www.Stats.in.th
  สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com

การใส่ปุ๋ยทานตะวัน

        ทานตะวัน

       แหล่งปลูที่สำคัญ ได้แก่ จังหวัดลพบุรี เพรชบูรณ์ สระบุรี นครสวรรค์ และอุทัยธานี พื้นที่ที่เหมาะสมในการปลูกทานตะวัน ควรเป็นพื้นที่ดอนหรือที่ลุมไม่มีน้ำท่วมขัง ความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 1,000 เมตร มีความราดเอียงไม่เกิน 5 เปอร์เซ็นต์ โดนเจริญเติบโตได้ทั้งสภาพไร่นา

       ลักษณะดิน ทานตะวันเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วน ดินร่วนเหนียว ดินร่วนเหนียวปนทราย หรือดินเหนียว ความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง มีอินทรียวัตถุไม่ต่ำกว่า 1.0 เปอร์เซ็นต์ การะบายน้ำและถ่ายเทอากาศดี ความเป็นกรดด่างระหว่าง 5.7-8 และต้องการดินที่มีการไถพรวนค่อนข้างลึก ชั้นดินตอนล่างไม่แข็ง

       สภาพภูมิอากาศ อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อความเจริญเติบโต 18-30 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนกระจายสม่ำเสมอ 1,100 มิลลิเมตรต่อปีและมีแสงแดดจัด แหล่งน้ำ ส่วนใหญ่อาศัยน้ำฝน ควรวางแผนให้ได้รับความชื้นในช่วงดอกบานและสร้างเมล็ด หรือเมื่ออายุ 55-75 วัน หลังงอก

      พันธุ์

     การเลือกพันธุ์ ผลผลิตมีคุณภาพและตรงตามที่ตลาดต้องการ พันธุ์ที่นิยมปลูก

      1.แปซฟิค 33 หรือไฮซัน 33 เป็นพันธุ์ลูกผสมที่นำเข้าจากต่างประเทศ ใช้ปลูกในประเทศไทยอย่างแพร่หลาย มีความสามารถในการผสมตัวเอง มีเมล็ดที่ผสมติดสูงกว่า 85 เปอร์เซ็นต์ อายุเก็บเกี่ยว 95 วัน ผลผลิตเฉลี่ย 200 กิโลกรัมต่อไร่ เมล็ดที่เก็บเกี่ยวใช้เป็นพันธุ์ปลูกในฤดูต่อไปไม่ได้

       2. จัมโบ้ เป็นพันธุ์ลูกผสมที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ มีความสามารถในการผสมตัวเองมีเมล็ดที่ผสมติดสูงกว่า 80 เปอร์เซ็น ผลผลิตเฉลี่ย เฉลี่ย 200 กิโลกรัมต่อไร่ เมล็ดที่เก็บเกี่ยวใช้เป็นพันธุ์ปลูกในฤดูต่อไปไม่ได้

       3.พันธุ์เชียงใหม่ 1 เป็นพันธุ์ผสมเปิดพัฒนาพันธุ์โดยกรมวิชาการเกษตร อายุเก็บเกี่ยว 100 วัน ผลผลิตเฉลี่ย 170 กิโลกรัมต่อไร่สามารถเก็บเมล็ดไว้เป็นพันธุ์ปลูกได้

1 ฤดู เมล็ดผสมติด 76 เปอร์เซ็นต์ ขนาดเมล็ดไกล้เคียงกับพันธุ์ไฮซัน 33 น้ำหนัก 100 เมล็ด 4.9 กรัม

      ฤดูปลูก

       ทานตะวันเป็นพืชที่สามารถเจริญเติบโตได้ในทุกฤดูกาล เพราะเป็นพืชที่ไม่ไวต่อช่วงแสง อย่างไรก็ตามการปลูกในบางในท้องที่อาจไม่มีความเหมาะสม เช่น ในที่ลุมภาคกลาง ในฤดูฝนจะมีน้ำขังแฉะเกินไป หรือที่ดินในฤดูแล้งที่ไม่มีน้ำชลประทาน ดังนั้นฤดูที่เหมาะสมที่สุดมี 2 ฤดู คือ

       1.ปลายฤดูฝน ในสภาพพื้นที่ที่เป็นดินร่วนเหนียว ควรปลูกทานตะวันในปลายฤดูฝนคือ ตั้งแต่เดือนกันยายน-พฤศจิกายน แต่ถ้าสภาพพื้นที่ที่ปลูกเป็นดินร่วนทราย ควรปลูกในเดือนสิงหาคม-ตุลาคม ซึ่งเป็นช่วงกลางฤดูฝน

       2.ฤดูแล้ง ถ้าในแหล่งปลูกนั้นสามารถใช้น้ำจากชลประทานได้ก็สามารถปลูกเป็นพืชเสริมได้โดยปลูกในช่วงเดือนพฤศจิกายน-กุมพาพันธ์ ซึ่งเป็นช่วงหลังจากเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว

       เนื่องจากลูกพันธุ์ผสมนี้ ดอกค่อยข้างใหญ่เวลาเมล็ดแก่จานดอกจะห้อยลงมาและด้านหลังของจานดอกจะมีลักษณะเป็นแอ่งเหมือนกระทะก้อนแบน เมื่อฝนตกลงมาน้ำฝนจะขังในแอ่งดังกล่าว จะทำให้เกิดโรคเน่าได้มาก และทำให้เมล็ดเน่าเสีย ดังนั้นควรปลูกในปลายฤดูฝน หรือในฤดูแล้ง และถ้ามีฝนตกน้ำขังในแอ่งของจานดอก ให้เขย่าต้น เพื่อให้น้ำไหลออกให้หมด

      การเตรียมดิน

      การเตรียมดินก่อนปลูก ควรไถดินให้ลึกในระดับ 30 เซนติเมตร หรือลึกกว่านั้น เพราะว่า เมื่อฝนตกดินจะสามารถรับน้ำให้ซึมซับอยู่ในดินได้มากขึ้น การไถดินลึกจะช่วยทำลายการอัดแน่นของดินในชั้นไถพรวน ทำให้ดินซึมลงในดินชั้นล่างได้มากขึ้น ควรกำจัดวัชพืชในแปลงให้สะอาด และไถย่อยดินครั้งสุดท้ายให้ร่วนซุย หากมีการใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักลงไปพร้อมกับการย่อยดินครั้งสุดท้ายจะช่วยเสริมธาตุอาหารต่างๆเพื่อให้พืชนำไปใช้ประโยชน์

       การปลูก

       หลังจากเตรียมดินเสร็จแล้ว ควรทำร่องสำหรับหยอดเมล็ด โดยให้แต่ระร่องห่างกัน 70-75 เซนติเมตร และให้หลุมปลูกในร่องห่างกัน 25-30 เซนติเมตร หยอดหลุมละ 2 เมล็ด แล้วกลบดินโดยให้เมล็ดอยู่ลึก 5-8 เซนติเมตร เมื่อพืชงอกได้ 10 วัน หรือมีใบจริง 2-4 คู่ ให้ถอนแยกเหลือไว้เฉพาะต้นที่แข็งแรงเพียงหลุมละ 1 ต้น และถ้าหากดินมีความชื้นต่ำควรใช้ระยะปลูกกว้างขึ้น การยกร่องนี้ เพื่อเป็นการสะดวก ในการให้น้ำ โดยเฉพราะอย่างยิ่งการปลูกในฤดูแล้งที่ต้องการน้ำมาก ส่วนในการปลูกในฤดูฝน ถ้าเป็นดินที่มีการระบายน้ำดีก็ไม่จำเป็นต้องยกร่องและใช้ระยะปลูกเช่นเดียวกับยกร่อง การปลูกวิธีนี้ ต้องใช้เมล็ดพันธุ์ลูกผสมจำนวน 0.7 กิโลกรัมต่อไร่ และปลูกตามระยะที่แนะนำนี้จะได้จำนวนต้น 6,400-8,500 ต้นต่อไร่

       ใส่ปุ๋ย 5 นางฟ้าทรงฉัตร

       ทานตะวันเป็นพืชที่ใช้โปรตีน และแร่ธาตุสูง จึงควรใส่ปุ๋ยในปริมาณที่พืชต้องการตามสภาพดินที่ปลูกด้วยสำหรับปุ๋ยเคมีที่เหมาะสมที่แนะนำ คือ สูตร 15-15-15 หรือ 16-16-8 อัตรา 30-50 กิโลกรัมต่อไร่ โดยใส่ร่องพื้นพร้อมปลูก และใช้ปุ๋ยยูเรีย 30-0-0 อัตรา 20-30 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อทานตะวันอายุได้ 30 วัน หรือมีใบจริง 6-7 คู่ ซึ่งเป็นระยะกำลังจะออกดอก หากมีการตรวจวิเคราะห์ดินก่อนปลูกจะช่วยให้การใช้ปุ๋ยมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและในกรณีที่เป็นดินทรายและขาดธาตุโบรอน ควรใส่ผงโบแรกซ์ประมาณ 2 กิโลกรัมต่อไร่ จะทำให้เพิ่มผลผลิตได้มากและทำให้คุณภาพของเมล็ดทานตะวันดีขึ้น

      วิธีการให้น้ำ

      น้ำ เป็ยปัจจัยหนึ่งที่มีผลกระทบต่อการผลิตทานตะวัน หากมีความชื้นในดินน้อยก็จะทำให้ผลผลิตลดลงด้วย การให้น้ำที่เหมาะสมแก่ทานตะวันจึงจะทำให้ได้รับผลผลิตดีด้วย ดังนั้นการให้ควรปฏิบัติดังนี้

       ครั้งที่ 1 หลังจากปลูกเสร็จแล้วรีบให้น้ำทันที หรือควรทำ การปลูกทันที หลังฝนตกเพื่อใช้ความชื้นในดินให้เต็มที่โดยไม่ต้องลดน้ำ

       ครั้งที่ 2 ระยะมีใบจริง 2 คู่ หรือประมาณ 10-15 วัน หลังงอก

       ครั้งที่ 3 ระยะเริ่มมีตาดอก หรือประมาณ 30-35 วัน หลังงอก

       ครั้งที่ 4 ระยะดอกเริ่มบาน หรือประมาณ 50-55 วัน หลังงอก

      ครั้งที่ 5 ระยะกำลังติดเมล็ด หรือประมาณ 60-70 วันหลังงอก

       ควรให้น้ำอย่างเพียงพอให้ดินชุ่ม แต่ไม่ต้องถึงกับแฉะและน้ำขัง การให้น้ำควรคำนึงถึงความชุ่มชื้นในดินด้วย ไม่ควรปล่อยให้ดินแห้งมาก โดยเฉพาะอย่างช่วงแรกของการเจริญเติบโตจนถึงระยะติดเมล็ด

       การกำจัดวัชพืช 

        ควรกำจัดวัชพืชอย่างน้อย 2 ครั้ง ครั้งแรก เมื่อทานตะวันมีใบจริง 2-4 คู่ ซึ่งการทำรุ่นครั้งแรกนี้ ทำ พร้อมกับการถอนแยกต้นพืชให้เหลือ 1 ต้นต่อหลุม เป็นการสะดวกสำหรับเกษตรกรในการปฏิบัติ และครั้งที่ 2 ทำพร้อมกับการใส่ปุ๋ยครั้งที่สอง เมื่อททานตะวันมีใบจริง 6-7 คู่ ทำ รุ่นพร้อมกับใส่ปุ๋ยและคูนโคนต้นไปด้วย ในแปลงที่มีปัญหาวัชพืชขึ้นรบกวน ควรทำการกำจัดวัชพืชเพื่อป้องกันการแย่งอาหารและความชื้นในดิน ตั้งแต่ต้นยังเล็กหรือใช้สารเคมีคุมกำเนิดพวกอะลาคลอร์หรือโธลาคลอร์ฉีดพ่นหลังหยอดเมล็ดก่อนที่จะงอกในอัตรา 300-400 ซีซี ผสมน้ำ 4 ปี๊บ สำหรับฉีดพ่นในเนื้อที่ปลูก 1 ไร่ โดยฉีดให้สม่ำเสมอกันสามารถคุมกำเนิดวัชพืชได้นานถึง 2 เดือนและควรใช้แรงงานคน สัตว์ หรือเครื่องทุ่นแรงทำรุ่นได้ตามความจำเป็น

      ข้อควรระวัง

      ห้ามใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชอะทราซีนในทานตะวันโดยเด็ดขาด

     

       การเก็บเกี่ยว

      ทานตะวัน จะมีอายุการเก็บเกี่ยวแตกต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธุ์ที่ปลูก (พันธุ์ลูกผสมอายุเก็บเกี่ยว 90-100 วัน) วิธีการเก็บเกี่ยวนั้นให้สังเกตุจากด้านหลังของจานดอกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองซึ่งเป็นช่วงการสร้างน้ำมันในเมล็ดจะเริ่มลดลง และจะหยุดสร้างน้ำมันเมื่อจานดอกเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลก็เริ่มเก็บเกี่ยวได้ หลังจากนั้นให้นำไปผึ่งแดดจัดๆ 1-2 แดด โดยแขวนให้หัวห้อยลงและหมั่นกลับช่อดอก เพื่อให้ดอกแห้งอย่างสม่ำเสมอ ถ้าเก็บเกี่ยวในช่วงที่ยังมีฝนชุกให้นำมาผึ่งในร่มหลายๆ วันจนแห้งสนิท แล้วจึงรวบรวมไปนวด อาจใช้แรงคนหรือสัตว์ หรือใช้เครื่องนวดเมล็ดถั่วเหลืองหรือถั่วลิสงก็ได้ เสร็จแล้วนำไปทำความสะอาดแล้วเก็บไว้ในยุ้งฉางที่ป้องกันแดด- ฝน และแมลงศัตรูได้ เพื่อรอจำหน่าย (ความชื้นของเมล็ดที่จะเก็บรักษาไว้ ควรไม่เกิน 10%)

       การให้ผลผลิต

       การปลูกทานตะวันในพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีการบำรุงรักษาดีจะทำให้ผลผลิตไม่ต่ำกว่า 300 กิโลกรัมต่อไร่ แต่โดยเฉลี่ยประมาณไม่ต่ำกว่า 200 กิโลกรัมต่อไร่

       โรคแมลงและศัตรูทารตะวัน

       - โรคใบและลำต้นไหม้อัลเทอร์นาเรีย

       - โรคโคนเน่าหรือลำต้นเน่า แมลงศัตรูทานตะวัน

       - หนอนกระทู้ผัก

       - หนอนเจาะสมอฝ้าย

       - หนอนม้วนใบสัม

       - หนอนเจาะลำต้น

      ศัตรูทานตะวัน

      นก หนู และอื่นๆ นับว่าเป็นศัตรูสำคัญอีกประการหนึ่ง ที่จะทำความเสียหายให้แก่ทานตะวันโดยเฉพาะแหล่งปลูกใหญ่ๆ ฉะนั้นเกษตรกรจะต้องหมั่นออกสำรวจตรวจแปลงเสมอ เมื่อพบว่ามีการระบาด ก็ให้รีบทำการป้องกันกำจัด โดยวิธีกลคือ การวางกับดัก การล้อมตี เป็นต้น

 

 

Tags : การใส่ปุ๋ยทานตะวัน

view