต้องทำไม่ต่ำกว่า 8 ครั้งต่อ 1ฤดูการปลูก การใช้จอบจะรบกวนระบบรากของสับปะรดให้การเจริญเติบโตของต้นและคุณภาพของผลผลิตต่ำกว่าใช้สารเคมี

       สารเคมีกำจัดวัชพืชที่นิยมใช้ในแปลงสับปะรด ได้แก่ ไดยูรอน เช่น คาร์แมกซ์ ซึ่งเป็นสารเคมีคุมวัชพืชใบกว้างได้ผลิตดี ใช้ฉีดพ่นก่อนวัชพืชจะงอก และโบรมาซิล เช่น โบรมิกซ์ ซึ่งเป็นสารเคมีฆ่าวัชพืชใบแคบได้ผลดีใช้ฉีดพ่นในแปลงสับปะรด เมื่อวัชพืชงอกขึ้นมาแล้วหรือจะใช้ทั้ง 2 ชนิดผสมกันโดยใช้โบรมาซิล 363 กรัม และไดยูรอน 363 กรัม ผสมน้ำฉีดในเนื้อที่ 1 ไร่ ฉีดทันทีหลังจากปลูกสับปะรดแล้วสามารถควบคุมวัชพืชทั้งชนิดใบแคปและใบกว้างอื่นๆได้นาน 4 เดือน

       การเก็บเกี่ยว

     ในประเทศไทยการปลูกสับปะรดสามารถทำได้เกือบตลอดปีดังนั้นการเก็บเกี่ยวผลสับปะรดก็สามารถทำได้เกือบตลอดทั้งปีเช่นกัน แต่ที่สับปะรดให้ผลชุกที่สุดมี 2 ช่วง คือ สับปะรดปี ซึ่งจะเก็บผลผลิตได้มากกว่าสับปะรดทะวายประมาณ 3 เท่า ช่วงนี้จะอยู่ระหว่างเดือน เมษายนถึงมิถุนายน และช่วงสับปะรดทะวายซึ่งออกในเดือนตุลาคมถึงธันวาคม

       การสังเกตผลแก่ของสับปะรด พิจารณาได้จากลักษณะภายนอกผลดังนี้

       ผิวเปลือก จะเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นเขียวอมเหลืองอมสัมหรือเขียวเข้มเป็นมัน

       ใบเล็กๆ ของตาย่อย จะเหี่ยวแห้งเป็นสีน้ำตาลหรือชมพู

       ตาย่อย จะนูนเด่นเรียกว่าตาเต็ม ร่องตาจะตึงเต็มที่ขนาดของผลไม่เพิ่มอีก

       ดมกลิ่น ผลสับปะรดแก่จะส่งกลิ่นหอมเฉพาะตัว

       ความแน่นของผลจะลดลงเมื่อใช้นิ้วดีดหรือไม้เคาะเพื่อฟังเสียง ถ้าเสียงโปร่งแสดงว่ายังไม่แก่ ถ้าเสียงทึบ (หรือแปะ) แก่จัดได้ที่แล้ว

       ในแปลงสับปะรดที่ปลูกแซมในสวนยางพารา หรือสวนไม้ผลอื่นๆ ไม่นะนำให้ใช้โบรซิล เพราะถ้าใช้ซ้ำซาก จะเกิดการสะสมในดินโดยสารเคมีจะจับตัวเป็นเม็ดดิน เมื่อน้ำพัดพาไปจะเกิดอันตารายกับพืชอื่นๆ ได้ ให้ใช้อทราซิน เช่น เกสาพริม หรืออะมีทริน  เช่น เกสา แพกซ์ ผสมกับไดยูรอน แทน

       การใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช ควรผสมสารจับใบลงไปประมาณ 0.1-0.3% โดยปริมาตร จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้ดียิ่งขึ้น อาจพ่นซ้ำอีก 1 ครั้ง เมื่อพบว่าวัชพืชงอกขึ้นมา โดยพ่นหมดทั้งแปลง หรือเฉพะจุดก็ได้

       ข้อควรระวัง ภายหลังจากการใช้สารเคมีเร่งดอกสับปะรดแล้วห้ามใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชจนกว่าจะเก็บผลผลิตเสร็จสิ้น

       การเก็บผลเพื่อบริโภคสด

      ใช้มีดตัดที่ก้านผลให้เหลือขั้วติดผลไว้บ้างและคงให้มีจุกติดอยู่กับผลเพื่อป้องกันการเน่าของผล อันเนื่องจาก แผลที่เกิดจาก การปลิดจุกหรือขั้วผลออก หลังจากตากตัดผลแล้วให้ใช้มีดฟันใบต้นเดิมออกเสียบาง เพื่อให้หน่อได้รับแสงแดดอย่างเต็มที่ และเหลือหน่อดินไว้แทนต้นเดิม 1-2 หน่อเท่านั้น ส่วนหน่อที่เหลือก็ขุดหรือปลิดออกจากต้นนำไปปลูกขยายเนื้อที่หรือจำหน่าย ต่อไปได้ พันธุ์ภูเก็ต จะนิยมปลิดจุกตั้งแต่ผลมีอายุประมาณ 2 เดือน ส่วนพันธุ์อินทรซิตและพันธุ์ขาว จะตัดจุกทิ้งประมาณ ½ ส่วน ในเวลาที่เก็บผลจำหน่าย

       การเก็บผลเพื่อส่งโรงงานอุสาหกรรม

       จะปลิดผลออกจากก้านนั้น หรืออาจจะปลิดจุกออกด้วย การเก็บผลสับปะรดให้ได้คุณภาพดี ควรเก็บ 3 ครั้ง

       ครั้งแรก จะเก็บได้ประมาณ 20-25% ของผลทั้งหมดในแปลง

       ครั้งที่สอง เก็บจากครั้งแรกประมาณ 5 วัน จะเก็บได้ประมาณ 40-60% ของผลทั้งหมด

       ครั้งสุดท้าย เก็บจากครั้งที่สองประมาณ 5-7 วัน โดยเก็บผลที่เหลือทั้งหมด

       การเก็บหน่อสับปะรด

      หลังจากเก็บผลรุนแรกหมด ให้ปฏิบัติดังนี้

  1. เก็บหน่ออุ้มลูก ซึ่งจะเกิดพร้อมๆกับผลสับปะรด ออกไปจากแปลงปลูก

  2. ฟันใบทิ้งไปเสียบ้าง โดยฟันให้เหลือใบสูงจากพื้นดินเพียง 1 คืบ ถ้าเป็นช่วง

ฝนแห้งให้ฟันใบให้สูงขึ้นมาอีกเล็กน้อย การฟันใบนี้ช่วยให้แตกหน่อเร็วขึ้น หลังจากเก็บหน่ออุ้มลูกและฟันใบออกแล้วสามารถเก็บหน่อได้อีก 2-3 ครั้งเพื่อไปขยายพันธุ์ได้

      

 

 

      

 

 

 

 

Tags : การใส่ปุ๋ยสับปะรด

view